ลองสำรวจตัวเองดูคร่าวๆ ว่าเข้าข่าย 1 ใน 8 ข้อนี้หรือไม่ ถ้าใช่ นั้นคือระบบเมตาบอลิซึมของคุณกำลังจะมีปัญหา ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
8 อย่างที่กำลังทำร้ายระบบเมตาบอลิซึมของเรา
1. ไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า (SKIPPING BREAKFAST)
เพราะช่วงเวลาตั้งแต่นอนหลับกลางคืนจนถึงช่วงเช้า ระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายจะทำงานอย่างเชื่องช้า เมื่อรับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ เราจะจุดเครื่องยนต์ของระบบเมตาบอลิซึมให้พร้อมทำงานขึ้นมาใหม่ ช่วยให้เผาผลาญแคลอรี่ได้ดีตลอดทั้งวัน การรับประทานอาหารเช้าคือการสื่อสารกับร่างกายว่าจะมีพลังงานให้เผาเพิ่มเติมอยู่นะ แต่ถ้างดอาหารมื้อเช้า จะเป็นการบอกว่าจะไม่มีอาหารหรือแคลอรี่เพิ่มเติมอีกนะ ทำให้ร่างกายเข้าสู่ระบบรักษาพลังงาน (SAFE MODE) ซะแทน
2. คุณรับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพหรือเปล่า
เพราะการเลือกรับประทานโดนัท แพนเค้ก แป้งและน้ำตาลจะทำให้เรากับมาหิวได้อีกอย่างรวดเร็ว เป็นอาหารที่ย่อยง่ายและให้พลังงานมากแต่อายุสั้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีการแกว่งตัวสูง ไม่มีผลดีต่อสภาวะอารมณ์ ดังนั้นควรรับอาหารเช้าที่มีคุณภาพอย่าง การเติมโปรตีนและไฟเบอร์ลงไป ไข่ โยเกริต์ หรือพวกขนมปัง WHOLE-WHEAT กับเนยถั่ว
3. นั่งนานเกินไป
การนั่งทำงาน หรือนั่งๆ นอนดูทีวีนานๆ นานเกินไปจะเป็นการสร้างอุปนิสัยเฉื่อยชาให้ร่างกาย เราจะเริ่มไม่เป็นคน ACTIVE มากขึ้น เพราะการนั่ง นานๆ จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ ENERGY-CONSERVATION MODE ระบบเมตาบอลิซึมจะเผาผลาญพลังงานน้อยและช้าลง
4. ฝึกแต่คาร์ดิโอ
การฝึกคาร์ดิโอให้ผลดีแน่นอน ช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งหรือปั่นจักรยาน แต่ทันทีที่จบการออกกำลังกาย ระบบเผาผลาญจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่ในขณะเดียวกันการฝึกกล้ามเนื้อ (STRENGTH TRAINING) หรือ HIIT และพวกฝึก RESISTANCE-BASED WORKOUT ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานไปเรื่อยๆ ไปพร้อมๆ กับการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ การฝึกกล้ามจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อให้มากขึ้น แม้ขณะที่เราไม่ได้ออกกกำลังกาย มวลกล้ามเนื้อก็จะดึงพลังงานไปเผาผลาญตลอดเวลา การที่มีมวลกล้ามเนื้อที่ใช้งาน ACTIVE อยู่จำนวนมาก จะทำให้ระบบเมตาบอลิซึมสูงตามไปด้วย
5. บริโภคโปรตีนน้อยไป
โปรตีนจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทั้งในการสร้างและซ่อมแซม ช่วยให้รู้สึกอิ่มและช่วยในการควบคุมน้ำหนัก การบริโภคน้อยไปก็จะมีผลต่อการบำรุงรักษากล้ามเนื้อ ทั้งนี้โปรตีนยังต้องการพลังงานในการย่อยสูงกว่า คาร์ปฯและไขมัน การบริโภคโปรตีนจึงเป็นการกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ดึงพลังงานมาใช้งานในระบบย่อยมากขึ้น
6. นอนน้อย
การนอนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบฮอร์โมนร่างกายแปรปรวน ภูมิคุ้มกันทำงานแย่ลงและระบบเมตาบอลิซึมทำงานช้าลง ร่างกายไม่มีสมาธิและมีผลต่ออารมณ์
7. ดื่มน้ำน้อย
จากผลการศึกษาของ (A STUDY) THE JOURNAL OF CLINICAL ENDOCRINOLOGY & METABOLISM พบว่าการดื่มน้ำ 500 มิลลิลิตร หรือ 2 แก้ว จะช่วยเพิ่มการทำงานของระบบเมตราบอลิซึมถึง 30% ได้เป็นชั่วโมง ถ้าสามารถรักษาร่างกายให้มีสมดุลของเหลวอย่างสม่ำเสมอแล้ว นอกจากจะช่วยบูสระบบเมตาบอลิซึม ยัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รู้สึกสดชื่นตื่นตัวมากขึ้น รักษาระบบขับถ่าย ช่วยให้ขับถ่ายคล่องขึ้น อ่อนวัยและผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากขึ้น
8. กินผักน้อย
ผักเป็นอาหารที่ LOW-CALORIES และอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามิน ดังนั้นควรที่จะใส่ลงไปในเมนูอาหารทุกมื้อ ผักบางชนิดยังให้คาร์โบไฮเดรตเกรดสูง เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีต่อการออกกำลังกาย แถมยังให้สาร ANTIOXIDANT ดีต่อการฟื้นฟูร่างกาย ประโยชน์อื่นๆ ยังช่วยรักษาสมดุลของร่างกายด้วย
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบเมตาบอลิซึมเราแย่ลงคือ การสะสมความเครียด เพราะเมื่อเรามีความเครียด ร่างกายจะหลั่งสาร cortisol ที่จะไปกระตุ้นความหิว ทำให้เรารู้สึกอยากอาหารมากขึ้น และขณะเดียวกันก็ไปลดความต้องการในการออกกำลังกายและทำให้นอนหลับไม่สนิท
อ้างอิง blog.myfitnesspal.com