ทำความรู้จักเทรนเนอร์กันสักนิดก่อนซื้อ (Indoor Cycling Trainer)
หนึ่งในอุปกรณ์ปั่นจักรยานที่ขาดไม่ได้ในช่วงหน้าฝน คือ เจ้า Indoor Cycling Trainer เรียกสั้นๆ ว่า Trainer (เทรนเนอร์) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ต้องเรียกว่า Must have หรือจำเป็นต้องมีอย่างยิ่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักปั่นมือสมัครเล่น ขาจริงจัง มือโปร ควรต้องมี Trainer ติดบ้านไว้
จะฝึกอัพความเร็ว เพิ่มความอึด หรือจะเอาไว้เบริน์ไขมัน มีเวลาออกกำลังกายน้อย เดินทางออกไปข้างนอกไม่สะดวก เทรนเนอร์ (Trainer) สามารถตอบโจทย์ได้ ประโยชน์ของเจ้าเทรนเนอร์ที่เห็นได้ชัดเวลาหน้าฝนคือ คุณสามารถฝึกซ้อมที่บ้านได้ขณะฝนตกข้างนอก เมื่อฝนฟ้าไม่เป็นใจ ออกไปปั่นข้างนอกไม่ได้ คุณยังมีเจ้า เทรนเนอร์ค่อยเคียงข้าง
หลายคนอาจจะมีเทรนเนอร์เเล้ว เเต่ใครที่ยังไม่มีเเละมองหาไว้ครอบครอง เรามีข้อเเนะนำให้….อ่านก่อนเลือกซื้อรับรองว่าไม่เสียหาย
ประเภทเทรนเนอร์ (Trainer) กันก่อน เเบ่งได้เป็น
1.เเบบใบพัด (Wind) เป็นเทรนเนอร์ที่สร้างเเรงต้าน เป็นดีไซด์เเบบพื้นฐานธรรมดาที่ใช้กันมาถึงปัจจุบัน ถูกและทนทาน เเรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราปั่นเร็วขึ้น
นอกจากทนทานเเละมีราคาถูก เทรนเนอร์เเบบใบพัดก็มีข้อเสียที่ มีเสียงดังมาก ไม่สามารถปรับเเรงเสียดทานได้ ให้ความรู้สึกเเบบปั่นจริงไม่ได้ ใช้ฝึกปั่นพื้นฐานทั่วไป เหมาะสำหรับมือใหม่ เเม่บ้านที่ต้องการเบริ์นไขมันเป็นต้น
2.แบบเเม่เหล็ก (Magnetic) รุ่นที่พัฒนาขึ้นมาจากการใช้ใบพัด ใช้การเหนี่ยวนำของเเม่เหล็กในการสร้างเเรงเสียดทาน ในรุ่นอัพเดตจะมีการเสียบปลั๊กไฟ มีรีโมตปรับเเรงต้านหรือ software ฝึกซ้อมต่อเข้ากับคอม เเน่นอนว่าราคาจะอยู่ในระดับกลาง สูงกว่าเเบบพัดลม
ข้อดีของเทรนเนอร์เเม่เหล็ก คือ ปรับเเรงเสียดทานได้หลากหลายขึ้น เสียงเบาลงกว่าเเบบพัดลม เหมาะกับมือสมัครเล่นทั่วไป จนไปถึงมือปั่นจริงจัง
ข้อเสีย เช่น อายุการใช้งานจะน้อยกว่าเเบบพัดลม เเละการปรับเเรงเสียดทานก็มีจำกัด
3.แบบใช้ของเหลวสร้างเเรงต้าน (Fluid) เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีเเบบการใช้เเม่เหล็กเหนี่ยวนำเเละใส่ของเหลวในการสร้างเเรงต้านทาน เป็นตัวท๊อปของเทรนเนอร์ก็ว่าได้ (ที่ใช้ล้อจักรยาน)
ข้อดีข้อการใช้ Fluid triner คือ มีเสียงที่เงียบ ช่วงเเรงต้านทานมีให้เลือกเยอะขึ้น ให้ความรู้สึกเหมือนจริงมากขึ้น เเต่เช่นกัน ราคาก็จะสูงขึ้นกว่ารุ่นเเม่เหล็ก เเละควรระวังเรื่องความร้อนที่เกิดขึนด้วย
4.แบบ Direct ride เทรนเนอร์สุดยอดที่ให้ความรู้สึกเหมือนการปั่นจริงมากที่สุด เเพงมากที่สุดเช่นกัน (ราคาขึ้นหลักหมื่นครับ) เป็นเทรนเนอร์ที่ใช้โซ่ของจักรยานเเทนที่การใช้ล้อ ทำให้เราสามารถรักษายางได้นานขึ้น ส่วนหลักการสร้างเเรงต้านทาน ก็มาจากเเบบเเม่เหล็กหรือของเหลว
ลูกเล่นจะมีให้เยอะขึ้น ต่อเข้าคอมเล่นเกมส์ปั่นจักรยานได้เหมือนกับของ Zwift หรือ Bkool เลย ใครที่เป็นขาจริงจัง มือโปร ไม่ควรพลาดครับ
ต่อจากเทรนเนอร์ที่เราเห็นติดตากันก็มีเทรนเนอร์อีกแบบที่เรียกว่า Roller เป็นเทรนเนอร์รุ่นเก๋า มีเเรงตานน้อยมาก นิยมใช้ฝึกรอบขาหรือปรับฟอร์มการปั่นมากกว่า เเละต้องใช้เทคนิคในการขึ้นปั่นด้วยครับ
ปัจจุบันมีเทรนเนอร์เเบบปั่นแล้วให้ความรู้สึกเสมือนจริงที่เรียกว่า Visual Reality Trainer ได้เเก่ Zwift และ Bkool เป็นการปั่นเทรนเนอร์ Indoor ที่เสมือนจริง อุปกรณ์เมื่อเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเตอร์เนตจะสามารถสร้างเเรงเสียดทานเหมือนการปั่นบนถนนจริง เวลาไต่ขึ้นเนิน เทรนเนอร์จะหนืดขึ้น ลงเขาจะเบาลง เเรงหยืดจะปรับตามอัตโนมัติหรือตามสภาพภูมิศาสตร์
เเละเพราะเป็นการเชื่อมต่อโลกออไลน์ เราจึงสามารถพุดคุยกับเพื่อนๆ ที่ร่วมเเข่งขันกันได้ มีการเก็บสถิติบันทึกไว้เป็นโปรไฟล์ส่วนตัว
อุปกรณ์อื่นๆ ที่ควรมีติดตัวไว้ในการฝึกซ้อมปั่นบนเทรนเนอร์ เช่น….
- ผ้าเช็ดตัว
- ขวดน้ำ
- แผ่นรองพื้น
- ถาดรองล้อ
- SWEAT NET แผ่นกันเหงื่อ ไม่ให้เหงื่อหยดลงบนตัวเฟรม แฮนด์และสเตม (จะมีไม่มีก็ได้)