ข้อหนึ่งก่อนที่นักปั่นเสือหมอบต้องทำใจเมื่อลงมาปั่นเสือภูเขา คือ คุณจะสกปรกมากกว่าเดิม (Get dirt) คุณจะถูกเขย่าตลอดเวลา ไม่ได้นั่งบนถนนเรียบตลอดสาย ต้องมีการยืนและโยกปั่นไปมา ทั้งมีการโดดขึ้นโดดลง เทคนิคการปั่นจักรายานเสือหมอบที่ดีจะช่วยให้คุณปั่นเสือภูเขาได้ดีขึ้นแน่นอน แต่ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ความเร็วที่ได้จะไม่เท่าปั่นบนเลนถนนทางเรียบ จงทำใจและสนุกไปกับการเอาชนะอุปสรรคข้างหน้ามากกว่าการทำความเร็ว
เลือกสนามแข่งขันให้เหมาะ
จุดประสงค์ของการเลือกสนามแข่งขันระดับง่ายๆ หรือสนามแข่งระดับ Beginner ก็เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ สกิลสำหรับการรับมืออุปสรรคในสนามแข่งที่เป็นทางขรุขระขึ้นมาใหม่ ให้ร่างกายได้ทดลองรับกับสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง มากขึ้น มากกว่าสนามแข่งแบบเรียบ แน่นอนว่าเทคนิคการเปลี่ยนเกียร์การปั่นเล่นรอบก็จะแต่ต่างกัน การแข่งสนามเริ่มต้นก็เพื่อฝึกทักษะและทำความคุ้นเคยกับการปั่นจักรยานเสือภูเขา ให้เราได้ได้เรียนรู้การระบบการใช้พลังงานที่แตกต่างกันระหว่างเสือภูเขาและเสือหมอบ
สนามแข่งขันเสือภูเขามีความยากง่ายเฉกเช่นเดียวกับสนามแข่งขันเสือหมอบ บางสนามใกล้ๆ กทม. อย่างสนามแข่งเสือภูเขา เขาประทับช้าง เขตอำเภอจอมบึง ก็ถือเป็นออฟชั่นแรกๆ สำหรับมือใหม่หัดปั่นเสือภูเขา
ปั่นลูกเดียว จงอย่ากลัวอุปสรรค
แม้ว่าทางข้างหน้าจะเป็นทางสูงชัน ทางดิ่งลงเขา ทางขรุขระ ทางโคลนและผ่าตัดลำธาร จงอย่ากลัว จงปั่นลุยเข้าไป หลักการปั่นก็ยังไม่แต่ต่างกับเสือหมอบ ให้เราเลือกเกียร์เบาและเล่นรอบเพื่อสร้างและรักษาโมเมนตัม ให้รถมีแรงเคลื่อนไปข้างหน้า แม้ว่าจะช้ากว่าการปั่นแบบเสือหมอบก็ตาม แต่การรักษาแรงส่งถือว่าสำคัญมาก การปั่นลุยอุปสรรคจะช่วยสร้างทักษะการปั่นเปลี่ยนเกียร์ การเลือกเกียร์และแรงปั่นที่สมควรใช้ให้เหมาะกับร่างกายเรา
มองไปข้างหน้า
การปั่นจักรยานเสือภูเขา มีหลักการเหมือนๆ กับการวิ่งเทรล ตาต้องไว้ มองล่วงหน้า ต้องสร้างภาพเส้นทางที่จะเลือกใช้ไว้ในใจ เลือกเลนปั่นไว้ 2-3 สเตปล่วงหน้าและที่สำคัญจงเชื่อมั่นในจักรยานของเรา มันถูกออกแบบมาให้แข็งแกร่ง สามารถรับมือกับแรงกระแทกและการเข้าโค้งแรงๆ ได้ดี
ชนเป็นชน
