คุณคิดจริงๆ หรือว่า เฟรมสำเนา จะมีคุณภาพเทียบเท่าเฟรมเเท้…
บทความนี้เรียบเรียงจาก “Not all frames are created equal. A look deep inside the carbon in counterfeit bikes” จากเวบไซด์ Velonews หัวข้อเเปลได้ว่า “ไม่มีทางที่จะทำเฟรมออกมาได้คุณภาพเท่ากัน พร้อมวิเคราะห์คุณภาพของเฟรมคาร์บอนสำเนา”
ผู้ทำการทดสอบคนเเรก Mike Parson นักไตรกีฬาเเละอดีตนักเเข่ง motocross ได้อธิบายประสบการณ์ปั่น Specialized S-Works Tarmac SL4 สำเนา ว่า “รถมีอาการส่ายไปมาน่ากลัวมาก ผมต้องกำเบรคตลอดระยะเวลาที่ปั่นลงเขา ผมต้องใช้เข่าประกบเฟรม (top tube) ส้นประกบก้านปั่น จับบาร์ให้มั่นที่สุด เพียงเพื่อจะจัดการอาการส่าย เเต่ถึงกระนั้นผมก็ยังเห็นล้อหน้าส่ายไปซ้ายไปขวาอยู่ดี”
คุณ Mike Parson ได้ซื้อเฟรมจักรยาน จากเวบไซด์ DHGate.com ที่ราคาเฟรมเเบรนด์จักรยานดังๆ ราคาถูกมาก เช่น Scott Foil Premium ราคาอยู่ที่ $690 หรือเท่ากับ 22,770 บาท
ทางตัวผู้เขียนเองก็ลองกดเข้าไปดู เจอ Dogmaในราคาเพียงแค่ $518.33 เท่านั้น!!!
เเต่รู้หรือไม่ว่า SL4 หรือ Scott Foil Premium ที่ดูเหมือนจริงนั้น มีกรรมวิธีทำที่เเตกต่างกัน โม่หรือเป่าหลอมที่ใช้ (Mold) ก็ต่างกัน
ถ้าคุณคิดว่า จะจ่ายเเพงทำไม่ ไม่มีตังค์ไปซื้อของเเท้ สู้ซื้อเฟรมสำเนาก้ได้ คุณภาพก็เหมือนๆ กับเฟรมเเท้นั้นแหละ ทำจากโรงงานจีนทั้งนั้น…นี้เเสดงว่าคุณกำลังเข้าใจผิดอย่างเเรง
Velonews ทำการทดลองเฟรมสำเนา S-Works Tarmac SL4 เปรียบเทียบกับเฟรมเเท้ กับห้องเลบ Microbac Laboratories…ผลที่ได้นั้นชัดเจนมาก เฟรมสำเนามีประสิทธิภาพหรือการการรีดเอา performance ที่เเย่เเละอันตรายต่อผู้ขับขี่มาก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไม่มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน
การทดสอบ
เฟรมสำเนาที่ได้มานั้นหากไม่ได้ดูเปรียบเทียบกับของเเท้ เเทบจะเเยกๆไม่ออก กราฟิค สติกเกอร์ ตัว seatpost (หลักอาน) ก็เหมือนกันมาก เเต่เมื่อนำเอนเฟรมเเท้มาประกบคู่กันพบว่า
1. มุมองศา หรือ Geometric จะดูเหมือนเท่ากัน เเต่จริงๆ เเล้วต่างกัน ความยาวของก้านท่อต่างๆ ก็ไม่เท่ากัน เเสดงว่าไม่ได้มาจากโม่เดียวกันเเน่ๆ
2. น้ำหนัก เมื่อคิดรวมน้ำหนักทั้ง อย่าง เฟรม, folk (ตะเกียบ), headset (ถ้วยคอ) และ seatpost collar (รัดหลักอาน) พบว่าใกล้เคียงกัน
เฟรม SL4 หนัก 1460 g ในขณะที่เฟรมสำเนาหนัก 1570 g ทั้งนี้เพราะเฟรมสำเนาใช้ ของอย่าง headset และ set collar ที่มีคุณภาพต่ำ เเค่ชิ้นส่วนสองอย่างนี้ก็สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ต่างกันถึง 100 กรัมที่เดียว

เลื่อนมาดูที่ส่วนที่น่ากังวลใจที่สุด คือส่วนบริเวณ headset หรือถ้วยคอ เฟรมสำเนาจะใช้ชิ้นส่วนที่ทำจาก อัลลอย (Alloy cup) เเต่ในขณะที่เฟรมเเท้เป็นเเบบคาร์บอน (carbon cup)
ถ้วยคอทั้งสองมีคุณภาพต่างกัน ทาง Specialized ได้ทำการทดสอบในห้องเลบตนเอง พบว่าถ้วยคอที่ทำจาก อัลลอย (Alloy cup) ไม่สามารถผ่านการทดสอบคุณภาพเบื้องต้นได้เลย (Destructive testing) ซึ่งสอดคล้องกับการผลทดสอบในห้องเลบ Microvac ที่ Velonews ได้นำมา
