การเกิดตะคริวระหว่างปั่นจักรยาน มักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อช่วงล่าง (LOWER BODY) อย่างเช่นกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อต้นขา อันเป็นส่วนหลักที่เราใช้ปั่น อาการปวดเป็นตะคริวอาจจะทำให้นักปั่นต้องผ่อนพละกำลังลง ลดความความเร็วและหากเป็นมากก็ต้องหยุดการปั่นไป
ในส่วนของสาเหตุของการเกิดตะคริวนั้น ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนหรือเอาแบบเจาะลงได้ แต่ก็พอมีกลุ่ม ทฤษฎีอธิบายสาเหตุแบบครอบคลุมได้อย่างมีเหตุผลอยู่ ซึ่งนักปั่นสามารถนำมาใช้เป็นไกด์ไลน์ได้ อย่างเช่น การล้าของกล้ามเนื้อ การขาดสารอิเลกโตรไลท์ อาการขาดน้ำและระดับความฟิตความแข็งแรงของตัวนักปั่นเอง เป็นต้น
รู้ไว้ไม่เสียหาย!!! 4 วิธีช่วยป้องกันตะคริวขณะปั่นจักรยาน
1. FATIGUE THEORY: ตะคริวเพราะกล้ามเนื้อเมื่อยล้า การใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักและต่อเนื่องกันยาวๆ มากกว่าปริมาณที่กล้ามเนื้อเคยถูกใช้งาน พูดง่ายๆ คือใช้เกินลิมิตเดิมๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นตะคริวได้ โดยมี 2 วิธีการป้องกันตะคริวในสาเหตุนี้คือ PACING & TRAINING
เพราะการปั่นในระดับ PACE ที่สูงกว่าการที่ถูกฝึกมา (TRAINING) จะจบลงด้วยอาการเป็นตะคริวเสมอหรือไปไม่ถึงเส้นชัย ดังนั้นเพื่อการหลีกเลี่ยงการเกิดตะคริว ทุกการปั่น นักปั่นต้องวางแผนการจัดการ PACE ตัวเองเสมอ ช่วงเริ่มต้น กลางและตอนจบ ต้องใส่ความเร็วหรือ PACE เท่าไหร่ ไม่ให้เกินระดับที่เราฝึกมา ต่อมาก็มาถึงเรื่องการฝึก STRENGTH TRAINING เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ การยกเวท การฝึก BODYWEIGHT TRAINING ก็มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อมีความทนทาน สามารถรองรับ WORKLOAD ได้มากขึ้นและขณะเดียวกันก็จะช่วยเพิ่มพลัง OUTPUT ออกมาด้วย
2. LOW ELECTROLYTE THEORY: ปริมาณเกลือแร่ในร่างกายต่ำหรือสารอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายต่ำ เพราะเหงื่อไม่ได้ขับน้ำออกมาอย่างเดียว แต่ขับเกลือแร่ที่ประกอบไปด้วย อย่างเช่น โซเดียม แคลเซียม โปรแพสเซียม แมกนีเซียม และคลอไรด์ เมื่อร่างกายขาดสมดุลเกลือแร่ในร่างกายจึงทำให้เกิดการเป็นตะคริวขึ้นได้ วิธีป้องกันอย่างง่ายๆ คือ การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพิ่มเติมพิเศษก่อนการแข่งขัน และดื่มระหว่างการแข่งขัน (อย่าลืมดื่มสลับกับน้ำเปล่าด้วยนะครับ)
มีหนึ่งทฤษฎีที่เชื่อต่อกันกับการเกิดตะคริวและคล้ายๆ กับการขาดเกลือแร่ แต่เกิดจากการดื่มน้ำเยอะเกินไป นั้นคือ HYPER-HYDRATION ปริมาณน้ำที่มีเยอะจนทำให้ปริมาณเกลือแร่ในเลือดเจือจางลง ดังนั้นนักปั่นเองก็ไม่ควรดื่มน้ำเยอะเกินไปเช่นกัน
3. DEHYDRATION THEORY: อยุ่ในสภาวะขาดน้ำ ทำให้เกิดเป็นตะคริว ไม่ว่าการขาดน้ำจะเป็นสาเหตุหรือไม่เป็นสาเหตุของการเกิดตะคริว การรักษาระดับน้ำในร่างกายให้สมดุลสำคัญต่อทุกๆ ประเภทกีฬามาก การขาดน้ำส่งผลต่อ PERFORMANCE นักกีฬาทุกทาง และเพื่อป้องกันการเกิดตะคริวจากการขาดน้ำ แน่นอนว่าการดื่มน้ำเป็นเรื่องสำคัญ ดื่มก่อนออกปั่น เป็น TOP-UP ก่อนสัก 10-15 นาที และดื่มทุกครั้งเมื่อเริ่มมีอาการหิว แต่อาการหิวน้ำก็เป็นการบอกว่าเราอยู่ในสภาวะขาดน้ำแล้วก็ได้ ทางที่ดีคือเซตเวลาดื่มทุกๆ 15-30 นาทีและปรับบเปลี่ยนเวลาดื่มน้ำตามสภาพอากาศและความเข้มข้นของการปั่น
4. PERSONAL SUSCEPTIBILITY: ปัญหาที่เกิดจากความอ่อนแอกล้ามเนื้อของตัวผู้ปั่นเอง อันจะเกิดมาจากกล้ามเนื้อที่อ่อนแอตามอายุ หรือขาดการฝึกซ้อม ซ้อมไม่ถึงก็เป็นได้ การแก้ไขเริ่มจากการฝึกกล้ามเนื้อด้วยวิธีการ STRENGTH TRAINING และการทำยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
ท้ายนี้มาดูวิธีเอาตัวรอดแบบง่ายๆ ในกรณีที่เกิดตะคริวขึ้นระหว่างปั่นจักรยานจะทำอย่างไร หนึ่ง…ในระดับที่รับมือไหว ให้ลดระดับการปั่นลง ปั่นในระดับที่สบายๆ และดื่มน้ำดื่มเกลือแร่เพิ่มกลับเข้าไป สอง…แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นและเริ่มแรงขึ้น ก็ให้หยุดปั่นทำการพักยืดเส้น ดื่มน้ำเติมพลังงานแล้วค่อยไปต่อ
อ้างอิง WWW.ACTIVE.COM