อาการปวดเท้าและเท้าชา มาจากไหน
เท้าถือเป็นส่วนสำคัญในการปั่นจักรยาน หนึ่งในกลไกการส่งพลังงานจากมัดกล้ามเนื้อสู่เฟื่องและล้อ แต่ถ้าเท้าคู่ใจเราบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา ข้อยึด (Hammer toes) เท้าชา ล้วนแล้วแต่บั่นทอนอรรถรสในการปั่นจักรยานของคุณๆ ท่านๆ ทั้งหลาย
อาการเจ็บปวดเท้าชา มักจะมาจาก…
1. ไซด์รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าเรา หรือการออกแบบรองเท้าที่ติดตั้งเจ้า cleat นั้นอยู่ผิดที่ผิดต่ำแหน่ง ทำให้แรงกดไม่เหมาะกับสรีระเท้า
การเลือกรองเท้าและทดลองใส่ เพื่อให้เราได้เช็คว่าแรงกดเวลาปั่นอยู่ส่วนไหน อยู่ตรง forefoot บริเวณ ball of the foot หรือไม่ เพราะเป็นจุดที่เราถ่ายแรงกดลงไปดีที่สุด
การ fitting รองเท้าก็เป็นส่วนสำคัญในการปั่นจักรยานระยะไกล เมื่อเท้าเราสบาย (comfortable) มากขึ้นก็ไปได้ไกลมากขึ้น
ประการหนึ่งที่ทำให้เราเท้าชาได้คือ การที่รองเท้ารัดมากเกินไป อย่าลืมว่าเวลาออกกำลังกายเท้าเราจะขยายใหญ่ขึ้น การที่ใส่รองเท้าเล็กไปหรือรัดมันมากเกินไ จะทำให้เท้าชาได้
วิธีแก้คือเปลี่ยนรองเท้าใหม่ หรือควรหลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่หนาๆ เลือกแบบบางจะดีกว่า เพื่อให้มีพื้นที่เวลาเท้าเราขยายใหญ่ขึ้น
2. ท่าปั่น (Posture) ไม่ถูกต้อง การหลีกเลี่ยงทำ bike fitting หรือไม่ได้ทำ fitting ให้ถูกตั้งแต่ต้นนอกจากจะทำให้เกิดอาการเจ็บเข่าที่พบได้ทั่วไปแล้ว ยังก่อให้เกิดอาการวดหลัง ปวดเอวและส่งผลมาสู่อาการเท้าชา จากการที่กล้ามเนื้อและส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเท้าชา หรืออาการปวดอักเสบที่จะตามมามากกว่านี้ แนะนำให้ทำ bike fitting ตั้งแต่ซื้อจักรยานเลย
3. อาการสุดท้ายนี้มาจากการฝึกซ่อมเป็นระยะเวลานาน จะค่อยๆ หายไปเมื่อเราแข็งแกร่งขึ้น แต่อาการเท้าชาอย่างนี้มักจะหายไปหลังจากการพัก
ในการฝึกปั่นจึงแนะนำให้ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม ไม่งั้นกล้ามเนื้อจะบาดเจ็บและอักเสบในที่สุด
ข้อแนะนำอื่นๆ
- โรคติดเชื้อราหรือฮ่องกงฟุต อย่างที่รู้ดีเวลาออกกำลังกายมันมีเหงื่อออกแถมอากาศบ้านเราร้อนชื้นเหมาะแก่การเกิดเชื้อราอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราหรือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ควร ซักรองเท้าและรองเท้า ผึ่งให้แห้งทุกครั้งหลังจากฝึกปั่นเสร็จ
- ห้ามใช้รองเท้าคู่ใหม่ออกงานแข่งเด็ดขาด อย่างน้อยก็ควรใส่ปั่นครั้งสองครั้งให้มันขยายตัวเข้าที่เข้าทางก่อนออกงานแข่งใหญ่
- ทดลองแบบ Cleat และตัว pedals แบบต่างๆ ดูก่อนซื้อ ให้เลือกตัวที่ใส่แล้วให้ความรู้สึกที่สบายเท้า ตอบสนองต่อแรงกดเราได้ดีที่สุด ซึ่งต้องใช้ feeling และประสบการณ์ล้วนๆ ในการเลือก