1. นักวิ่งมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าอักเสบน้อยกว่าคนที่ไม่วิ่ง จากการวิจัยศึกษาระยะยาว 18 ปีพบว่านักวิ่งหรือคนที่วิ่งบ่อยๆ จะมีโอกาสพบโรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis ) น้อยกว่าคนที่ไม่วิ่ง
คนที่วิ่งหรือเดินเป็นประจำ จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่า และหากนักวิ่งออกกำลังเป็นประจำจะมีโอกาสเกิดโรคน้อยลงอีกด้วย
2. ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์กล่าวว่าการสูญเสียเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน (Cartilage) บริเวณหัวเข่าเป็นไปตามธรรมชาติของการแก่ตัวลงตามอายุ ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าการวิ่งจะเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน (Cartilage) และยังพบว่าสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่ากระดูกเสื่อม เมื่อเข้าร่วมโปรแกรมวิ่งระดับกลางกลับมีการพัฒนาเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน (Cartilage) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม
3. การกินอาหารเสริมไม่ได้ช่วยให้เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณหัวเข่าเพิ่มขึ้น ปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการรับประทานอาหารเสริมจะช่วยเพิ่มเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน การรับประทานอาหารเสริมที่นิยมกัน เช่น Glucosamine อาจจะช่วยป้องกันโรคกระดูกเสื่อม (Articular cartilage) หรือช่วยเพิ่มการหล่อลื่นบริเวณข้อต่อเข่า จากการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริมวินตามิน D ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม (knee arthritis) พบว่ามีอาการเจ็บเข่าและสูญเสียกระดูกอ่อนเท่ากับคนที่ไม่ได้รับอาหารเสริมวินตามิน D
4. โรคข้อเข่านักวิ่งมักจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ โดยผลการสำรวจ พบว่าโรคนี้เกิดมากจาก biomechanical problems หรือง่ายๆ ก็คือ การบาดเจ็บที่ฟังก์ชั่นการเคลื่อนไหวของร่่างกาย กล้ามเนื้อพังผืดยึด ขาดความยืดหยุ่น อย่างเช่นกล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นอ่อน (weak hips and glutes) ซึ่งจะส่งผลให้ปั่นทอนความมั่นคงต่อขาของเรา กล้ามเนื้อต้นขา quadriceps ที่ไม่แข็งแรง อาจจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบ้า กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อขาด้านหลังที่ไม่ยืดหยุ่น (tight hamstrings) ก็มีผลต่อการรับแรงกระแทกของหัวเข่าเช่นกัน
5. ข้อควรรู้เพิ่มเติม การเพิ่มน้ำหนักทุกๆ 1 ปอนด์จะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 4 ปอนด์ ฉนั้นการควบคุมน้ำหนักกับการวิ่งจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ถ้ามีประวัติหัวเข่าบาดเจ็บมาก่อนให้เปลี่ยนการลงเท้าเป็นแบบ Forefoot Strike แทนนะครับเพราะข้อเท้าจะรับแรงกระแทกมากกว่าเข่า
Credit: Runnersworld