Runtastic Heart rate monitor & Speed and cadence sensor
วันนี้มารีวิวคู่หูอุปกรณ์ออกกำลังกายชนิดใครได้ไปครอบครองก็สามารถออกกำลังกายได้ครอบจักรวาลเลยละ….
Runtastic Smart Heart Rate Monitor
หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า HRM ใช้ในการวัดชีพจรอัตราเต้นหัวใจ
ในกล่องจะมี
1. ตัวเซ็นเซอร์ Speed cadence sensor
2. แม่เหล็กติดกับซี่ล้อหลัง เอาไว้ใช้วัดความเร็ว
3. ห่วงยากแม่เหล็ก ใส่ไว้ที่ก้านปั่น จำเป็นต้องถอดบันไดปั่นก่อน
4. สายรัดและยางรัด
5. Promotion code เป็นโค้ดที่ใส่ในแอพของ Runtastic Road Bike
HRM และ Speed cadence sensor สองตัวนี้ต้องใช้งานร่วมกับแอพบนมือถือ ซึ่งจะรองรับมือถือที่มี Bluetooth 4.0 ขึ้นไป พบได้ในมือถือรุ่นใหม่ๆ อย่างในตระกูล Android จะต้องเป็นรุ่นเวอร์ชั่น 4.0 jelly Bean ขึ้นไปแต่เอาให้ชัวร์สุดก็ต้องใช้กับรุ่นกลางๆ ขึ้นไป และสำหรับการใช้กับ iOS นั้นต้องรุ่น 4S ขึ้นไป
นอกจากการใช้กับแอพของ Runtastic แล้ว แอพอื่นๆ อย่าง Endomondo และ Strava ก็สามารถนำ HRM ไปใช้ร่วมกันได้ด้วย ทั้งนี้เราต้องอาจอัพเดตเจ้าแอพให้เป็นแบบโปรเวอร์ชั่นเช่นกัน
ส่วนสาเหตุที่ได้ชื่อว่า Runtastic Bluetooth Smart Combo Heart Rate Monitor เพราะรวมระบบส่งถ่ายข้อมูลที่มีคลื่นความถี่ 5.3 kHz ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดชีพจรต่างๆ ในโรงยิมได้อีกด้วย
การใช้งานนั้นง่ายมาก…ดูตามรูปเลยนะครับ
1. เราต้องเตรียมแอพให้พร้อมก่อน โดยวิธีดูได้ตามรูป
2. หลังจากลงแอพเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ปิดแอพก่อนนะครับ ไปเปิดบูทูธก่อนแล้วมาเปิดแอพใหม่ ช่วงที่เปิดแอพอย่าลืมใส่ HRM ไว้ที่หน้าอก ให้ตัวเม็ดถั่ว(ตัว sensor) อยู่ตรงลิ้นปี่
สำหรับ HRM ให้ไปที่เมนู setting—Heart rate—Connect heart rate monitor—conncet now รอพักแป๊ปๆ ก็ติดแล้วครับ ที่นี้ก็ออกไปหน้า workout ได้เลย
จะปรับแต่งค่าอะไรก็แค่แตะช่องสี่เหลี่ยมที่แสดงค่าต่างๆ ค้างไว้ แตะช่องไหนก็ได้ครับค่งไว้นิดเดี่ยว มันจะมีเมนูให้ customize เลื่อนลงมาให้เลือก
HRM สามารถปรับแต่งค่าเพิ่มเติมได้ในแอพด้วยนะ ไปที่ Setting—Heart rate—Heart rate zone ในหน้านี้เราจะปรับแต่งค่า Heart rate ให้สอดคล้องกับโซนต่างๆ ได้ละเอียดยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับในแอพ Runtastic Road Bike
3. กด start แล้วออกไปวิ่งกันเลย เจ้า HRM มีความสามารถในการกันน้ำระดับหนึ่งนะครับ แค่ water resistance กันพวกน้ำฝน น้ำสาดได้แค่นั้น สายคาดออกเวลาซักแค่น้ำเปล่าก็พอ ถอดเจ้าตัว sensor ออกด้วยเวลาล้าง การใช้งานเจ้าตัว HRM ถือว่าตอบสนองได้นิ่งมาก แต่เวลาที่ออกกำลังกายหนักอย่างวิ่งระยะไกลมาขึ้น เหงื่อเราจะออกมามาก ทำให้ไปรบกวนสัญญาได้เหมือนกัน สังเกตุมาค่า HR จะหายไปแป๊ปหนึ่งแล้วกลับมาใหม่ แนะนำให้ผู้ใช้ใส่เจ้า HRM ให้กระชับเพราะเวลาออกกำลังกายเหงื่อจะทำให้สายลื่นเลื่อนหล่นมาได้
แอดมินนำเจ้า Runtastic HRM ไปลุยสนามมาราธอนมาแล้ว พอใจในการทำงานครับ แม้จะมีบางตอนที่สัญญาหายไปเป็นระยะเพราะเหงื่อออกเยอะมาก แต่ก็กลับมาอยู่ดี แนะนำผู้วิ่งที่ดู HR บ่อยๆ ให้หันมาดูค่า Pace ด้วยนะครับ เพราะเวลาค่า HR หายไปจะได้มีค่า Pace ไกด์ไลน์เราได้ต่อไป บางคนเวลาไม่มีนี้ถึงกับเป๋ไปเลยก็มี
สำหรับในราคาร่าวๆ 2000-3000 บาท ถือว่าคุ้มค่ามากเพราะนอกจากจะนำไปใช้กับแอพ Runtastic Run และ Runtastic Road Bike แล้ว ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับแอพในตระกูล Runtastic อื่นๆ ที่เน้นเกี่ยวกับ Strength training ได้ด้วย อย่าง Runtastic Six Pack และ Leg trainer นี้ยังไม่นับเอาไปใช้กับพวกลู่วิ่งในยิมนะครับ
