Cycling class today : ทำความรู้จักกับประเภทของ Bike computer หรือ ไมล์จักรยาน กันสักนิด
เพื่อนๆ เคยสังเกตวัตถุสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่ติดอยู่บนเเฮนด์จักรยานกันบ้างมั้ยครับ…มันคือตัวอะไร ทำไมนักปั่นมักจะก้มหน้าดูเป็นระยะๆ พอไต่ถามก็มักจะเรียกติดปากว่า “ไมล์จักรยาน” หรือไม่ก็ทับยี่ห้ออุปกรณ์ที่ใช้ว่า “การ์มิน”
ไมล์จักรยาน หรือ การ์มิน ที่จริงเรียกว่า “Bike computer” เเต่ในเมืองไทยมีอยู่ 2 ยี่ห้อที่ทำการตลาดอย่างจริงจัง…น่าจะเรียกว่ามีให้ซื้อได้ และ หาง่าย วางจำหน่ายอยู่เกือบทุกร้าน คือ Garmin และ Cateye
Bike computer ทำหน้าที่หลักๆ คือ….
- เก็บบันทึกข้อมูลการปั่นจักรยาน อย่างเช่น ระยะทาง ความเร็ว ให้เป็นข้อมูลที่จำต้องได้ มีการจัดเรียงข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น
- เป็นตัวช่วยในการกระตุ้น Motivation ให้พยายามฝึกฝนต่อไป เพราะปัจจุบันเราสามารถเเชร์ข้อมูลการปั่นลง Social Network ประกาศให้โลกรับรู้ได้เเล้ว คุณเห็นผลประกอบกิจกรรมของตน (หรือจะติดรูปถ่ายก็ได้) เปรียบเทียบการปั่นกับเพื่อนๆ ตั้งกลุ่มฝึกปั่น เพื่อนคุณเห็น เเละคนอื่นๆ ก็เห็น กระตุ้นต่อมอยากฝึกซ้อมเป็นลูกโซ่
- เป็นตัววัดเปรียบเทียบคุณภาพการปั่นของคุณ หากคุณซีเรียสกับเรื่องปั่น ต้องการพัฒนาตัวเอง การมีข้อมูลย้อนหลัง ข้อมูลเปรียบเทียบ Before/After สามารถให้คุณวิเคราะห์ได้ตรงจุดว่าต้องฝึกอะไร ถุกจุดหรือไม่ พัฒนา performance ดีขึ้นหรือยัง
- ช่วยกำหนดกฎเกณฑ์ ความเข้มข้นหนักเบาของการฝึก ให้คุณฝึกได้ ถูกวิธี ถูกระยะเวลา ถูกความเข้มข้น เพื่อรีดเอา Performance ให้ออกมากที่สุดและสอดคล้องกับศักยภาพร่างกาย อย่าลืมว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ ร่างกายควรมีการพัฒนาเเบบขั้นบันได ค่อยเป็นค่อยไป
ประเภทของ Bike Computer
เราจำเเนกประเภท Bike Computer ออกมาให้คุณได้พิจารณากันดู…
1.Basic + No GPS : เเสดงข้อมูลเเต่ไม่มี GPS และไม่ส่งถ่ายข้อมูล (No data transfer) เป็น bike computer เเบบ Basic มีฟังค์ชันหลักๆ คือวัดความเร็ว เวลาปั่นเเละระยะทาง ตัวอย่างเช่น…Cateye Strada Wireless, Cateye Velo 7 และ Cateye Strada Slim
ตัวเซ็นเซอร์จะมี ตัววัดความเร็วเเบบเเม่เหล็ก( magnet) ติดกับตะเกียบหน้า เมื่อระบุขนาดของล้อเเล้ว เวลาตัวเเม่เหล็กหมุนผ่านก็จะสามารถคำนวนความเร็วเเละระยะทางได้
รุ่น basic อาจจะมีทั้งเเบบ wired และ wireless ข้อดีคือมีราคาถูก เเต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการบันของเราได้ เวลาเปลี่ยนเเบตเตอรี่ครั้งหนึ่งข้อมูลก็จะหายไปหมด หรือเริ่มสตาร์ทปั่นจักรยานใหม่
2. Data transfer + No GPS : ระบบ Bike Computer : เป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาจากแบบ Basic มีการเก็บข้อมูลในตัว Bike Computer หรือสามารถถ่ายโอนเข้าเเอพบนมือถือได้ อาจจะใช้สัญญา Ant+, bluetooth หรือ คลืนวิทยุ 2.4GHz Digital Wireless เเต่ยังไม่มีระบบ GPS หรือบางรุ่นต้องเชื่อมเข้ากับมือถือเเล้วอ่าน GPS ย้อนหลัง ตัวอย่างเช่น Cateye Padrone Smart+
หรือรุ่นเล็กๆ รองลงมาที่ไม่สามารถเชื่อมกับมือถือได้ อย่าง Strada Digital Wireless มีตัววัด HR, รอบขา ความเร็ว เเต่ไม่มี GPS เเละเก็บข้อมูลไว้ในตัวเอง
3. GPS only : ถือเป็น Bike Computer รุ่นเก่าเช่นกัน อย่างเช่น Garmin Edge 200 วัดความเร็ว ระยะทาง เวลาจะระบบ GPS จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง ไม่รองรับอุปกรณ์เสริมที่เชื่อมต่อด้วยระบบ Ant+ ฉะนั้นอยากจะรู้รอบขา หรือ HR Zone หมดสิทธิ์

