ออกทริป 100 โล เตรียมตัวอย่างไร
วันนี้ StepEtra มีคำแนะนำในการออกทริปปั่น 100 โลกับเพื่อนๆ ว่าเราสมควรเตรียมตัวกันอย่างไรบ้าง
1. อาหารเช้าห้ามขาด
อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญ นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานแล้วยังช่วยกระตุ้นให้ระบบเมตาบอลิซึ่มเริ่มทำงาน การอดมื้อเช้าก็เหมือนกับการสั่งให้ร่างกายเราเข้าสู่ระบบ Safe mode ให้มีการกักเก็บไขมันเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น การรับประทานอาหารเช้าจะช่วยให้นักปั่นมีแรงในการออกกำลังกาย ไปได้ เร็วและไกลยิ่งขึ้น ช่วยลดอาการหิวโซหลังจากจบการปั่น
2. ปกป้องคุณจากแสงแดด
โดยส่วนมากเราจะนิยมทาครีมกันแดดระหว่างออกทริป แต่เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งเจ้าครีมก็จะเริ่มหมดสภาพ ทางที่ดีที่สุดคือการใส่ปลอกแขนและปลอกขา หรือบางคนเลือกชุดกางเกงขายาวและใส่ปลอกแขนก็ถือว่าเป็นเทคนิคที่ดี หรือจะเป็นเสื้อแขนยาวกับกางเกงขายาวไปเลยก็ได้ แต่แนะนำให้ใส่ปลอกแขนดีกว่าเพราะลู่ลมดีกว่าเสื้อแขนยาว
ในส่วนของใบหน้านิยมใส่ไอ้โม่ง แต่บางคนไม่ชอบเพราะหายใจลำบากจึงแนะนำเนผ้าบัฟแทน แต่ถ้าไม่ชอบให้มีอะไรมาติดที่หน้าก็ทาครีมกันแดดไปเลยก็ได้ อย่างเจ้าตัว Banana Boat SPF 50, Neutrogena และ Spectraban ก็เป็นที่นิยม (แพงด้วย) ต่อมาก็การใส่แว่นกันแดด แนะนำว่าให้ใส่ทุกคนครับ เพราะนอกจากป้องกันรังสี UV แทงตาแล้วยังช่วยกันลม กันเศษหินดินทรายเข้าตา
3. น้ำและน้ำ
เวลาปั่นเหงื่อจะระเหยไปกับสายลม ดังนั้นเราจึงไม่รู้สึกว่ามีการเสียเหงื่อมากเท่าไหร ต่างจากการวิ่ง เพียงแค่ 5 กิโลเหงื่อก็แตกชุ่มเต็มตัวเลยแล้ว ดังนั้นจึงควรมีการเติมน้ำทุกๆ 15 นาที เอาแบบจิบเรื่อยๆ หรือถ้ารู้สึกกระหายก็ควรดื่มได้เลย การปั่นระยะทาง 100 กิโลเมตร สมควรมีน้ำติดรถอย่างน้อย 2 กระป๋อง หรือควรมีรถส่งน้ำให้ด้วย (ให้แฟนขับรถส่งละกัน) หรือสร้างตำแหน่งจุดรับน้ำไว้
ในกรณีที่ติดน้ำไว้ที่รถ 2 ขวดแนะนำ กระติกแรกเป็นน้ำและอีกกระติกเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ สลับกันดื่ม เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป (ผู้เขียนเองมีเทคนิคที่แบ่งการดื่มไว้ทุกๆ 20-25 กิโลเมตร ดื่มสลับกันไป
4. Powerbar และ Powergel
ระหว่างการปั่นถ้ามีโอกาสกินขนมขบเคี้ยวไปก็ดีนะครับ ให้ร่างกายรับพวกคาร์โบและโปรตีนไปเสริมพลังให้กล้ามเนื้อ และช่วยป้องกันอาการหิวโซได้อีกวิ่งวิธีหนึ่ง แนะนำว่าควรกินก่อนออกปั่น 15 นาทีและค่อยกินในช่วงเวลาปั่นอีกทุกๆ 20-45 นาที ช่วงเวลาที่รับประทานก็คล้ายๆ กับพวก powergel และ Powerbar ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
ถ้าเราไม่มี Powergel หรือ powerbar ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำคือการไปซื้อเจ้า Snicker มากินแทนก็ได้
5. อุปกรณ์ซ่อม
อย่างน้อยก็สมควรพกพาอุปกรณ์ซ่อมล้อหรืออุปกรณ์ปะยางติดตัวไว้บาง ยิ่งถ้าเป้นล้อยางงัดแนะนำว่าเตรียมยางในไว้เลยเวลารั่วก็ถอดเปลี่ยนทิ้งได้เลย แต่สำหรับยางฮาร์ฟ คงต้องมีชุดปะเฉพาะหรือไม่ก็ต้องมีทีม service ที่เปลี่นล้อให้เลย และควรฝึกซ่อมวิธีซ่อมปะยางไว้ด้วยนะครับ
6. เก็บแรงไว้ระยะสุดท้าย
อย่าเพิ่งใช้พลังจนหมดก็อก อย่างน้อยก็เก็บไว้ให้ช่วง 5 กิโลสุดท้ายบาง จะได้สปินซ์เข้าเส้นชัยอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการทำ Fat Burn ด้วย การทำสปินซ์หลังจากปั่นมายาวนานหรือการปั่นเบาๆ ก่อนจบการปั่น จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายยืดช่วงเวลาเผาผลาญไขมันไปได้อีก หรือยังมี after burn ไปอีกสักระยะ
การปั่นเบาๆ ก็สำคัญเหมือนกับการวิ่งที่จะไม่หยุดในทันที แต่ค่อยๆ ผ่อนความเร็วลงให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพ
7. เสื้อผ้าสำรอง
หลังจากจบการปั่นแนะนำให้ทำการเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อลดกลิ่นอันไม่พึ่งประสงค์และลดการติดเชื้อราได้ ยิ่งใครมีรถส่วนตัว การนั่งบนเปาะเปียกๆ ไม่ดีแน่ๆ ในกระเป๋าที่ติดมาอย่างน้อยครมีเสื้อผ้าลำลองเอาไว้เปลี่ยน มีผ้าขนหนู สบู่และยาสระผมติดไว้ แต่กรณีที่ไม่มี ผู้เขียนแนะนำให้ซื้อกระดาษทิชชู่เปียกติดไว้ ใช้เช็ดตัวในห้องน้ำและเปลี่ยนใส่เสื้อตัวใหม่ได้เลย