วิธีพิชิตภูเขาไม่ได้อาศัยเเค่เเรงอย่างเดียวเท่านั้น เเต่ต้องใช้สมองด้วย…วันนี้เรามาดู 5 เทคนิคหรือเเนวคิดที่อยากให้ลองนำไปประยุกต์ใช้กับสไตล์การปั่นของเรา
1. Change gear, find pptimum cadence
การไต่เขาถ้าใส่เกียร์หนัก มันก็เหมือนการยกเวท มากๆ ครั้งกล้ามเนื้อจะล้าเเละหมดเเรงลง ดังนั้นการปั่นไต่เขา ก็ยังคงใช้หลักเดียวในการปั่นทางราบ เน้นเกียร์เบารอบขาให้สูง เพื่อให้น้ำหนักที่เรากดลง เบาลงที่สุด หารอบขาที่อยู่ในโซนสบายที่สุด ปั่นเเล้วเเรงไม่หมดจังหวะไม่หาย เเม้เป็นการออกเเรงย่อยมากกว่าทางเรียบ การออกเเรงของเราก็ควรอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ไม่ใส่หมดตัว ค่อยๆ ปล่อยไปเรื่อยๆ เราแนะนำให้ใช้รอบขาประมาณ 80 – 110 rpm น่าจะเป็นจุดที่เหมาะที่สุดสำหรับการปั่นขึ้นเขา ทั้งนี้เราต้องปรับเปลี่ยนเกียร์ให้ตรงกับความเร็ว เเรงที่ออกตามความต้องการเเละศักยภาพเเต่ละคน
2. นั่งปั่น ยืนปั่น วนไป
การปรับเปลี่ยนอิรอยาบทนอกจากจะช่วยคลายอาการเมื่อยล้า ยังช่วยในการสร้างจังหวะการปั่นเเละการออกเเรงปั่นได้ด้วย อย่างการโยกตัวซ้ายขวาไปมาหรือโน้มไปข้างหน้าเพื่อสร้างโมเมนตรัม
การปรับเปลียนทวงท่า จะช่วยให้กล้ามเนื้อบางส่วนไปพัก อย่างเช่น หากเรายืนปั่นเป็นเวลานานๆ กล้ามเนื้อหลัง เเขนไหล่จะเมื่อยล้า การนั่งจะให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นได้พัก ให้กล้ามเนื้อชุดอื่นทำงานต่อไป
3. ใจร่มๆ ใจเย็นๆ
การปั่นจักรยานไต่เขา เอาเข้าจริงๆ ก็เหมือนการวิ่งระยะทางมาราธอน จิตใจต้องเข้มเเข็ง อดทน การปั่นขึ้นเขามันไม่ได้ไปเร็วเหมือนทางเรียบ ทำให้เราหงุดหงิดกันทุกคน ดังนั้นในการปั่นจึงต้องรักษาจังหวะ ประคองเเรงที่ออกมาให้ไหลลื่นต่อเนื่อง รักษา pace ให้คงที่…ปั่นในระดับที่เราออกเเรงตามสมควรโดยไม่ใส่ใจกับความเร็วให้มากนัก ให้นึกไว้ในใจว่าเรากำลังเคลื่อนมวลขึ้นภูเขา ต้องค่อยๆ ไหลอย่างต่อเนื่อง อย่ากระชาก
4. กินไว้ล่วงหน้า
การปั่นไต่เขาต้องการพลังงานมากกว่าที่คุณคิด กฏง่ายๆ ขอการเติมพลังงานคือ “กินก่อนหิว ดื่มก่อนกระหาย” นักปั่นจึงควรพกอาหารอย่างพวก energybar และ energy gel ติดตัวไว้ด้วย ถ้ารู้ว่าการปั่นขึ้นเขาต้องกินระยะเวลานาน ให้ลองกินไว้ล่วงหน้า หรือ เติมพลังงานทุกๆ 40 นาที ในส่วนของน้ำดื่ม จิบทุกๆ 15 นาที
5. คิดไว้ล่วงหน้า
นักปั่นสายไต่เขาก็คล้ายๆ กับนักวิ่งเทรล คือ เวลาจะวิ่งลงเขาต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่าจะเอาขาวางไว้ตรงไหน นักปั่นก็เช่นกัน ต้องมีการปรับเกียร์ไว้ล่วงหน้า มองพื้นผิวถนน จุดเลี้ยว จุดหักหลบ เพื่อไม่ให้จังหวะหรือโมเมนตรัมการปั่นสะดุดขาดตอน มองใกล้และไกล เเล้วคำนวนเส้นทางไว้ในใจคร่าวๆ หากฝึกบ่อยๆ เข้า ก็จะสามารถคุม pace ตัวเอง รักษาพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง