เชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าตะคริวเกิดเพราะอะไร การวิจัยก็ทำได้ยากเพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดตะคริวเมื่อไหรกับผู้ทดลองคนไหน ตัวแปรนั้นเยอะเกิดกว่าที่จะตีวงให้แคบลงได้ เป็นเพราะขาดโซเดียม ขาดน้ำ เหนื่อยล้า เลยทำให้เป็นตะคริว หรือทั้งหมดเกิดพร้อมกัน อย่างไรก็ตามได้มีการทดลองและตั้งสมมุติฐานสาเหตุของการเป็นตะคริวไว้
- ภาวะขาดน้ำและสารอิเล็กโตรไลท์ (Dehydration amd loss electrolytes)
เป็นสมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับที่สุด และในปี 2004 ได้มีการทดลองการเป็นตะคริวเนื่องมาจากการขาดน้ำและสารอิเล็กโตรไลท์ โดยได้จัดกลุ่มทดลองเป็นนักวิ่ง Ultramarathon 43 คน และทำการตรวจเจาะเลือดวัดความเข้มข้นของโซเดียมและอิเล็กโตรไลท์ ผลที่ได้คือไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่เป็นตะคริวและไม่เป็นตะคริว ร่วมทั้ง มวลร่างกาย ปริมาณเลือดและเม็ดพลาสม่า ถ้าการขาดน้ำอย่างเดียวเป็นเหตุให้เกิดอาการเป็นตระคริว การเข้าซาวน่า หรือเดินไปมาในวันที่อากาศร้อน ก็จะทำให้เป็นตะคริวได้
- กล้ามเนื้อล้า (Muscle fatique)
การขาดน้ำนำไปสู้สภาวะกล้ามเนื้อเมื่อยล้าได้ และอาจทำให้เกิดตะคริวได้มากที่สุด โดยในการทดลองกับกลุ่มนักวิ่ง Ultramarathon พบว่าเมื่อวิ่งไปถึงครึ่งทาง หรือวิ่งจบใหม่ จะเป็นตะคริว หรือจะบอกได้ว่าคนที่วิ่งระยะไกลมักจะเป็นตะคริว และมักจะเกิดที่ระยะ 20 ไมล์ (ของมาราธอน) และระยะที่ไมล์ 2 ของ 5K ขณะเดียวกันกลุ่มนักวิ่งเร็วหรือ speedier runner ที่มี pace ต่ำๆ มักจะเป็นตะคริวได้ง่ายกว่าด้วย
การป้องกันตะคริว : Prevention
สำหรับนักวิ่งระยะไกล การป้องกันกล้ามเนื้อเมื่อยล้า สามารถป้องกันการเป็นตะคริวได้ดีที่สุด การฝึกวิ่งให้กล้ามเนื้อคุ้นชินกับการวิ่งระยะไกลคือวิธีที่ดีที่สุด ฝึกและฝึก ฝึกให้มากเข้าไว้ ให้กล้ามเนื้อสร้างความแข็งแกร่งและคุ้นเคย
การฝึกความแข็งแกร่ง หรือ strength training
การฝึกแบบนี้จะช่วยเพิ่มพละกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อให้สามารถรับแรงโหลดได้มากขึ้น อึดมากขึ้น อย่างเช่นการฝึกแบบ Plyometrics เชื่อว่าการฝึกอย่างนี้ช่วยทำให้เส้นประสาทถ่ายทอดสัญญานไปยังกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ป้องกันการเป็นตะคริว
Pace ให้เหมาะ
ถ้าเราฝึกวิ่งที่ pace 6 (km) แล้วไปแข่งวิ่งที่ pace 5 เลย กล้ามเนื้อเราจะรับไม่ไหว และทำให้เป็นตะคริวได้ พยายามหา pace ที่เหมาะกับเราก่อนจากนั้นค่อยๆ ฝึกเพิ่มความเร็วไปเรื่อย จะเป็นการให้เวลากล้ามเนื้อได้สร้างความแข็งแรงไปในตัวด้วย
จดจำและสังเกต
พยายามจดบันทึกหรือสังเกตว่าเราเป็นตะคริว ตอนไหน เมื่อไหร หรือสาเหตุเพราะอะไร อย่างเช่นดูว่าเป็นตะคริวที่ระยะทางที่เท่าไหร อากาศร้อนไหม หรือเราดื่มน้ำไปเท่าไร ก่อนจะเป็นตะคริว เรากินอะไรก่อนวิ่ง พยายามจดบันทึกทุกๆ ครั้งเพื่อหารูปแบบ (Pattern) ที่ทำให้เราเป็นตะคริว
ที่มา www.runnersworld.com