โดยปกติแล้วรองเท้าวิ่งจะถูกออกแบบมาให้แข็งแกร่งกว่ารองเท้าเดินลำรองทั่วไปอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะอยู่ยงคงกระทัน ซื้อแล้วใส่ตลอดชีพก็ไม่ได้ เพราะรองเท้าวิ่งจะถูกน้ำหนักร่างกาย (คูณสี่) กดลงทุกครั้งที่วางเท้าหรือ Stripe และรองเท้าต้องต่อสู้กับพื้นลาดยาง คอนกรีตและพื้นดิน อาการสึกหร่อจะเกิดขึ้นและสะสมมาเรื่อยๆ
พื้นรองเท้าส่วนที่เรียกว่า Outsole เป็นส่วนที่สัมผัสพื้นผิวถนน จะเป็นส่วนแรกที่จะสึกหร่อ จากพื้นผิวที่มีลายดอกยาง เมื่อใช้งานผ่านไปเรื่อยๆ ดอกยางจะเริ่มหายไป ทำให้ความสามารถในการเกาะยึดหรือ traction ลง นอกจากนี้หากพื้นโฟมที่รองรับแรงกระแทก (midsole) หากหมดอายุ ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถคืนตัวได้เหมือนเดิม โอกาสที่จะทำให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อเกิดอาการเมื่อยล้าและนำไปสู่อาการบาดเจ็บ ก็จะเกิดได้สูงขึ้น
รองเท้าวิ่งหนึ่งคู่จะอยู่ได้นานเท่าไหร่: มาสำรวจอายุรองเท้าวิ่งกันหน่อย
ข้อแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้นักวิ่งช่วย ยืดอายุรองเท้าและช่วยสังเกตอาการสึกหร่อของรองเท้าวิ่งเพื่อเปลี่ยนรองเท้าใหม่
วิธียืดอายุรองเท้าวิ่ง การถนอมรองเท้าวิ่งจะช่วยให้เราสามารถยืดอายุการใช้งานออกไปให้นานขึ้นแถมจะช่วยป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บได้ด้วย
- ควรมีรองเท้าวิ่งมากกว่าหนึ่งคู่ การหมุนใช้งานรองเท้าวิ่งแต่ละคู่ เพื่อให้ได้รับน้ำหนัก แรงกดดัน การสะสมความเครียดจากการใช้งานมีการเฉลี่ยเท่าๆ กัน และมีเวลาให้วัสดุรองเท้ามีการพื้นตัว
- ผึ่งหรือตากรองเท้าให้แห้ง เพราะรองเท้าจะมีการสะสมความชื้นตลอดการใช้งาน เปียกเพราะเหงื่อหรือจะเป็นเพราะน้ำที่กระเดนใส่เข้ามา การอับชื้นจะทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเกิดการสะสมตัว รองเท้าจะมีกลิ่นเหม็นและการปล่อยให้รองเท้าเปียกชื้นนานๆ จะทำเส้นใยวัสดุเสื่อมสภาพลงเร็วขึ้น
- ทำความสะอาดรองเท้าวิ่ง เพราะรองเท้ามีการสะสมสิ่งสกปรกเสมอ อย่าง เศษดินเศษโคลนและเศษทราย เป็นต้น เศษสิ่งสกปรกเหล่านี้จะทำให้เกิดการเสียดสี โดยเฉพาะรองเท้าส่วน Upper ได้มากที่สุด
- วิ่งบนพื้นผิวที่เหมาะสม รองเท้าวิ่งทางเรียบก็ควรวิ่งบนทางเรียบ ทางลาดยาง ทางคอนกรีต ถนนทางวิ่งในเมืองทั่วไป หากเอาไปวิ่งในทางวิบากหรือทางเทรล วัสดุจะถูกดึงไปมาทุกทาง มีเศษกิ่งไม้ทิ่มแทงทุกทาง ถูกใช้งานมากกว่าที่ถูกออกแบบมา
สังเกตอาการสึกหร่อรองเท้า ตัวอย่างลักษณะอาการสึกหร่อที่สามารถสังเกตได้
- รู้สึกว่าพื้นรองเท้าแบนราบ ซึ่งโดยปกติโฟม Midsole จะทำหน้าที่รองรับแรงกระแทก มีการเด้งคืนตัวไปมา แต่ทันทีที่รู้สึกว่าพื้นรองเท้าไม่คืนตัว ไม่รู้สึกว่ายืดหยุ่นเหมือนเดิม นั้นคือส่วนโฟม Midsole ได้หมดอายุลงแล้ว
- มีอาการปวดเมื่อยต่อเนื่องทุกครั้งหลังวิ่ง น่องขาและหัวเข่า เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อจากการวิ่ง (Delayed onset muscle soreness: DOMS)
- ดอกยางหายไป เพราะพื้นผิว Outsole ที่สัมผัสพื้นถนนจะเป็นส่วนที่สึกมากที่สุด เหมือนกับดอกยางรถยนต์ ยิ่งพื้นถนนหยาบมากเท่าไหร่ ดอกยางรองเท้าวิ่งก็จะยิ่งสึกมากขึ้น รองเท้าจะสูญเสียการยึดเกาะและพื้น Outsole และ Midsole หลุดออกจากกันก็ได้
- รองเท้ามีจุดสึกไม่เท่ากัน ทำให้รองเท้าแต่ละข้างเกิดการเอียงซ้ายขวาต่างกันไป นี้ก็เป็นสัญญาณที่ควรเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ได้ทันที
วิ่งไปกี่กิโลจึงควรเปลี่ยนรองเท้าดี
- ถ้าใช้งานบ่อยเป็นประจำ เราแนะนำให้เปลี่ยนเมื่อสะสมระยะไปประมาณ 480 – 800 กิโลเมตร แต่ถ้าใครที่ฝึกวิ่งประจำ วิ่งประมาณ 30+ กิโลเมตร/สัปดาห์ ภายใน 4-6 เดือนก็ควรเปลี่ยนคู่ใหม่ได้
- กลุ่มรองเท้าประเภท Lightweight หรือรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อการแข่งขัน (race shoe) จะสึกเร็วกว่ารองเท้าฝึกวิ่งทั่วไป
ท้ายนี้มีคำถามว่า ใส่รองเท้าพวก cross-trainer วิ่งแทนได้มั้ย ตอบว่าได้ในระดับหนึ่ง กับระยะทางสั้นๆ แต่ไม่เหมาะใช้เป็นรองเท้าฝึกวิ่งประจำ เพราะรองเท้าวิ่งแบบนี้ ถูกออกแบบให้เหมาะกับการเคลื่อนไหว 4 ทิศทาง นั้นคือซ้ายขวา หน้าหลัง เป็นหลัก เหมาะกับการฝึกฟิตเนสหรือการเล่นเวทที่ต้องการการยึดเกาะที่มั่นคง ต่างกับรองเท้าวิ่งที่ออกแบบมาให้โน้มไปข้างหน้านิดหนึ่งเพื่อรักษาโมเมนตรัมในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นหลัก
อ้างอิง www.fleetfeet.com