ห้องเลบ microbac ทำการทดสอบหลายอย่าง เเต่วิธีทดสอบที่มีเเรงทำลายน้อยที่สุดคือ การทดสอบแบบ Stiffness test โดยการปล่อยวัตถุหนักลงบน หลักอาน 300 ปอนด์หรือ 136 กิโลกรัม เพื่อทำการทดสอบ เฟรมและตะเกียบ เเล้ววัดเเรงกระทำ (เเรงบีบอัด เเรงที่ทำให้เฟรมเคลื่อนไหว) ต่อตารางนิ้ว
ใครนึกไม่ออกว่าเค้าทดสอบอย่างไรลองดูคลิปทำการทดสอบได้จาก…
หรือ
ผลที่ได้ เฟรมสำเนามีค่า Stiffness น้อยกว่าเฟรมเเท้ 11% ซึ่งดูเหมือนจะน้อยเเต่ในความเป็นจริง การเเข่งขันที่ความเร็วสูง เมื่อนักกีฬาต้องรีดพลังงออกมามาก ระดับ high performance 11% ถึงว่ามีความต่างอย่างมีนัยสำคัญ
วิธีการทดสอบต่อไปคือ การตัดเฟรมออกเป็นชิ้นๆ เพื่อวัด Tensile Strength หรือวัดความทนต่อเเรงเค้น ต่อเเรงดึง ตามชิ้นส่วนต่างๆ
เมื่อทดสอบชิ้นส่วนต่างๆ ค่าความเเตกต่างก็ยิ่งปรากฏชัดเจนขึ้น เฟรมสำเนาจะมีค่า Tensile Strength ที่อ่อนกว่า นั้นคือทดต่อเเรงเค้นเเรงดึงได้น้อยกว่า ดังตารางต่อไปนี้

เจาะลึกลงไปอีก ลงไปดุที่เส้นใยคาร์บอนกันเลย หลายๆ ค่ายจักรยานมักจะโฆษณาว่ารถตัวเองทำจากhigher-modulus carbon fiber (เส้นใยคาร์บอนคุณภาพสูง)
เมื่อจับเฟรมทั้งสองมาส่องดูเส้นใย ท่านผู้อ่านคงคาดคะเนถูกว่าอย่างไหนดูเเข็งเเรงคงทนกว่า
การวางจัดเรียงเส้นใยคาร์บอน ทุกๆ ส่วนของจักรยานต้องการการออกเเบบที่เเตกต่างกันเพื่อรองรับเเรงกด เเรงเครียด การรับหนักหนักการใช้งาน วิธีการวางเส้นใยคาร์บอนจริงต้องมีการออกเเบบทางวิศวกรรมต่างกันไปด้วย
จำนวนความถี่ในการจัดเรียง รูปเเบบการจัดวางความละเอียดความปราณีตก็ต่างกันอย่างชัดเจน ด้านซ้ายคือเฟรมเเท้ เเต่ด้านขวาคือ เฟรมสำเนา
จักรยานเฟรมเเท้จะมีการจูนความเเข็งหรือ Stiffness โดยอาศัยเทคนิคทางวิศวกรรมในจัดวางเส้นใยคาร์บอนเเยกตามส่วนต่างๆ เพื่อให้เฟรมจักรยานทั้งคันมีความเเข็งเเกร่ง ความหยืดหยุ่นตามที่ได้ออกเเบบไว้ เเต่เฟรมสำเนาดุๆ ไปเหมือนจะเอามาเเค่ปะติดกันธรรมดา
คิดสักนิด!
เฟรมของลอกเลียนแบบ ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็น เฟรมสำเนา , ผลิตโรงงานเดียวกัน, OEM , ใช้โมลด์แม่แบบเดียวกัน หรือสารพัดเหตุผลที่เอามาอ้างอิงว่ามันมีคุณภาพใกล้เคียงกับของแท้ บทความนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าสุดท้ายแล้วว่าคุณภาพและความปลอดภัยระหว่าง เฟรมแท้ และ เฟรมสำเนา นั้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ก่อนที่คุณจะซือจักรยานสักคัน อย่าเพิ่งตื่นเต้นไปกับเฟรมยี่ห้อดังราคาถูก นั้นอาจจะเป็นเฟรมสำเนาก้ได้ เฟรมคาร์บอนจริงนั้นต้องยอมรับว่าราคาเเพงจริง เเต่สิ่งที่คุณจ่ายไปคือ “เฟรมคุณภาพ” เเข็งเเรงมั่นคง และปลอดภัยต่อตัวผู้ปั่นเเละเพื่อนๆ เคียงข้าง เพราะเมื่อคุณซื้อเฟรมสำเนาเเล้วเกิดพัง หรือหักสองท่อนขณะปั่น ถ้าล้มคนเดียวมันก็เเค่บาดเจ็บคนเดียว เเต่ถ้าไปเกิดพังกลางกลุ่มจักรยานเเล้วไปเกี่ยวคนอื่นด้วย คุณได้ทำร้ายผู้อื่นทางอ้อมด้วยนะครับ