Runtastic Speed Cadence Sensor
ขั้นตอนการติดตั้งจะยุ่งยากนิดหนึ่งเพราะต้องถอดบันไดปั่นออก แล้วส่วมเจ้าห่วงยางแม่เหล็กเข้าไป ทางแอดมินทำขาดจึงทำการแก้ไปด้วยการหาแม่เหล็กกลมแบนเล็กมาติดกับบันไดปั่นแทน โดยบริเวณน็อตจะเป็นเหล็กจึงสามารถติดได้ แค่ให้มีแม่เหล็กเหนี่ยวนำก็พอครับ แค่นี้เซอนเซอร์ก็ทำงานแล้ว


ในกล่องจะมี
1. สายคาดหน้าอก
2. ตัวเซ็นเซอร์ HRM รูปทรงคล้ายเม็ดถั่ว
3. Promotion code เป็นโค้ดที่ใส่ในแอพของ Runtastc Run เอาไว้ปลดล็อกให้ใช้ได้เหมือนตัวโปร
อันต่อมาก็ต่อที่ตัว Speed cadence sensor ซึ่งมีหน้าที่วัดความเร็ว และวัดรอบขา (หมายถึงรอบการปั่นในหนึ่งนาทีนะครับ)
หรือจะดูวิธีติดจากยูทูปก็ได้
เซนเซอร์จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ
1. ตัวที่วัดรอบขา
2. ตัวที่วัดความเร็ว
แนะนำให้ติดตั้งตัววัดอบขาก่อนนะครับ วัดและเลื่อนตำแหน่งที่วัดรอบขาให้เรียบร้อยแล้วค่อยมาตั้งแม่เหล็กวัดความเร็ว พยายามให้แม่เหล็กอยู่ใกล้ตัวเซ็นเซอร์รอบขามากที่สุด สังเกตวว่าเวลาเอาแม่เหล็กตัดผ่านจะได้ยินเสียง คลิ๊กๆ แสดงว่าอยู่ใกล้ใช้ได้ ส่วนตัววัดความเร็วค่อยหมุนปรับความใกล้ไกลได้ไม่ยาก
เสร็จจากการติดตั้งแล้วก็ไปตั้งค่าปรับแต่งในแอพกันต่อ อย่างแรกที่ต้องทำคือเซตค่าวงล้อ (Wheel Size) ของเรา ส่วนมากจะอยู่ที่ร่าวๆ 2099 mm
ค่ารอบขาจะตั้งไว้ให้อัติโนมัติอยู่แล้ว สามารถเข้าไปดูได้ถ้าต้องการรับแต่งเพิ่มเติม Setting—Speed & Cadence—Cadence zone
เวลาเชื่อมต่อก็ไปที่ Setting—Speed & Cadence—Conncet speed & cadence sensor จะขึ้นรูปคนั่นจักรยานมาให้ โดยจะมีเซนเซอร์สามจุดเป็นสีแดง ให้ลองขยับให้แม่เหล็กตัดผ่านเซอนเซอร์ จุดสีแดงจะกระพริบเป็นเหลืองและจะเขียวเมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้ว ทั้งนี้เราจะใส่ตัว HRM ไว้ด้วยเลยก็ได้เจ้าแอพจะทำการเชื่อมพร้อมๆ กันเลย สะดวกมากครับ
กลับไปหน้า Workout จะเห็นรูปฟันเฟือง ให้กดดูจะเห็นเมนู customize ค่าต่างๆ เลื่อนลงมา จะให้โชว์ค่าอะไร ปรับแต่งตามใจชอบเลย
เจ้า Speed candence จะมีจุดที่น่ารำคาญคือถ้าระยะแม่เหล็กไม่ได้ละก็ จะไม่เชื่อมต่อกันเลย เราต้องขยับไปมาเพื่อให้ได้ระยะที่ใกล้ที่สุด หรือไม่ก็ต้องเพิ่มแรงแม่เหล็ก (อย่างที่แอดมินทำ) ส่วนการทำงานต่างๆ ทำได้ดีมาก ไม่มีข้อตำหนิ เว้นแต่ดีไซน์อาจจะไม่สวยโดยใจเท่าไหร
เนื่องด้วย Runtastic Speed and cadence sensor ใช้สัญญา Bluetooth 4.0 ในการเชื่อมต่อ จึงสามารถนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์ Sport gadget อื่นๆ ได้ด้วย อย่างเช่น Suunto Ambit3 sport ตัวนาฬิกา GPS Multisport หรือนาฬิกาไตรกีฬาที่แอดมินใช้ ก็เอาตัว Speed and cadence sensor มาใช้ร่วมกันได้ แต่ถ้าเป็นนาฬิกา Garmin แนะนำว่าต้องใช้พวก Ant+ ถึงจะเวิร์คสุด
ผลจากการใช้งานเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน เวลาใช้คู่กับตัว HRM จะให้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เราจะสามารถดูว่า HR Zone อยู่ระดับไหนขณะที่รอบขาที่เท่าไหร
นี้ถ้ามีตัว Power meter มาด้วยนะก็ฝั่งการ์มินคงต้องคิดหนักเลยละครับ โดยร่วมเจ้า Speed cadence สามารถใช้ได้เรื่อยๆ ในระยะยาว เเต่ถ้าเราวันหนึ่งเปลี่ยนใจย้ายไปใช้ค่ายการ์มิน ก็คงจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ Speed cadence sensor ของฝั่งการ์มินที่ใช้สัญญา Ant+