ก่อนจะเข้าสู่วงการนักปั่น มีหัวข้อเบสิค 9 อย่างที่เเนะนำให้ลองศึกษาดูกันสักนิด เพื่อความปลอดภัยเเละปั่นอย่างสบายใจไร้อาการบาดเจ็บ
9 สเต็ปสำหรับนักปั่นมือใหม่
- จักรยานก็มีไซด์ ขนาดของร่างกายนักปั่นจะเป็นตัวกำหนดขนาดของเฟรมจักรยาน การเลือกเฟรมจักรยานที่ไม่ถูกกับไซด์ผู้ปั่นจะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและลุกลามไปจนถึงการเกิดบาดเจ็บได้
- เลือกเบาะให้เหมาะกับสไตล์การปั่นของตัวเอง ซึ่งการเลือกเบาะในช่วงแรกๆ ของการปั่นจะเป็นแบบ trial & error เมื่อปั่นไปสักพักเราจะเริ่มรู้ว่าเราชอบสไตล์ไหน การมีเบาะที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยเสริมความมั่นใจ ให้ความคล่องสบายตัวในการปั่น แต่ในช่วงแรกที่เริ่มปั่นก็ให้ถามผู้ขายจักรยานให้เลือกแบบกลางๆ ไว้ก่อนจะเซฟที่สุด
- Bike Fitting หลักจากตัดสินใจซื้อเฟรมและอะไหล่ที่ต้องการได้แล้ว กระบวนการขั้นต่อไปคือการทำ Bike fitting หรือพูดเอาง่ายๆ ก็คือการจัดระเบียบร่างกายนักปั่นให้เข้ากับตัวไซด์จักรยาน หากวิ่งต้องมีการจัดฟอร์มหรือ Posture ให้ถูกต้อง การทำ Bike Fitting ก็คือการจัดระเบียบร่างกายให้นักปั่นสามารถเชื่อมต่อกับจักรยานได้ดีที่สุด เวลานั่งปั่นแล้วสบายคล่องตัว ไม่รู้สึกฝืนตำแหน่ง จะช่วยให้นักปั่นสามารถถ่ายเทพลังงานลงสู่จักรยานได้มากขึ้น นอกจากนี้จะช่วยลดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
- สวมหมวกทุกครั้งที่ปั่น ไม่เฉพาะการขับขี่มอเตอร์ไซด์ที่จะต้องสวมหมวกทุกครั้ง การปั่นจักรยานก็เช่นกัน เพราะจากผลการสำรวจสถิติแห่งชาติของอเมริกาพบว่า 60% ของการเสียชีวิตของผู้ปั่นจักรยาน มาจากการไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อก ดังนั้นทุกครั้งที่ออกปั่นกรุณาสวมหมวกกันน็อกด้วย
- ใช้เกียร์ให้เป็น การปั่นจักรยานต้องเล่นรอบ ปั่นเกียร์เบาแล้วค่อยไล่สเตปไปเกียร์สูง เหมือนการเข้าเกียร์รถยนต์ เกียร์ต่ำไม่เร็วแต่ให้แรงขับออกตัวไปข้างหน้าดี เมื่อรอบความเร็วได้ทีก็ค่อยเปลี่ยนเป็นเกียร์สูงเอาไว้ทำความเร็ว การปั่นจักรยานก็เช่นกัน การจะปั่นให้เร็วแน่นอนว่าต้องใส่เกียร์สูง แต่การปั่นจะหนักและกินแรงกล้ามเนื้อมาก ดังนั้นการปั่นจักรยานจึงใช้วิธีการควงขาหรือปั่นเล่นรอบจากเกียร์เบาๆ แล้วค่อยๆ ปรับเกียร์สูง เวลารอบสูงแล้วการปั่นจะเบามากกว่าใส่เกียร์หนักทีเดียว เซฟแรงขาได้อีกเยอะและไปได้ไกลมากขึ้น แต่หากเกียร์สูงเลยทีเดียวกล้ามเนื้อขาจะเหนื่อยล้าหมดแรงเร็ว เหมือนการยกเวทหนักๆ ที่จะได้ไม่แค่กี่ครั้ง
- ปรับเปลี่ยนท่าปั่นบ้าง การนั่งปั่นท่าเดิมๆ นานๆ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและเหน็บชา นั่งปั่นเมื่อต้องการประคองความเร็ว หรือยืนปั่นเพื่อทำความเร็วสลับจังหวะไปมาเพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ นอกจากนี้อย่าลืมเปลี่ยนตำแหน่งจับแฮนด์ข้างหน้าด้วย ให้มือและส่วน Upper Body ได้ผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งปั่นให้มีความแอร์โรไดนามิกมากขึ้น
- ศึกษาพื้นที่เส้นทาง ก่อนออกปั่นทุกครั้งนอกจากจะต้องใส่หมวกกันน็อกและเตรียมรถให้พร้อมแล้ว โปรดศึกษาเส้นทางปั่นจักรยานมาล่วงหน้าด้วย ความยาว จุดพักรถ ร้านอาหาร ที่ขายของช่ำหรือ 7-11 สถานที่จอดรถและความปลอดภัย
- อุปกรณ์จำเป็น อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ที่ต้องมีเสริมเพิ่มเติมคือ อุปกรณ์ซ่อมปะยาง ที่งัดล้อ ที่ปั้มลมหรือก๊าซ Co2 เป็นต้น นอกจากอุปกรณ์ซ้อมรถแล้ว ก็อย่าลืมพกกระตอกน้ำและเสบียงมาด้วย
- มีสมาธิในการปั่น มองไปข้างหน้าเวลาปั่นทุกครั้ง อย่ามั่วแต่ก้มหน้าก้มตาปั่น เดียวจะชนสิ่งกีดขวางข้างหน้าเอาได้ง่ายๆ และไม่ควรใส่หูฟังเวลาปั่น เพราะมันอันตรายมาก เราจะไม่รู้ว่าอะไรตามมาข้างหลังเลย เราต้องมีสมาธิฟังเสียงที่ตามมาข้างหลังเสมอ อาจจะเป็นเสียงเตือนหรือเสียงทักจากเพื่อนผู้ปั่นจักรยาน
ท้ายนี้พยายามศึกษากฎมารยาทการปั่นพื้นฐานทั่วไปก่อนจะออกสนามปั่นมาด้วย เพราะเส้นทางปั่นส่วนมากเราจะต้องใช้งานร่วมกัน และพึ่งระลึกว่าความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
อ้างอิง www.active.com