ดูเหมือนบ้าที่จะแลนดิ่งลงพื้นแข็ง แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถปั่นเบี่ยงอุปสรรคข้างหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นทางโคลนตม หรือทางลูกรังที่ต้องกระแทกหินใหญ่ การปั่นลุยเข้าไปตรงๆ ให้ผลดีกว่าที่คิด เหมือนอย่างเวลาปั่นลุยทางโคลนตมที่มีน้ำขัง แทนที่จะปั่นเลี่ยงเบี่ยงไปมา การปั่นแบบลุยไปตรงๆ จะรักษาโมเมนตัมและแรงส่งได้ดีกว่า
เลือกอุปกรณ์และปรับแต่งตามสถานสนาม
การเลือกจักรยานเสือภูเขาก็เหมือนการเลือกจักรยานเสือหมอบ ที่ต้องเลือกให้ถูกกับไซด์ผู้ปั่น แต่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ แบบเฟรมจะมีให้เลือก 2 แบบ HardTrail และ Full Suspension ลักษณะที่แตกต่างที่สำคัญคือ จำนวนและตำแหน่งที่ตั้งโช้คอัพ
ถ้าชอบแบบแข็งๆ ตอบสนองดี แบบ Hardtrail จะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เพราะมีโช้คอัพด้านหน้า 1 คู่เท่านั้น เวลาปั่นและกดแรงลงไป แรงกดจะถูกส่งกลับ ให้ความรู้สึกตอบสนองต่อพื้นผิวได้ดีกว่า Full suspension ถ้าชอบนิ่มๆ ก็ให้เลือกแบบ Full suspension แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถปรับให้โช้คอัพมีความแข็งหรือนิ่มได้ตามใจชอบ (แน่นอนว่าราคาก็แพงขึ้นด้วย)

นอกจากเฟรมที่ส่งผลต่อการปั่นของเราแล้ว ยังมีขนาดเส้นยางและความดัน ถ้าอยากไปเร็วไม่กลัวแรงสั่นสะเทือนก็ปรับให้ยางมีความดันสูง หรือถ้าต้องการการยึดเกาะที่ดี ปั่นนิ่มสบายก็ต้องปรับความดันยางลดลง ความสนุกของจักรยานเสือภูเขาอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องปรับแต่งเซตอัพจักรยานตัวเองให้เหมาะกับสนามปั่นนั้นๆ
ปรับเบาะนั่งลงเพื่อเพิ่มความมั่นใจ
ในจังหวะที่ต้องกระโดดลง ถ้ารู้สึกว่าตำแหน่งร่างกายอยู่สูงเกินไปและไม่มั่นใจ ทดลองลดตำแหน่งเบาะนั่งลงเล้กน้อย และพยายามย่อตัวต่ำลง นอกจากนี้บางบริษัทก็มีผลิตภัณฑ์เบาะนั่งที่สามารถปรับระดับได้ เมื่อสะสมประสบการณ์และทักษะการปั่น เราก็ค่อยๆ ปรับเบาะให้อยู่ในระดับ optimal position เหมือนเดิมได้
ลองใช้เกียร์ใหญ่ขึ้นเขาดู
สำหรับนักปั่นเสือหมอบ จะใช้เกียร์เบา เน้นการควงรอบ ในการขึ้นภูเขา แต่สำหรับการปั่นเสือภูเขา การปั่นเกียร์ใหญ่ไต่เนินเขาจะช่วยให้เราสามารถรักษาโมเมนตัม การทรงตัว และความรู้สึกต่อพื้นผิว ป้องกันการปั่นฟรี (Spinning out) จนสูญเสียแรงส่งได้
ยืนและโยก
ไม่ต้องกังวลเรื่องแอร์โรไดนามิกมากนักสำหรับการปั่นเสือภูเขา บางครั้งเราต้องการส่งพลังในการกระโดดหรือปั่นข้ามอุปสรรค การยืนและโยกปั่นไปมา (บนเกียร์ใหญ่) จะสร้างแรงส่งได้มากกว่าเดิม หรือบางครั้งก็เพื่อรักษาบาลานซ์ ควบคุมจักรยานในการเข้าโค้งและจังหวะการโดดขึ้นลง