ดูบน
ส่วนบนคือส่วนที่ห่อหุ้มเท้าของนักวิ่ง หรือคลุมหลังเท้า สำหรับรองเท้าวิ่งเทรลจะถูกออกแบบมาให้ “หนา” และ “ทนทาน” กว่ารองเท้าวิ่งแบบ city run หรือรองเท้าวิ่งทางเรียบ ทั้งนี้เพื่อไว้ป้องกันการทิ่มแทงจากเศษไม้ หญ้าแหลม หรือก้อนหินระหว่างวิ่ง
สำหรับนักวิ่งมือใหม่ที่จะถอยรองเท้าวิ่งเทรลคู่สัก เราแนะนำให้ทดลองสวมใส่ดูก่อน ดีกว่าการสั่งออน์ไลน์….
1.1 สังเกตว่าเวลาผูกเชือกรองเท้าแล้วให้ความกระชับ พอดีกับฝ่าเท้าเราหรือไม่ บางคนหน้าเท้าเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ฉะนั้นเลือกแบบที่ใส่แล้วสบายเท้าที่สุด อย่างลืมเผื่อพื้นที่บริเวณหน้าเท้าไว้ด้วย เวลาวิ่งนานๆ เท้าเราจะขยายขนาดขึ้น
1.2 ผนังภายในมีความอ่อนนุ่ม สบายเท้าหรือไม่ บางรุ่นจะบุข้างในไว้อย่างดี แต่ก็ต้องแลกกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ถ้าใส่แล้วข้างในรู้สึกแข็งๆ สากๆ ก็สามารถใช้ถุงเท้าแบบหนาแก้ไขได้
1.3 วัสดุด้านนอกมีการเสริมความแข็งแกร่งหรือใช้วัสดุที่หนาเพื่อป้องกันการทิ่มแทงหรือไม่ เพราะหลายครั้งที่นักวิ่งมักจะได้แผลจะการวิ่งแล้วสะดุดก้อนแหลม หรือพวกกิ่งไม้แห้ง บริเวณปลายเท้าหรือ “Cap” รองเท้าเทรลมักจะมีการทำให้แข็งขึ้น คล้ายๆ กับรองเท้า safety นั้นล่ะครับท่านนักวิ่ง
นักวิ่งวิ่งเทรลบางคนอาจจะใช้เจ้า เกเตอร์ (Gaiters) หรือถุงเท้ากันกรวด ร่วมกับรองเท้าวิ่งเทรลด้วย เวลาวิ่งไม่ต้องกังวลว่าจะมีหินดินทรายเข้าไปในรองเท้า
ดูกลาง
ดูกลางคือการดู พื้นรองเท้าด้านในและบริเวณ Midsole เป็นส่วนที่เอาไว้รองรับแรงกระแทกจากการวิ่ง ถ้าวิ่งแล้วรู้สึกให้ความนิ่มสบาย สังเกตได้เลยว่าบริเวณ midsole จะหนาและพื้นรองเท้าด้านในจะนุ่มนิ่มเช่นกัน สำหรับมือใหม่แนะนำให้เลือก midsole ขนาดกลางๆ หรือที่เรียกว่ามี drop กลางถึงสูง เพราะพื้นด้านนอกรองเท้าวิ่งเทรลจะแข็งมาก เวลาวิ่งผ่านหินกรวด พื้นที่ขรุขระนานๆ ถ้าเป็นพื้น drop น้อย จะเริ่มมีอาการปวดฝ่าเท้าได้
แต่สำหรับใครที่ชอบรองเท้าวิ่งแบบ responsive รู้สึกว่ารองเท้าโหลดต่ำ (drop ต่ำๆ ) ให้ความรู้สึกสัมผัสกับพื้นที่ดีกว่า กลัวว่ารองเท้าที่ drop สูงจะอาจจะทำให้เกิดเท้าพลิกได้ ก็เลือกใช้แบบนี้ก็ได้ เพราะจากประสบการณ์ผู้เขียน รองเท้า drop ต่ำจะให้ความรู้สึกสัมผัสผิวพื้นวิ่งได้ดี รู้สึกยึดพื้นและทำเวลาได้ดีกว่ารองเท้าที่หนากกว่า แต่ก็ต้องแลกกับความสบายของฝ่าเท้า เพราะเวลาวิ่งนานๆ จะปวดเท้ามาก รู้สึกได้ถึงดอกยางเลยทีเดียว
ดูล่าง
ดูล่างคือการดูดอกยางของรองเท้าวิ่งเทรล ลักษณะดอกยางของรองเทาวิ่งทรลเป้นตัวบ่งชี้ความแตกต่างจากรองเท้าวิ่งธรรมดาได้อย่างดี ดอกยางรองเท้าวิ่งเทรลจะมีขนาดหนากว่า ออกแบบมาให้ยึดเกาะพื้นผิวขรุขระ พื้นดินโคลน หรือการใช้ไต่เนินเขา
ถ้านักวิ่งจะเอารองเท้าวิ่งธรรมดาไปลงแทข่งขันวิ่งเทรลได้มั้ยครับ…ตอบเลยว่า “ก็เหมือนเอารถเก๋งไปลุยป่าครับ” ระยะทางน้อยๆ 5-10 กิโลเมตรไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าต้องมีการวิ่งไต่เนินเขา ขึ้นๆ ลงๆ มากหน่อยพื้นยางด้านนอกจะเสียหายได้ การทิ่มแทงหรือเกี่ยวของกิ่งไม้จะทำให้รองเท้าเสียหายได้ ยิ่งรองเท้าคู่แพงๆ จะยิ่งเสียดายเอานะครับ
ยิ่งดอกยางหนาและลึกจะยิ่งยึดเกาะได้ดี แต่เวลาวิ่งจะหน่วงๆ หน่อย เพราะมันยึดเกาะกินพื้นผิวมาก อาจจทำให้เราวิ่งช้าลง ดังนี้ให้ใช้วิธีซอยเท้าเข้าช่วยนะ
ส่วนรองท้าวิ่งเทรลที่ดอกยางไม่ใหญ่มาก เวลาวิ่งจะทำเวลาได้ดีกว่า แต่อาจจะมีความสามารถยึดเกาะได้น้อยกว่า เวลาเจอโคลนตมอาจจะโชว์สเตปสไลด์ลงเนินได้
นักวิ่งก่อนจะลงวิ่งก็ควรมีหน้าที่ศึกษาสนามแข่งขันดูให้ดีๆ อาจลองสอบถามเพื่อนนักวิ่งที่ผ่านสนามมาแล้วถึงพื้นผิวสนามดูก็ได้ มีไต่เขาขึ้นลงเยอะมากน้อยแค่ไหน จะได้เลือกรองเท้าให้เหมาะสม พอดีสะสมประสบกาณ์มากเข้าก็จะเริ่มดูออกว่าเราเหมาะกับรองเท้าวิ่งเทรลลักษณะอย่างไร (มีหลายคู่ดีกว่าคู่เดียวนะ..อิอิ)