7 กฎเหล็กป้องกันอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง
นักรบยอมมีบาดแผล นักวิ่งยอมมีบาดเจ็บเช่นกัน และอาการบาดเจ็บที่มักพบในนักวิ่งได้แก่….
แต่นักวิ่งจะให้บาดเจ็บซ้ำซากไปก็ไม่ดี มันเสียดายเวลาซ้อมวิ่งหายไป ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ขัดใจเพราะงานแข่งก็ไม่ได้ลงวิ่ง ฉะนั้นเรามาดู 7 กฎเหล็กที่จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บจากการวิ่งดูกัน
- รู้จักลิมิตตัวเอง
เป็นกฎข้อที่สำคัญที่สุด ส่วนมากจะเกิดกับนักวิ่งหน้าใหม่ไฟแรง เวลาเห็นเขาวิ่งกันได้เป็นสิบๆ กิโลเมตรไปจนถึงระยะฟูลมาราธอน ก็มีอาการคันมือคันเท้าโหมซ้อม วิ่งยืนระยะให้ได้มากที่สุด จนร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บ จำไว้ว่าถ้า “Too much, too soon, too fast” จะเกิดการบาดเจ็บแน่นอน
การฝึกต้องอาศัยระยะเวลาในการไต่เต้าขึ้นไป ต้องใช้เวลาด้วยกันทั้งนั้น การฝึกวิ่งเพิ่มระยะที่นิยมกันคือการเพิ่มครั้งละ 10% หรือยึดตามตารางวิ่ง รวมทั้งเพิ่มวันพักผ่อนหรือ recovery day เข้าไปด้วย ให้ร่างกายได้ปรับตัว สร้างกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อ เป็นต้น ทั้งนี้การฝึกแบบอื่นๆ อย่างการเข้าโรงยิม เล่นเวท ว่ายน้ำและปั่นจักรยาน ก็ช่วยเพิ่มขีดความสามรถของกล้ามเนื้อ ระบบการหายใจและหัวใจได้เช่นกัน
- ฟังเสียงร่างกายตัวเอง
ถ้าจะให้สรุปสั้นๆ เมื่อรู้สึกมีอาการเจ็บ หยุดวิ่ง พักฟื้น ดูอาการ ถ้าไม่หายให้หาหมอ
การฟังเสียงร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้การสังเกต และมักจะมีการส่งสัญญาล่วงหน้าเสมอ อย่าง วิ่งแล้วรู้สึกไม่สบายตัว มีอาการปวด อาจจะไม่มาก แต่ถ้าเริ่มปวดลุกลามมากเรื่อยๆ ก็ควรหยุดพัก ปวดเพราะกล้ามเนื้อล้า หรือปวดแบบเจ็บจี๊ด (shape pain) ต้องสังเกตให้ดี ถ้าไม่แน่ใจ ให้ไปพบหมอครับ
- อย่ามองข้ามการฝึกกล้ามเนื้อ
การฝึกกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ เอ็น เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อยึดข้อและข้อต่อต่างๆ ให้ทนทานต่อแรงกระทำมากขึ้น ฝึกเพื่อรอรับ workload ที่จะเกิดขึ้น ฝึกกระตุ้นให้ใช้มัดกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ไม่ว่ากล้ามเนื้อหลัก กล้ามเนื้อซัพพอร์ตใช้งานได้เต็มที่
การฝึกกล้ามเนื้อยังจะช่วยสร้างพลัง (power) ให้กับกล้ามเนื้อในการผลักดันร่างกาย ช่วยสร้างความอึด ลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อลงได้ และป้องกันอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อด้วย ถ้าใครฝึกกล้ามเนื้อบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวทหรือ bodyweight สังเกตว่าอาการ office syndrome จะหายไป
- ยืดเหยียดดกล้ามเนื้อ
ก่อนและหลังวิ่งทุกครั้งต้องมีการ warm-up และ Cool-down อย่างน้อยก็ควรจะให้เวลา 5-15 นาที เป็นการเตรียมความพร้อมให้กล้ามเนื้อ สร้างความยืดหยุ่น ให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ตัวอย่าง การทำ Dynamic Stretching
และการทำ cooling down
- เลือกพื้นผิวถนน
วิ่งบนพื้นคอนกรีต ถนนลาดยาง สนามหญ้าหรือสายพานลู่วิ่ง มีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเราด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อชีวิตการวิ่งที่ยาวนาน พยายามเลี่ยงการวิ่งบนพื้นผิวที่แข็งอย่างคอนกรีต แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องจัดระเบียบท่าวิ่งการลงเท้าให้ดี ไม่วิ่งกระทืบเท้า พื้นผิวที่แนะนำให้ใช้วิ่งมากที่สุด อย่างเช่น ลู่สนามวิ่ง ถนนลาดยางในสวนสาธารณะ พื้นหญ้า เส้นทางวิ่งเทรล พื้นทรายและสายพาน
- การเลือกรองเท้า
การเลือกรองเท้าวิ่งมีหลักง่ายๆ คือ เลือกที่ขนาดใหญ่กว่าไซด์เดิม อาจจะใหญ่กว่า 0.5-1 นิ้ว เพราะเวลาวิ่งเท้าเราจะขยายใหญ่ขึ้น และห้ามใส่รองเท้าใหม่ไปงานวิ่งแข่งเด็ดขาด เจอคู่ดีกัดกันตลอดงาน วิ่งไปก็ไม่สนุก
รองเท้าจะมีประเภทธรรมดาใส่วิ่งฝึกซ้อมทั่วไป เหมาะกับมือใหม่ไปจนมือเก๋า น้ำหนักไม่หนักมาก และจะมีแบบรองรับน้ำหนักเยอะๆ หรือแบบซัพพอร์ตที่จะมีพื้นหนานุ่ม ใครที่มีปัญหาน้ำหนักเยอะก็แนะนำให้ลองเริ่มวิ่งจากตัวนี้ก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาไปแบบรองเท้าพื้นธรรมดา
รองเท้าสำหรับแข่งขัน หรือ Race shoe จะมีความเบา บาง แผ่นรองพื้นบาง ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ จะใส่เฉพาะกลุ่มขาแรงมีประสบการณ์ ใช้แข่งขันและทำเวลาเป็นหลัก
เพิ่มเติมอีกนิดกับ… 3 ข้อควรรู้ก่อนซื้อรองเท้า
- จัดระเบียบท่าวิ่ง
ข้อสุดท้ายสำคัญมาก เราจะวิ่งได้เร็ว ใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพ ป้องกันและลดอาการบาดเจ็บได้ดีเมื่อสามารถจัดระเบียบท่าวิ่งได้ถูกต้อง
ทำอย่างไร เราลองไปดูคลิปสอนท่าวิ่งกันสักนิดนะครับเผื่อจะได้ไอเดีย
และถ้าสนใจอยากเรียนท่าวิ่งใหม่ ลองเข้ากลุ่มครูดินได้นะครับ มีการสอนเทคนิคการวิ่งด้วย
ก่อนจบ 7 กฎเหล็กป้องกันอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง มาดูคลิปเพิ่มความรู้กับ “วิ่งสุดขั้ว ตัวไม่เจ็บ โดยหมอแป๊ป”