ประสบการณ์การแรกสู่การเป็นโปรนักปั่นของหลายๆ คน คงจะเป็นการล้มครั้งแรกที่ได้ใส่ ครีต (cleat) หรือการได้ใช้ปั่นไดปั่นชนิดที่เรียกว่า Clipless Cycling Pedal
ที่จริงแล้วการใส่ครีตที่เรียกกันติดปากในบ้านเรานั้นก้คือการใช้ปั่นไดปั่นจักรยานที่เราว่า Clipless Cycling Pedal ซึ่งเจ้าบันไดปั่นนี้จะสามรถทำงานได้เต็มร้อยก็ต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญอีกสองส่วน นั้นคือ รองเท้าปั่นจักรยาน (Cycling Shoe) และครีต (Cleat)
ข้อดีของการใส่ครีต Cleat
มีอะไรบ้าง…มาดูกัน อย่างแรกที่ผู้เขียนประสบกับตัวนั้นคือ ป้องกันบันไดปั่นตีหน้าแข้งได้อย่างดีเลยละ เวลาปั่นรอบขาสูงๆ โอกาสที่บันไดจะหลุดจากเท้ามาตีหน้าแข้งเรามีสูงมาก
เพิ่มประสิทธิภาพการปั่นและถ่ายพลังงานได้ดีขึ้น เรียกเป็นภาษาอังกฏษว่าเพิ่ม Efficiency และ Increate power output ให้กับนักปั่น เพราะการใส่ครีตจะทำให้เข่าและเท้าเราล็อกกันเป็นหนึ่งเดียวกับบันไดปั่น ไม่ต้องกลัวว่าเท้าจะหลุดเลื่อนออกจากบันไดปั่นอันเป้นเหตุทำให้สูญเสียพลังและจังหวะการปั่นไป
จุดกดลงครีตสู่บันไดปั่นจะเรียกว่า เนินปลายเท้าหรือปุ่มโคนหัวแม่เท้า (Balls of Feet) เป็นจุดที่เราสามารถกดถ่ายพลังงานสู่บันไดปั่นได้สูงสุด การใส่ครีตและปรับแต่งตำแหน่งให้แมชกับบันไดปั่นจะช่วยเพิ่มแรงกดผลักดันให้จักรยานไปได้เร็วขึ้น
ใช้ประโยชน์จากกล้ามเนื้อได้เต็มที่ ถ้าสังเกตดูดีๆ จะพบว่าการใส่รองเท้าปั่นจักรยานธรรมดา เราจะอาศัยแรงกดจากหน้าขาเท่านั้น แต่การใส่ครีตจะทำให้เราสามารถ Push & Pull ได้ (หรือการควงขานั้นเอง) นั้นคือจังหวะการปั่นจักรยานจะมีทั้งแบบกดและดึง เราได้ใช้กล้ามเนื้อขาครบทุกส่วนไม่ใช่ใช้แต่ Quadriceps กดไปข้างหน้าอย่างเดียว
ปัจจุบัน ครีตและบันไดปั่นในตลาดมีหลายแบบ…สามารถดูได้จากรูปภาพ

ที่นิยมกันมากที่สุดจะเป็นของ Shimano SPD SL เพราะมีราคาถูกและหาใช้ง่าย เปรียบเทียบได้เหมือนรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าละครับ ต่อมาก็เป็นครีตและบันไดปั่นของ Look ราคาสูงแต่เบามาก ทำมาจากคาร์บอนที่เบาและแข็งแรง แต่ขณะเดียวกับบันไดปั่นของ Speedplay ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะความง่ายในการถอดใส่คลิป
