10 ข้อนักปั่นมือใหม่ควรรู้
ตั้งสติก่อนซื้อเเละก่อนออกปั่นทุกครั้งเพื่อความสนุกอย่างปลอดภัยทุกครั้ง
1. งบซื้อจักรยาน
หลายๆ คนที่เตรียมงบการเงินไว้สำหรับซื้อจักรยานเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าคุณจำเป็นต้องซื้อ หมวกกันน็อค บันไดปั่น สัญญาณไฟหน้าหลัง กระติกน้ำ และอุปกรณ์ซ่อมรถเอง อย่างที่งัดและยางใน ฉะนั้นเตรียมเงินไว้สำหรับส่วนนี้ด้วย
2. ทำ Bike Fitting
การทำ Bike Fitting ที่ดีช่วยให้การปั่นของเราสนุกมากขึ้น สัดส่วนร่างกายจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่ฝืนธรรมชาติ ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำให้เราใช้เวลาบนจักรยานได้นานขึ้น ส่วนสำคัญในการทำ Bike fitting คือ Reach และ Seat high
ความสูงของเปาะนั่งหรือ Seat high ถ้าความสูงของเป่าต่ำเกินไปจะมีผลต่ออาการปวดเข่าโดยตรง เราต้องใช้กล้ามเนื้อขาและเอวในการปั่นแบบจำกัดพื้นที่ (under extend) ไม่สามารถยืดได้สุด ในระยะความสูงที่พอเหมาะเมื่อเท้าเราอยู่ในตำแหน่ง 6 นาฬิกา ขาเราจะงอเล็กน้อย
ในส่วนของ Reach หรือตำแหน่งของส่วนบนของลำตัวและแขนมีระยะที่พอเหมาะในการเอื้อมไปจับแฮนด์ข้างหน้า ควรจะตั้งมุม45 องศากับรถ ถ้าระยะไกลไปเราจะปวดหลังได้ ถ้าใกล้ไปข้อศอกจะถูกเข่าตีได้
ก่อนซื้อควรถามผู้ขายหรือช่างจักรยานเรื่องไซด์ขนาดที่เหมาะสมก่อนแล้วค่อยทำ Bike Fitting และทดลองปั่นตามลำดับ
3. ทำความสะอาดจักรยาน
เป็นนักปั่นต้องรู้จักทำความสะอาดจักรยานเบื้องต้นเป็นซะบ้าง อยากการเช็คทำความสะอาดเฟรม ล้างล้อและทำความสะอาดโซ่ เปลี่ยนผ้าพันแฮนด์เป็นต้น จะช่วยยืดอายุจักรยานไปอีกนาน เมื่อปั่นครบพันกิโลค่อยเอาเข้า service สักครั้ง
4. ซื้อของอัพเกรด
หลายๆ คนบอกว่าเจ็บที่เดียวจบ หมายความว่าซื้ออุปกรณ์ที่ดีๆ ตัวท๊อปไปเลยแม้จะราคาแพงเเต่ไม่ต้องมาซื้อซ้ำอีก นี้ก็เป็นเรื่องจริงครับสำหรับการประหยัดเงิน แต่ไม่ได้หมายความว่ารถจะแรงตามนะ รถแรงต้องมาจากร่างกายและความฟิตของเราเป็นหลัก อุปกรณ์แค่ตัวเสริม ใครที่มีงบการเงินไม่ถึงก็อย่าเพิ่งซื้อตัวแพง ให้ฝึกก่อนค่อยซื้อ ซึ่งเราจะได้รู้ว่าส่วนที่ขาดเกินนั้นมาจะตรงไหน เราก็จะอัพเกรดได้ตรงจุด สิ่งที่สำคัญคือการเอารถไปออกสนามบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ รถแพงแต่จอดนานมันไม่คุ้มต่อค่าใช้จ่ายหรอกครับ
5. อย่าใจร้อน
หนึ่งในสาเหตุบาดเจ็บที่เจ็บขึ้นกับนักปั่นคือ การลงลุยปั่นระยะไกลเร็วเกินไป เราควรฝึกฝนเก็บระยะไปก่อนระยะหนึ่งเพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อมีเวลาสร้างความแข็งแรง คล้ายๆ กับการฝึกปั่นเร็ว ก็ไม่ควรเร่งรีบทำ การอัดความเร็วในช่วงต้นๆ เราจะหมดแรงก่อนถึงหลัง ควรแบ่งการฝึกเป็นสามส่วน ช่วงแรกฝึกวอร์มอัพ ช่วงที่สองควรเร่งหาจังหวะความเร็วที่พอเหมาะกับเราและในช่วงสุดท้ายค่อยใส่ให้หมด
