ปั่นจักรยานแล้วฝนตกใส่เป็นเรื่องธรรมดา คาดว่านักปั่นทุกคนคงเคยเจอกันทุกราย อาการปั่นจักรยานอยู่ดีๆ แล้วฝนก็ตกใส่ หรือคาดว่าจะเจอฝนแน่ๆ แต่ก็อยากออกไปปั่น ยิ่งในช่วงนี้ เมื่อยามเข้าเดือนหกเป็นต้นไปของประเทศไทย ฝนก็จะยิ่งตกชุกขึ้น นักปั่นอย่าง เราๆ จะมีวิธีเตรียมตัวและรับมืออย่างไร…เรามาดูกัน
Cycling tips: 10 วิธีเอาตัวรอดง่ายๆ เมื่อเจอฝน
1. ใส่แว่นตากันแดดหรือตัว Visor ใส่ เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระเด็นเข้าใส่ตาระหว่างปั่น เจ้าแว่นตาเราแนะนำว่าให้แนวสปอร์ทที่เข้ากับหน้ามีความกระชับ เจ้าเลนส์จะช่วยป้องกันเม็ดฝนที่เข้าทิ้มแทงตาเวลาปั่น ส่วนการเลือกแว่นที่กระชับช่วยป้องกันการไหลเลื่อนของตัวแว่น ถ้ามีแบบ Anti-fog lens จะช่วยกันฝา รักษาให้วิสัยทัศน์คงที่
2. มองหาเสื้อ Waterproof Jacket ดีๆ สักตัว เอาแบบเนื้อผ้า Gore tech ที่สามารถป้องกันน้ำจากภายนอกและยังช่วยระบายอากาศได้ด้วย ให้ร่างกายช่วงบนเห้งและรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ กรณีที่ไม่มีชุดแจ็คแก็ตหรืองบน้อย แนะนำให้ใช้ถุงดำเจาะรูให้หัวและแขนโผล่ออกมาได้ อาจจะไม่สวยงามแต่ได้ผลพอสมคววร

3. ติดบังโคลน เพราะจะช่วยป้องกันน้ำและโคลนสาด เพราะโคลนที่สะบัดออกจากล้อเรานั้น มันจะมีเศษเม็ดทรายและหินเข้าไปเกาะตามเสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้าทำให้เกิดการเสียดสีผิวหนังได้ และอาจจะตกลงไปอยู่ตามช่องโซ่และเฟืองได้ด้วย
4. หมวก cap นักปั่น ก็สมควรพกติดไปด้วย จะช่วยป้องกันหยดน้ำฝนหลดใส่ตา ช่วยรักษาระดับการมองเห็นของเราไว้ และเมื่อฝนตกอุณหภูมิจะลดลงตามไปด้วย หมวกจะช่วยรักษาอุณหภูมิของศรีษะเราให้คงที่
5. ถนอมโซ่ให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ด้วยการทำความสะอาดทันทีหลังการปั่น ใช้น้ำมันล้างสนิมอย่าง WD40 เช็ดให้แห้งแล้วตามด้วยน้ำมันหล่อลื่น นักปั่นจักรยานเช่นกัน หลังจบการปั่นก็ควรทำความสะอาดร่างกายและเช็ดตัวให้แห้ง
6. หลีกเลี่ยงบ่อน้ำ หลุมบ่อน้ำตามถนน หรือบริเวณที่ลุ่มบนถนนที่มีน้ำขังอยู่ เพราะจะทำให้การยึดเกาะของล้อยางลดลง และอาจจะทำให้ล้มลงได้ นักปั่นควรมองหลังเช็คคนตามหลังว่ามีหรือไม่แล้วค่อยเปลี่ยนเลนเพื่อเลี่ยงบ่อน้ำ
7. ปรับลดความดันล้อยางลง โดยปรับให้น้อยลงกว่าเดิมประมาณ 5-10 psi เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะพื้นถนน และขณะเดียวกันก็อย่าลืมเช็คว่าดอกยางบนล้อมีมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ในช่วงหน้าฝน ลองใช้ยางเส้นใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างขนาด 25C เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้ายึดเกาะ
8. ติดไฟหน้าและหลังรถไปด้วย เพราะเมื่อฝนตก ทัศนะวิสัยในการมองเห็นจะลดลง การเปิดไฟท้ายและไฟหน้าจะช่วยให้คนที่ขับรถผ่านไปมาหรือเพื่อนนักปั่นที่ตามหลังจะสังเกตเห็นเราได้ง่ายขึ้น

9. ปกป้องมือและเท้าให้ดี เราอาจจะต้องใส่ถุงมือที่แน่หนาขึ้นและครอบคลุมฝ่ามือ เพื่อป้องกันการเปียกน้ำและลมที่พัดผ่าน จะทำให้อุณหภูมิลดลง หนาวกว่าส่วนอื่นและเกิดอาการนิ้วชาได้ ส่วนรองเท้าปั่นเองก็อย่าลืมทาเท้าด้วยวาสลีนป้องกันการเสียดสี เลือกถุงเท้าที่สามารถรีดน้ำได้ดีแห้งเรา รองเท้านั้นถ้ามีผ้าคลุมหรือชุดคลุมได้ก็จะดีมาก
10. ขึ้น trainer อยู่ที่บ้าน ในกรณีที่ฝนตกฟ้ารั่ว เพื่อความปลอดภัยของตัวนักปั่นเอง เราแนะนำให้เอาจักรยานขึ้น trainer ฝึกปั่นอยู่ที่บ้านดีกว่าครับ ลักษณะฝนตกในเมืองนอกอาจจะเป็นละอองเบาๆ ตกมาเรื่อยๆ แต่มีความหนาว จะคว้ารถไปปั่นก็ยังพอควบคุมความเสี่ยงไว้ได้บ้าง แต่ในลักษณะอากาศบ้านเมืองร้อนประเทศไทย ฝนตกทีหนึ่งก็เป็นเม็ดฝนห่าใหญ่ การปั่นลุยก็ไม่น่าจะเหมาะสมเท่าไหร่
แถมท้ายกันอีกนิดสำหรับคนที่คาดว่าจะโดนฝนตกใส่แน่นอน ให้พกพาถุงพลาสติกเพื่อป้องกันโทรศัพท์มือถือไว้ด้วย และพยายามเลือกเสื้อผ้า และถุงเท้าที่เป็นวัสดุ Nylon เพราะจะสามารถรีดน้ำและระบายอากาศได้ดี หากเป็นผ้า cotton เมื่อเปียกน้ำแล้วจะอุ้มน้ำ และระบายอาการได้ช้า มีน้ำหนัก โอกาสเกิดการเสียดสีสูงและทำให้ผิวเท้าถลอก เป็นตุ่มน้ำได้
อ้างอิง www.cyclingweekly.com