4. Smartphone & Apps : เเบบนี้จะใช้แอพมือถือของเราเป็น Bike Computer เเละมีระบบ GPS ด้วย เเต่ข้อเสียคือ เเอพที่ใช้จะกินเเบตมาก เเละไม่ปลอดภัยต่อมือถือ ตกหล่นขึ้นมาหน้าจอพังได้เลย

ข้อมูลการปั่นจะมีการบันทึก เเละเเสดงบน social media ได้เลย…เเอพบางตัวจะมีฟีเจอร์ Autopost เวลาจบการปั่นจะโพสบนเฟสบุคเลย เเถมยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์เสริมอย่าง Cadence sensor และ HRM ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ Bluetooth 4.0 เป็นหลัก เเต่สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ Ant+ อาจจะต้องมี adapter ต่อกับมือถืออีกทีหนึ่ง

แอพที่นิยมได้เเก่ Strava, Runtastic Roadbike, Wahoo และ Mapmyride เป็นต้น
5. GPS + ANT+ : ตระกูลรุ่นนี้ต้องยกให้การ์มิน (Garmin Edge series) เขาเลย จ้าวผู้ครองตลาด bike Computer จักรยานทั่วโลก มีระบบนำทางอย่าง GPS มีแผนที่มาให้ ยิ่งในรุ่นสูงๆ จะมีระบบ navigation แบบ turn-by-tun ติดมาด้วย ข้อมูลสามารถปั่นทึกได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเบสิคอย่าง ความเร็ว ระยะทาง รอบขา เวลา ความสูงชัน…ไปจนถึง watt meter
การเชื่อมต่อเข้ากับเซ็นเซอร์อื่นๆ จะเป็นเเบบ Ant+ เมื่อจบการปั่น ข้อมูลจะถุกปั่นทึกในตัวเครื่อง ส่งต่อเข้ากับเเอพบนมือถือผ่านระบบ Bluetooth อีกทีหนึ่ง ข้อมูลจะสามารถโฟสขึ้น Social media เลยก็ได้ หรือเข้าไปดุข้อมูลตัวเองใน Dashboard เพื่อการวิเคราะหืเชิงลึกก็ได้ เเละเเน่นอนว่าความสามารถที่หลากหลาย ย่อมตามมาด้วยราคาที่เเพงขึ้น
รุ่นยอดนิยมในบ้านเราก็เช่น Garmin Edge 520 รุ่น Top ก็เป็น Garmin Edge 1000 จะเลือกรุ่นไหนก็ขึ้นกับความต้องการ เหล่าอุปกรณ์เสริมก็มีให้ครบครัน
6. GPS + Bluetooth/Ant+ : ระบบการทำงานเป็นเหมือนกับของการ์มิน ต่างกันที่การเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ จะใช้สัญญา Bluetooth เป็นหลัก หรือมีระบบ Ant+ ด้วย ตัวอย่างยี่ห้อที่ใช้ เช่น Polar, Stages และ Lezyne ล่าสสุดบริษัท Garmin ก็พัฒนาบางรุ่น อย่าง Garmin Edge 520 ให้สามารถรับสัญญา Bluetooth ได้เช่นกัน
ข้อดีของการใช้ระบบ Bluetooth คือ มีตัวเลือกในการเลือกซื้อตัวอุปกรณ์เสริมยี่ห้อต่างๆ มาใช้ได้ ไม่เหมือนของการ์มินที่ต้องซื้อระบบที่ใช้ Ant+ อย่างเดียว เเต่ราคา Bike Computer ระดับนี้ก็สูงตามราคาเช่นกัน
7. Multi-intergrated Bike computer : ถือว่าเป็นเเบบใหม่ล่าสุดที่มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้าไป นอกจากจะมีระบบ GPS ระบบวัดหน่วยความเร็ว ระยะทาง รอบขา ฯลฯ แล้ว ยังมีการรวมฟีเจอร์ที่เเตกต่างเข้าไป อย่างเช่น กล้องถ่ายรูป และ real-time tracking เป็นต้น
ดูเเล้วน่าสนมาก และหวังว่าเจ้าตัว Bike Computer ยี่ห้อ Xplova คงจะมาสร้างสีสรรเเบบใหม่ให้วงการปั่นจักรยานได้ดีเลยนะครับ