6. อุปกรณ์ซ่อมปะล้อ
เป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ไม่ควรมองข้ามเลยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นมือเก๋าหรือมือใหม่ ทุกๆ การปั่นควรพกติดตัวไปด้วย ในกรณีล้อรั่วยางแตกจะสามารถถอดเปลี่ยนหรือจะปะก็ได้แล้วแต่สะดวก หลายๆ คนไม่พกอุปกรณ์ไปเลยเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ต้องยกเลิกทริปไปเลย แต่การมีอุปกรณ์ปะล้อ อย่างน้อยเราก็สามารถซ่อมเบื้องต้นพร้อมไปต่อได้
7. การใช้เกียร์
เทคนิคการใส่เกียร์หรือจังหวะการเข้าเกียร์ หรือแม้การเบรค ควรจะเรียนรู้ไว้ก่อนออกปั่น ง่ายๆ ที่สุดคือสอบถามเพื่อนๆ หรือมือโปรทั้งหลายดู เฟื่องฟันหน้าและหลังควรใช้กับเกียร์หลังลำดับที่เท่าไหรเราควรศึกษาให้ดี เพื่อป้องกัน cross-chaining ลักษณะการดึงโซ่ที่เอียงสุดโตง ทำให้อายุการใช้งานลดลงเร็วขึ้น การเข้าเกียร์ที่ดีจะช่วยให้เราไต่เขาหรือเร่งความเร็วได้ดีขึ้นแน่นอน
8. มารยาทการปั่น
เราไม่ได้เป็นคนเดียวที่ปั่นจักรยานบนท้องถนน ในการปั่นทั่วไปควรชิดซ้ายให้รถที่มีความเร็วแซงไปก่อน ไม่ควรปั่นกลางเส้นกลางแม้จะเป็นพื้นที่จัดไว้ให้จักรยานก็ตาม ออกทริปเป็นกลุ่มก็ควรเรียนรู้วิธีการปั่นเป็นกลุ่ม ถือเป็นมารยามพื้นฐานอย่างหนึ่งเหมือนกัน โดยทั่วไปแต่ละกลุ่มก๊วนจะแตกต่างกันไปด้วย ร่วมทั้งการใช้สัญญามืออย่าง การเตือนเพื่อนๆ ข้างหลัง การขอเลี้ยวและการขอหยุด เป็นต้น
9. เติมพลังงาน
การปั่นจักรยานเป็นกีฬาประเภท endurance อย่างหนึ่ง เราต้องรู้จักการเติมพลังงานระหว่างปั่น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหิวโซ หลังจากการปั่น น้ำเปล่า เครื่องดื่มผสมเกลือแร่ และขนมขบเคี้ยว ต้องรู้จักจังหวะเวลากิน กินตอนไหน อย่างไร จะช่วยให้เรามีพลังงานใช้ในการปั่นได้ต่อเนื่อง
10. เก็บสถิติ
การมีข้อมูลเปรียบเทียบก่อนหลังจะมีประโยชน์มากในการฝึกพัฒนาตัวเอง ปัจจุบันมีอุปกรณ์พวก Bike computer หรือ Sport gadgetหลายยี่ห้อ อย่างแบรนด์ที่นิยมอย่าง Garmin edge สามารถเก็บข้อมูล ความเร็ว อัตราเต้นของหัวใจ รอบขา และแคลอรี่ที่ใช้ไป ที่ช่วยบันทึกข้อมูลของเราเก็บเอาไว้เป็นประวัติ ทำให้เราสามารถจับต้องข้อมูลได้ง่ายขึ้น นำมาวิเคราะห์และออกแบบวางแผนการฝึกให้เหมาะกับเราได้มากขึ้น หรือแม้แต่การเปิดใช้แอพบนมือถือ อย่าง Strava, Endomondo และ Runtastic ก็ใช้ได้เหมือนกับ